หลิว เช่าฉี
หลิว เช่าฉี (จีนตัวย่อ: 刘少奇; จีนตัวเต็ม: 劉少奇; พินอิน: Liú Shàoqí) (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 – 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512) เป็นนักปฏิวัติ นักการเมือง และนักทฤษฎีชาวจีน เขาเป็นประธานคณะกรรมาธิการประจำสภาประชาชนแห่งชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2497 ถึง 2502, รองประธานของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คนที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2499 ถึง 2509 และประธานสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง 2511 ซึ่งในระหว่างนั้นเขาได้ดำเนินนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจของจีน
หลิว เช่าฉี | |
---|---|
刘少奇 | |
![]() | |
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน คนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 27 เมษายน พ.ศ. 2502 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2511 | |
หัวหน้ารัฐบาล | โจว เอินไหล |
รองประธานาธิบดี | ต่ง ปี้หวู่ และซ่ง ชิ่งหลิง |
ผู้นำ | เหมา เจ๋อตง (ประธานพรรคฯ) |
ก่อนหน้า | เหมา เจ๋อตง |
ถัดไป | ต่ง ปี้หวู่ และซ่ง ชิ่งหลิง |
ประธานคณะกรรมาธิการประจำสภาประชาชนแห่งชาติ คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 15 กันยายน พ.ศ. 2497 – 28 เมษายน พ.ศ. 2502 | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | จู เต๋อ |
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 28 กันยายน พ.ศ. 2499 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2509 | |
ประธาน | เหมา เจ๋อตง |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | หลิน เปียว |
สมาชิกสภาประชาชนแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 15 กันยายน พ.ศ. 2497 – 21 ตุลาคม พ.ศ. 2511 | |
เขตเลือกตั้ง | ปักกิ่ง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 หนิงเซียง มณฑลหูหนาน จักรวรรดิชิง |
เสียชีวิต | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 (70 ปี) ไคเฟิง มณฑลเหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน |
เชื้อชาติ | จีน |
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์จีน (2464–2511) |
คู่สมรส | วัง กวงเหม่ย (2491–2512) |
บุตร | 9 คน |
หลิว เช่าฉี | |||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 刘少奇 | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 劉少奇 | ||||||||||||
|
หลิวดำรงตำแหน่งผู้นำจีนเป็นเวลา 15 ปี ซึ่งมีอำนาจรองจากประธานเหมา เจ๋อตง และนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล แม้ว่าเดิมทีจะถูกพิจารณาว่าเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากเหมา แต่ตั้งแต่ปี 2509 เป็นต้นมา หลิวก็ถูกเหมาวิจารณ์และถูกเหมากำจัด หลิวถูกจับและคุมขัง [1] ในปี 2510 เขาถูกตราหน้าว่าเป็น"ผู้นำทุนนิยมของจีน" และ"ผู้ทรยศต่อการปฏิวัติ" เขาเสียชีวิตในคุกในปี 2512 เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน หลิวถูกประณามอย่างกว้างขวางในช่วงหลายปีหลังจากการเสียชีวิตของเขา จนกระทั่งเขาได้รับการฟื้นฟูเกียรติภูมิโดยรัฐบาลของเติ้ง เสี่ยวผิง ในปี 2523 และรัฐบาลของเติ้งยังได้อนุญาตให้จัดพิธีรำลึกถึงหลิวอีกด้วย
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ Mathews, Jay (4 March 1980). "5 Children of Liu Shaoqi Detail Years in Disfavor". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 25 September 2022.