หลักข้อเชื่อของอัครทูต
หลักข้อเชื่อของอัครทูต[1] (ละติน: Symbolum Apostolorum/Symbolum Apostolicum;อังกฤษ: Apostle’s creed) หรือ “หลักข้อเชื่อของอัครธรรมทูต” บางครั้งเรียกว่า “สัญลักษณ์ของอัครทูต” ชาวคาทอลิกเรียกว่า "บทข้าพเจ้าเชื่อ"[2] เป็นคำแถลงเกี่ยวกับความเชื่อในศาสนาคริสต์ยุคแรก ซึ่งคำแถลงลักษณะนี้เรียกว่า creed (หลักข้อเชื่อ) หรือ symbol (สัญลักษณ์)[3] หลักข้อเชื่อนี้มีปรากฏใช้ในหลายนิกายทั้งในพิธีกรรมและตำราคำสอน และมักพบมากที่สุดในคริสตจักรตะวันตกที่เน้นพิธีกรรม คือคริสตจักรละติน ลูเทอแรน แองกลิคัน และออทอร์ดอกซ์ตะวันตก ตลอดจนเพรสไบทีเรียน เมทอดิสต์ และคริสตจักรคองกริเกชันแนล
หลักข้อเชื่อของอัครทูตเป็นข้อความเชื่อที่อิงกับแนวคิดทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ จดหมายต่าง ๆ ในพันธสัญญาใหม่ และบางส่วนจากพันธสัญญาเดิม หลักข้อเชื่อนี้น่าจะมีต้นกำเนิดมาจากหลักข้อเชื่อโรมัน เพราะในเนื้อหาไม่ได้กล่าวถึงหรือแก้ปัญหาประเด็นปัญหาทางคริสตวิทยาดังที่ปรากฏในหลักข้อเชื่อไนซีนและหลักข้อเชื่ออื่น ๆ ของคริสตชนที่เกิดขึ้นในยุคหลัง เช่น ปัญหาความเป็นพระเจ้าของพระเยซูหรือพระวิญญาณบริสุทธิ์ ชาวคริสต์ยุคแรก ๆ ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตอย่างลัทธิเอเรียสและลัทธิเอกภาพนิยมจึงยอมรับหลักข้อเชื่อนี้ด้วย
ชื่อ “หลักข้อเชื่อของอัครทูต” อาจจะเกิดขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ตามความเชื่อของคริสตชนที่ว่าอัครทูตทั้งสิบสองคนเป็นผู้แต่งข้อต่าง ๆ ขึ้นมาด้วยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์หลังจากเทศกาลเพนเทคอสต์[4] แต่ยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดยืนยันได้ว่าความเชื่อนี้เป็นเรื่องจริง[5]
เนื้อหา
แก้หลักข้อเชื่อของอัครทูตมีเนื้อหาแบ่งเป็น 3 ส่วน ว่าด้วยเรื่องพระเป็นเจ้า พระเยซู และพระวิญญาณบริสุทธิ์ตามลำดับ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงประเด็นสำคัญทั้งคริสตจักร การพิพากษาครั้งสุดท้าย และการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตาย
แม้หลักข้อเชื่อของอัครทูตจะเป็นที่ยอมรับในทุกคริสตจักร แต่ระหว่างศาสนาคริสต์ตะวันตกกับศาสนาคริสต์ตะวันออกจะมีเนื้อหาต่างกันเล็กน้อย ภายในคริสตจักรตะวันตกเองแม้ใจความจะเหมือนกันทุกประการ แต่สำนวนภาษาและการแปลที่ต่างกันก็สะท้อนให้เห็นความเชื่อต่างกันระหว่างคริสตจักรโรมันคาทอลิกกับคริสตจักรฝ่ายโปรเตสแตนต์ ดังนี้
ต้นฉบับภาษาละติน
แก้Credo in Deum Patrem omnipotentem, Creatorem caeli et terrae,
et in Iesum Christum, Filium Eius unicum, Dominum nostrum,
qui conceptus est de Spiritu Sancto, natus ex Maria Virgine,
passus sub Pontio Pilato, crucifixus, mortuus, et sepultus,
descendit ad infernos, tertia die resurrexit a mortuis,
ascendit ad caelos, sedet ad dexteram Dei Patris omnipotentis,
inde venturus est iudicare vivos et mortuos.
Credo in Spiritum Sanctum,
sanctam Ecclesiam catholicam, sanctorum communionem,
remissionem peccatorum,
carnis resurrectionem,
vitam aeternam.
Amen.[6]
โรมันคาทอลิก
แก้ชาวโรมันคาทอลิกในประเทศไทยเรียกหลักข้อเชื่อของอัครทูตว่า “บทข้าพเจ้าเชื่อ” บทแปลเดิมเกิดขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1968 ต่อมาในปี ค.ศ. 2002 คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรมได้เริ่มปรับปรุงบทภาวนาใหม่ โดยสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยได้ประกาศให้คริสตชนคาทอลิกใช้ฉบับปรับปรุงนี้อย่างเป็นทางการในวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2010
บทข้าพเจ้าเชื่อทั้ง 2 ฉบับ มีเนื้อหาดังนี้
ฉบับเดิม
|
ฉบับปรับปรุง[7]
|
อีสเทิร์นออร์โธด็อกซ์
แก้ชาวออร์โธด็อกซ์ในประเทศไทย เรียกหลักข้อเชื่อของอัครทูตว่า “บทแสดงความเชื่อของคริสตชนออร์โธด็อกซ์” แปลครั้งแรกในปี ค.ศ.2002 ต่อมาในปี ค.ศ.2012 ได้ปรับปรุงใหม่โดย ศาสนจักรคริสต์ออร์โธด็อกซ์ในประเทศไทย
ฉบับปัจจุบัน[8]
|
โปรเตสแตนต์
แก้นิกายโปรเตสแตนต์ในประเทศไทยมีหลักข้อเชื่อของอัครทูตใช้อยู่ 2 ฉบับ คือ ฉบับของสภาคริสตจักรในประเทศไทย และฉบับคริสตจักรแองลิกันในประเทศไทย
สภาคริสตจักรฯ[9]
|
คริสตจักรแองลิกันในประเทศไทย[1]
|
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 หนังสือภาวนาของคริสตจักรแองลิกันเพื่อใช้ในประเทศไทย หน้า 52-3, คริสตจักรแองลิกันในประเทศไทย
- ↑ บทภาวนาในชีวิตประจำวัน: บทข้าพเจ้าเชื่อ เก็บถาวร 2010-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เขตมิสซังกรุงเทพ
- ↑ ไม่ใช่ความหมายดังที่ใช้ในภาษาอังกฤษใหม่ แต่เป็นความหมายดั้งเดิมที่มีที่มาจากภาษาละติน symbolum ซึ่งแปลว่า “เครื่องหมาย” หรือ “เครื่องแสดง” ตรงกับภาษากรีกว่า σύμβολον, แปลว่า สิ่งระบุรูปพรรณ (by comparing with its counterpart), from συμβάλλειν, to throw together, compare" (The American Heritage Dictionary of the English Language).
- ↑ "James Orr: The Apostles' Creed, in International Standard Bible Encyclopedia". Reformed.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-22. สืบค้นเมื่อ 2011-05-19.
- ↑ McGrath, Alister E., Christian Theology: An Introduction", Singapore: Blackwell Publisher, 2007, p. 14
- ↑ "Symbolum Fidei" [Faith symbol]. Catechismus Catholicae Ecclesiae (ภาษาละติน). Vatican. 1992-06-25. สืบค้นเมื่อ 2014-08-05.
- ↑ บทภาวนาของคริสตชน ฉบับปรับปรุง ค.ศ. 2010 เก็บถาวร 2016-08-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ 2017-09-08.
- ↑ "ธรรมนูญแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ค.ศ. 1998" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-22. สืบค้นเมื่อ 2014-01-29.