หลอดรังสีแคโทด

(เปลี่ยนทางจาก หลอดรังสีคาโทด)

หลอดรังสีแคโทด (อังกฤษ: cathode ray tube ชื่อย่อ CRT) เป็นหลอดไฟสุญญากาศที่ประกอบไปด้วย ปืนอิเล็กตรอนซึ่งอาจมีจำนวนมากกว่าหนึ่งอัน และเครื่องฉายฟลูออเรสเซนท์ ลำแสงอิเล็กตรอนจะปล่อยจากโลหะที่ร้อน แล้วเร่งไปทางด้านที่มีประจุบวกในท่อ โดยหลอดรังสีแคโทดใช้เพื่อสร้างภาพในรูปของแสงที่ปล่อยออกมาจากเครื่องฉายฟลูออเรสเซนท์[1] โดยภาพที่ถูกสร้างนั้นสามารถแสดง อาทิ คลื่นไฟฟ้า (Oscilloscope), รูปภาพ (โทรทัศน์ หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์), และตัวยิงเรดาร์ เป็นต้น

องค์ประกอบของหลอดภาพ CRT สี:
1. Three Electron guns (for red, green, and blue phosphor dots)
2. Electron beams
3. Focusing coils
4. Deflection coils
5. Anode connection
6. Mask for separating beams for red, green, and blue part of displayed image
7. Phosphor layer with red, green, and blue zones
8. Close-up of the phosphor-coated inner side of the screen

CRT จะใช้ซองแก้วสุญญากาศซึ่งมีขนาดใหญ่, ลึก (เช่น มีความยาวจากผิวหน้าจอภาพด้านหน้าไปยังด้านท้ายของหลอด) ที่ค่อนข้างหนักและค่อนข้างบอบบาง

ประวัติ แก้

คิดค้นขึ้นครั้งแรกโดยนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ชื่อ คาร์ล เฟอร์ดินานด์ บราวน์ (Karl Ferdinand Braun) ในปีคริสต์ศักราช 1897 และมีอีกชื่อหนึ่งว่าหลอดบราวน์ (Braun tube) โดยเขาได้พัฒนาเครื่องมือวัดคลื่นสัญญาณไฟฟ้าหรือ Oscilloscope ขึ้นมาเป็นคนแรก

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-13. สืบค้นเมื่อ 2010-05-30.