หอรำลึกประธานเหมา
หอรำลึกประธานเหมา (จีนตัวย่อ: 毛主席纪念堂; จีนตัวเต็ม: 毛主席紀念堂; พินอิน: Máo Zhǔxí Jìniàn Táng) หรือที่รู้จักในชื่อ สุสานเหมา เจ๋อตง เป็นที่พำนักสุดท้ายของเหมา เจ๋อตง ประธานกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนตั้งแต่ ค.ศ. 1943 และประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนตั้งแต่ ค.ศ. 1945 กระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1976
หอรำลึกประธานเหมา | |
---|---|
เหมาจู่สีจี้เนี่ยนถาง | |
![]() | |
![]() | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | หอรำลึก, มอโซเลียม |
ที่ตั้ง | จัตุรัสเทียนอันเหมิน |
เมือง | ปักกิ่ง |
ประเทศ | จีน |
พิกัด | 39°54′04″N 116°23′29″E / 39.9010°N 116.3915°E |
ตั้งชื่อให้ | เหมา เจ๋อตง |
ลงเสาเข็ม | 24 พฤศจิกายน 1976 |
แล้วเสร็จ | 24 พฤษภาคม 1977 |
ปรับปรุง | 1997–1998 |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
เป็นที่รู้จักจาก | สถานที่พำนักสุดท้ายของเหมา เจ๋อตง |
เว็บไซต์ | |
jnt |
แม้เหมาประสงค์จะถูกเผา แต่ความประสงค์ของเขากลับถูกเพิกเฉยและร่างของเขาได้ถูกดอง การก่อสร้างหอรำลึกเพื่อเป็นที่พำนักสุดท้ายของเขานั้นเริ่มขึ้นไม่นานหลังเขาถึงแก่อสัญกรรม สถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอย่างมากแห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางจัตุรัสเทียนอันเหมิน ในกรุงปักกิ่ง บนพื้นที่เดิมของประตูจงหฺวา ประตูทางใต้ (หลัก) ของนครจักรพรรดิในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง
ร่างของประธานเหมาที่ผ่านการดองถูกเก็บรักษาไว้ในโลงแก้วใสซึ่งมีอุณหภูมิต่ำและแสงสลัวภายในโถงกลางของหอ โดยมีกองทหารเกียรติยศเฝ้ารักษาร่างไว้ หอรำลึกเปิดให้ประชาชนเข้าชมทุกวันยกเว้นวันจันทร์[1]
ประวัติ
แก้หอรำลึกนี้สร้างขึ้นไม่นานหลังการอสัญกรรมของเหมาในวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1976 วันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1976 คณะกรรมการวางแผนแห่งรัฐของจีนได้จัดให้นักออกแบบจากหน่วยงานต่าง ๆ กว่าสิบหน่วยงานใน 8 มณฑลและเมืองทั่วประเทศจีนมารวมตัวกันที่โรงแรมเฉียนเหมิน กรุงปักกิ่ง เพื่อเริ่มการเลือกสถานที่และออกแบบของร่างหอรำลึกประธานเหมา[2] คณะวางแผนและออกแบบประกอบด้วยจ้าว เพิงเฟย์ ยฺเหวียน จิงฉือ และเฉิน ปั๋ว เป็นต้น[3] ซึ่งมีส่วนร่วมในการออกแบบจากสถาบันวิจัยอาคารจีน สำนักวางผังเมืองปักกิ่ง สถาบันออกแบบและวิจัยสถาปัตยกรรมปักกิ่ง มหาวิทยาลัยชิงหฺวา มหาวิทยาลัยเทียนจิน สถาบันออกแบบสถาปัตยกรรมโยธาเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ สถาบันออกแบบและวิจัยสถาปัตยกรรมมณฑลกวางตุ้ง สถาบันออกแบบและวิจัยสถาปัตยกรรมเทศบาลนครกวางโจว วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์หนานจิง สถาบันออกแบบและวิจัยสถาปัตยกรรมตะวันตกเฉียงเหนือแห่งประเทศจีน สถาบันออกแบบและวิจัยสถาปัตยกรรมมณฑลเหลียวหนิง สถาบันออกแบบและวิจัยสถาปัตยกรรมมณฑลเฮย์หลงเจียง สถาบันออกแบบและวิจัย กองวิศวกรรมก่อสร้างพื้นฐานกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน[4] ภายหลังการศึกษาโดยคณะผู้เชี่ยวชาญและผู้นำที่เกี่ยวข้อง พบว่าทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมที่สุดคือสวนเซียงชาน จัตุรัสเทียนอันเหมิน และสวนจิ่งชาน[5]
วันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1976 คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ คณะมนตรีรัฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีน และคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง ได้มีคำสั่งให้จัดสร้างหอรำลึกเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานเหมา เจ๋อตง ผู้นำและอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่[6][7][8]
วันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1976 สถาบันออกแบบและวิจัยสถาปัตยกรรมปักกิ่งได้จัดตั้งคณะวางแผนและออกแบบหอรำลึกประธานเหมา วันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1976 กรมการเมืองคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้พิจารณาแผนการสร้างหอรำลึกประธานเหมา วันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1976 ได้มีการตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการหอรำลึกประธานเหมา โดยมีหลี่ รุ่ยหวน รองผู้อำนวยการคณะกรรมาธิการก่อสร้างเทศบาลปักกิ่งในขณะนั้นเป็นหัวหน้าคณะ[9] สำนักงานคณะมนตรีรัฐกิจที่ 9 (เรียกย่อว่า สำนักงานที่ 9) ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นพิเศษเพื่อประสานงานในการก่อสร้างหอรำลึกประธานเหมา โดยกู่ มู่ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบการนำสำนักงานที่เก้าและการก่อสร้างหอรำลึก เซียว ยาง อดีตผู้อำนวยการโรงงานแก้วปักกิ่ง และฮั่น ปัวผิง อดีตรองนายกเทศมนตรีกรุงปักกิ่ง เคยเป็นสมาชิกของสำนักงานที่ 9 และร่วมกันรับผิดชอบงานของกลุ่มอุปกรณ์ในหอรำลึกประธานเหมา[10] วันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1976 กรมการเมืองคณะกรรมธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ให้ความเห็นชอบแผนการก่อสร้างหอรำลึกประธานเหมาและได้มีการทำพิธีวางศิลาฤกษ์ ฮฺว่า กั๋วเฟิง ประธานคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน นายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลางในขณะนั้น ได้เข้าร่วมพิธีเริ่มการก่อสร้างและวางศิลาฤกษ์สำหรับหอรำลึก[11][12]
ประชาชนทั่วประเทศจีนมีส่วนร่วมในการออกแบบและก่อสร้างหอรำลึก โดยมีประชาชนจำนวน 700,000 คนจากหลายมณฑล เขตปกครองตนเอง และชนชาติเข้าร่วมทำงานโดยสมัครใจเชิงสัญลักษณ์[13] วัสดุจากทั่วทุกภูมิภาคของจีนถูกนำมาใช้ในการก่อสร้างได้แก่ หินแกรนิตจากมณฑลเสฉวน แผ่นเซรามิกจากมณฑลกวางตุ้ง ต้นสนจากเมืองเหยียนอาน มณฑลฉ่านซี เมล็ดหญ้าสากจากเทือกเขาเทียนชาน เขตปกครองตนเองซินเจียง ดินจากเมืองถังชานที่ประสบภัยแผ่นดินไหว หินกรวดสีจากเมืองหนานจิง ควอตซ์สีขาวขุ่นจากเทือกเขาคุนหลุน ท่อนไม้สนจากมณฑลเจียงซี และตัวอย่างหินจากเขาเอเวอเรสต์[14]
วันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1977 การก่อสร้างหอลำรึกประธานเหมาแล้วเสร็จสมบูรณ์ วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2520 ผู้แทนจากการประชุมใหญ่ครั้งที่ 11 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เข้าเยี่ยมชมร่างของประธานเหมาเจ๋อตง และในวันเดียวกันนั้นเองได้มีการเผยแพร่แถลงการณ์ของการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 1 ของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 11 วันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1977 ประธานาธิบดียอซีป บรอซ ตีโต แห่งยูโกสลาเวีย ได้เดินทางไปเยี่ยมชมหอรำลึกประธานเหมาเพื่อเยี่ยมชมและชมร่างของประธานเหมา[15] วันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1977 คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ คณะมนตรีรัฐกิจ และคณะกรรมการการทหารส่วนกลางได้จัดพิธี "รำลึกครบรอบ 1 ปีการถึงแก่อสัญกรรมของประธานเหมา เจ๋อตง ผู้นำและอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ และพิธีเปิดหอรำลึกประธานเหมา" ณ บริเวณลานด้านเหนือของหอรำลึก วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2520 คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ตัดสินใจอนุรักษ์ร่างของประธานเหมาไว้เป็นการถาวร ตั้งแต่นั้นมา ตัวแทนจากทุกจังหวัด เขตปกครองตนเอง และเทศบาลนครที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางได้เดินทางมาแสดงความเคารพ นับแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้แทนจากทุกมณฑล เขตปกครองตนเอง และนครที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง ได้เดินทางมาแสดงความเคารพ[16]
หอรำลึกปิดทำการเพื่อการบูรณะเป็นเวลา 9 เดือนใน ค.ศ. 1997 ก่อนจะเปิดให้เข้าชมอีกครั้งในวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1998[17] หลังจากนั้น คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดงานรำลึกที่นี่เนื่องในวาระครบรอบวันเกิด 90 ปี, 100 ปี, 110 ปี และ 120 ปีของเหมา เจ๋อตง[18][19]
ประติมากรรม
แก้โถงด้านเหนือมีรูปปั้นประธานเหมา เจ๋อตงนั่งทำด้วยอะลาบาสเทอร์[20] ฮฺว่า กั๋วเฟิง ประธานคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน เย่ เจี้ยนอิง รองประธานคณะกรรมาธิการฯ และผู้นำระดับสูงคนอื่น ๆ ได้ตรวจสอบร่างและเลือกแบบสำหรับรูปปั้นประธานเหมาด้วยตนเอง มีตัวเลือกสองแบบสำหรับท่าทางนั่งของรูปปั้นคือนั่งไขว่หรือไม่ไขว่ห้าง รัฐบาลกลางได้เลือกแบบไขว่ห้าง หลังสร้างรูปปั้นแล้วเสร็จ มีบางคนคิดว่ารูปปั้นที่นั่งไขว่ห้างนั้นดูมีชีวิตชีวาและเป็นมิตร แต่กลับไม่เข้ากับบรรยากาศอันขลังของหอรำลึก คณะกรรมาธิการกลางได้ศึกษาและพิจารณาความเห็นเหล่านี้แล้วตัดสินใจสร้างรูปปั้นที่มีขาตั้งตรงขึ้นมาใหม่เพื่อแทนรูปปั้นเดิมที่มีท่านั่งไขว่ห้าง กระนั้น การปฏิบัติตามคำสั่งนี้เป็นไปอย่างยุ่งยากซับซ้อน และในที่สุดเติ้ง เสี่ยวผิง ก็ตัดสินใจว่าไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง ดังนั้นรูปปั้นจึงยังคงนั่งไขว่ห้างอยู่เช่นเดิม[21]
ในจัตุรัสมีกลุ่มประติมากรรมทั้งหมดสี่กลุ่ม ซึ่งล้วนสร้างจากดินเหนียว[22] โดยตั้งอยู่กลุ่มละด้าน ด้านตะวันออกและตกของประตูหลักทางทิศเหนือ และด้านตะวันออกและตกของประตูหลังทางทิศใต้อีกกลุ่มละด้าน ประติมากรรมด้านทิศตะวันออกของประตูเหนือแสดงถึงการปฏิวัติประชาธิปไตย ประติมากรรมด้านตะวันตกของประตูเหนือเป็นตัวแทนของการปฏิวัติสังคมนิยมและการสร้างอุตสาหกรรม ประติมากรรมทั้งสองชิ้นที่อยู่บริเวณประตูใต้ทั้งสองข้างเป็นตัวแทนการสืบทอดเจตนารมณ์และความต่อเนื่องของการปฏิวัติ[23]
การเข้าชม
แก้ปัจจุบัน หอรำลึกยังคงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปักกิ่ง และมักมีบุคคลสำคัญจากต่างประเทศและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเดินทางมาเยือน ในระหว่างการเยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการ ผู้นำต่างชาติหลายคน อาทิ ฟิเดล กัสโตร ผู้นำคิวบา และนิโกลัส มาดูโร ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา ได้เดินทางมาเยี่ยมชมหอรำลึก[24][25]
เมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2019 สี จิ้นผิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน พร้อมด้วยสมาชิกกรมการเมืองคนอื่น ๆ ได้เข้าเยี่ยมชมหอรำลึกประธานเหมา[26]
อ้างอิง
แก้- ↑ "毛主席纪念堂". cpc.people.com.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 17, 2019. สืบค้นเมื่อ 10 November 2019.
- ↑ 北京市建筑设计研究院有限公司, 中国文物学会20世纪建筑遗产委员会 (2018). 中国20世纪建筑遗产大典 北京卷 Beijing volume. 天津: 天津大学出版社. p. 296. ISBN 978-7-5618-6286-5.
- ↑ 徐静主编 (1993). 伟人安息的地方 毛主席纪念堂纪实. 长春: 吉林人民出版社. pp. 89–90. ISBN 7-206-01779-7.
- ↑ 金磊总编;单霁翔名誉总编 (2013). 中国建筑文化遗产 12 China architectural heritage. 天津: 天津大学出版社. p. 3. ISBN 978-7-5618-4870-8.
- ↑ 彭积冬主编, 王钦双,丁志平,李焕巧副主编 (2015). 东城党史文萃 下. 北京: 同心出版社. pp. 632–633. ISBN 7-5477-1421-8.
- ↑ 中国共产党. 中央委员会 (1976). 关于建立伟大的领袖和导师毛泽东主席纪念堂的决定: 1976年10月8日 (ภาษาจีน). 人民出版社. สืบค้นเมื่อ 2024-04-29.
- ↑ 苏继红邓书杰 李 梅 吴晓莉 (2013). 转机时刻(1970-1979)(中国历史大事详解) (ภาษาจีน). 青苹果数据中心. p. 396. สืบค้นเมื่อ 2024-04-30.
- ↑ 涤荡叛乱:粉碎上海反革命武装叛乱阴谋 (ภาษาจีน). BEIJING BOOK CO. INC. 2011. p. 33. ISBN 978-7-999206-20-0. สืบค้นเมื่อ 2024-04-30.
- ↑ 郑珺编著 (2018). 长安街. 北京: 北京出版社. p. 76. ISBN 978-7-200-13437-7.
- ↑ 万新华著 (2012). 圣地韶光:20世纪中期中国画之韶山图像 作 者 : 出版发行 :. 北京: 文化艺术出版社. p. 86. ISBN 978-7-5039-5244-9.
- ↑ 张树军,高新民主编 (1998). 中共十一届三中全会历史档案 上. 北京: 解放军出版社. ISBN 7-5017-4469-6.
- ↑ 在伟大的领袖和导师毛泽东主席纪念堂奠基仪式上华国锋主席的讲话 (ภาษาจีน). 人民出版社. 1976. สืบค้นเมื่อ 2024-04-30.
- ↑ "The Chairman Mao Memorial Hall Successfully Completed", China Pictorial, 9: 4–12, 1977
- ↑ 多吉占堆,薛文献著 (2010). 雪山雄鹰 西藏登山运动50年. 桂林: 漓江出版社. pp. 45–46. ISBN 7-5407-4877-X.
- ↑ 中国特色政党外交 (ภาษาจีน). Social Sciences Literature Press. 2017. p. 92. ISBN 978-7-5201-0056-4. สืบค้นเมื่อ 2024-04-29.
- ↑ 清华之路: 素质培养个案 (ภาษาจีน). 花城出版社. 2003. p. 103. ISBN 978-7-5360-4113-4. สืบค้นเมื่อ 2024-04-29.
- ↑ "Crowds flock to Mao mausoleum". BBC. January 6, 1998. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 21, 2004. สืบค้นเมื่อ 2013-12-31.
- ↑ "纪念毛泽东同志诞辰130周年,毛主席纪念堂开放时间调整". m.thepaper.cn. สืบค้นเมื่อ 29 April 2024.
- ↑ "毛泽东诞辰120周年 习近平等赴纪念堂瞻仰遗容-中新网". www.chinanews.com.cn. สืบค้นเมื่อ 29 April 2024.
- ↑ 国魂典 (ภาษาจีน). 吉林人民出版社. 1993. p. 218. สืบค้นเมื่อ 2024-04-29.
- ↑ "大修183天,毛主席纪念堂再开放". news.ifeng.com. สืบค้นเมื่อ 29 April 2024.
- ↑ 伟人安息的地方: 毛主席纪念堂纪实 (ภาษาจีน). 吉林人民出版社. 1993. p. 146. ISBN 978-7-206-01779-7. สืบค้นเมื่อ 2024-04-29.
- ↑ 功绩永垂:毛主席纪念堂设计施工与建设 (ภาษาจีน). 吉林出版集团有限责任公司. 2011. p. 57. ISBN 978-7-5463-2638-2. สืบค้นเมื่อ 2024-04-29.
- ↑ "Castro Honors Mao". The Washington Post. Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 10, 2019. สืบค้นเมื่อ 10 November 2019.
- ↑ "Venezuela's Maduro pays tribute to 'giant' Mao". MalayMail. September 14, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 10, 2019. สืบค้นเมื่อ 10 November 2019.
- ↑ "Xi bows to Mao Zedong ahead of Communist China's 70th anniversary". Al Jazeera. Al Jazeera and news agencies. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 6, 2019. สืบค้นเมื่อ 10 November 2019.