หลินฮุ่ย (ภาษาจีน: 林惠, Lin Hui) เป็นชื่อของแพนด้ายักษ์เพศเมีย ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้ประเทศไทยยืมจัดแสดงที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ในฐานะทูตสันถวไมตรีไทย-จีน เป็นเวลา 10 ปี โดยจัดแสดงคู่กับช่วงช่วง แพนด้ายักษ์เพศผู้ ตั้งแต่วันที่ 12 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 มีชื่อไทยว่า "เทวี" และมีชื่อล้านนาว่า "คำเอื้อย" ปัจจุบันตายแล้วเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2566

หลินฮุ่ย
ฉายาอื่น ๆเทวี
คำเอื้อย
สปีชีส์Ailuropoda melanoleuca
สายพันธุ์แพนด้ายักษ์
เพศเมีย
เกิด28 กันยายน พ.ศ. 2544
ศูนย์วิจัยและอนุรักษ์แพนด้ายักษ์ เขตอนุรักษ์วู่หลง เฉิงตู มณฑลเสฉวน ประเทศจีน
ตาย19 เมษายน พ.ศ. 2566 (21 ปี)
สวนสัตว์เชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2546–2566
เป็นที่รู้จักสำหรับทูตสันถวไมตรีไทย-จีน
เจ้าขององค์การแพนด้าแห่งประเทศจีน
พ่อแม่พันพัน (พ่อ)
ตังตัง (แม่)
ทายาทหลินปิง
หลินฮุ่ย กำลังหยอกล้อกับช่วงช่วง ภายในอาคารจัดแสดง ที่สวนสัตว์เชียงใหม่
ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศจีน กำลังตรวจสุขภาพลูกแพนด้าเพศเมีย ที่เกิดจากการผสมเทียม ระหว่างช่วงช่วงกับหลินฮุ่ย
อาคารจัดแสดงช่วงช่วง และหลินฮุ่ย ในสวนสัตว์เชียงใหม่

หลินฮุ่ย เกิดเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2544 ที่ศูนย์วิจัยและอนุรักษ์แพนด้ายักษ์ เขตอนุรักษ์วู่หลง นครเฉิงตู มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน เกิดจากแพนด้าตัวผู้ชื่อ Pan Pan (Studbook number:308) และแพนด้าตัวเมียชื่อ Tang Tang (Studbook number:446) ปัจจุบันน้ำหนัก 110 กิโลกรัม

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 หลินฮุ่ยได้ให้กำเนิดลูกแพนด้า น้ำหนักประมาณ 200 กรัม จำนวน 1 ตัว ซึ่งเป็นผลจากการผสมเทียมเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 อายุครรภ์ประมาณ 3 เดือน[1] มีชื่อว่า หลินปิง

พฤติกรรมการเป็นสัด แก้

พบว่าหลินฮุ่ย มีอาการเป็นสัดเกิดขึ้น ทีมพี่เลี้ยงเริ่มสังเกตเห็นการบวมของอวัยวะเพศในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556 และมีการบวมอย่างต่อเนื่องจนขยายขนาดชัดเจนว่าเป็นสีชมพู เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2556 จากนั้นก็เริ่มมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการเป็นสัดคือ เดินวนไปมา กินอาหารลดลง ไม่สนใจแอปเปิ้ล แครอท และอาหารเสริม ทีมงานเริ่มพบพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในวันที่ 23 - 24 กันยายน และเริ่มพบพฤติกรรมการร้องเสียงสูง ซึ่งมักพบในช่วงใกล้วันตกไข่เพิ่มด้วย และเมื่อตรวจดูฮอร์โมนเอสโตรเจนก็พบว่ามีค่าสูงขึ้น มีการเริ่มเอาอวัยวะเพศถูกับกำแพง ต้นไม้และขอนไม้ เพื่อให้แพนด้าช่วงช่วงสนใจ ดังนั้นทางทีมวิจัยคาดการว่าอาจจะตกไข่ในช่วงระหว่างวันที่ 28 - 30 กันยายน [2]

อ้างอิง แก้

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้