หลิว เหว่ยเฉียง

หลิว เหว่ยเฉียง หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ แอนดริว เลา (อังกฤษ: Andrew Lau, Andrew Lau Wai-Keung; จีนตัวเต็ม: 劉偉強; จีนตัวย่อ: 刘伟强) ผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้กำกับภาพ และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวฮ่องกงที่มีชื่อเสียง เกิดเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1960 ที่ฮ่องกง

หลิว เหว่ยเฉียง เข้าสู่วงการภาพยนตร์แรกเริ่มทำหน้าที่ผู้กำกับภาพ เริ่มงานกำกับภาพกับค่ายชอว์บราเดอร์สสตูดิโอ และมาร่วมงานกับหง จินเป่า มีผลงานโดดเด่นคือ เรื่อง หินกินเหล็ก (Millionaire's Express ,1987) ร่วมงานกับ หลิม เหริ่นตง หรือริง โก้แลม ในเรื่อง เถื่อนตามดวง (City on Fire ,1987) และมาร่วมงานกับหว่อง กาไว ในเรื่อง ทะลุกลางอก (As Tears Go By ,1988) เขาได้เข้าชิงรางวัลกำกับภาพยอดเยี่ยม ในงานฮ่องกงฟิล์มอวอร์ดจากเรื่องนี้ ซึ่งยังได้รับการยกย่องเช่นเดียวกับ คริสโตเฟอร์ ดอยล์ ผู้กำกับภาพที่มีชื่อเสียงระดับโลก โดยเคยร่วมงานกับดอยล์ด้วย ในเรื่อง ผู้หญิงผมทองหัวใจฟัดโลก หรือ Chungking Express ในปี ค.ศ. 1994

หลิว เหว่ยเฉียง เริ่มกำกับภาพยนตร์ในยุคต้นทศวรรษที่ 90 โดยมีชื่อเสียงเคียงคู่กับมากับผู้กำกับรุ่นเดียวกัน เช่น ริงโก แลม, หว่อง จิง, หว่อง กาไว

ผลงานการกำกับภาพยนตร์ของหลิว เหว่ยเฉียง ประสบความสำเร็จอย่างมากในหลาย ๆ เรื่อง ทั้งรายได้และเสียงวิจารณ์ โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ 90 และ 2000 เช่น Young and Dangerous (ค.ศ. 1996), The Storm Riders (ค.ศ. 1998), A Man Called Hero (ค.ศ. 1999), The Dual (ค.ศ. 2000), Born to be King (ค.ศ. 2000), Infernal Affairs (ค.ศ. 2002), Infernal Affairs II (ค.ศ. 2003), Infernal Affairs III (ค.ศ. 2003), Confession of Pain (ค.ศ. 2006), Legend of the Fist: The Return of Chen Zhen (ค.ศ. 2010) และThe Guillotines (ค.ศ. 2012)[1]

นอกจากนี้แล้ว ยังเคยกำกับภาพยนตร์ 2 เรื่อง ที่ไม่ใช่ภาพยนตร์ฮ่องกง คือ Daisy ในปี ค.ศ. 2006 ซึ่งเป็นภาพยนตร์เกาหลี และ The Flock ในปี ค.ศ. 2008 ซึ่งเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดด้วย[2]

หลิว เหว่ยเฉียง เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฮ่องกง ที่ซอง เฮเคียว นักแสดงสาวชาวเกาหลี เคยให้สัมภาษณ์ว่าเป็นผู้กำกับที่เธออยากร่วมงานด้วย ด้วยประทับใจในผลงานที่ผ่านมา[3]

ผลงานด้านภาพยนตร์ แก้

เมื่อเป็นผู้กำกับ แก้

เมื่อเป็นนักแสดง แก้

อ้างอิง แก้

  1. Andrew Lau Wai-Keung (อังกฤษ)
  2. Andrew Lau (แอนดรูว์ เลา)
  3. "ซองเฮเคียว อยากร่วมงานกับหลิวเหว่ยเฉียง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-05. สืบค้นเมื่อ 2012-01-22.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้