หลวงอามาตย์ราชวงษา (อำนาจ รามางกูร)

หลวงอามาตย์ราชวงษาหรือกวานหลวงอำมาตย์หรือกวานอามาถย์[1] หรือท้าวอำนาจราชวงส์ บ้างเรียกหลวงอำนาจ[2] อดีตนายกองข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนม หรือผู้ควบคุมท้าวเพี้ยตัวเลกข้าพระธาตุพนม หรือนายกองบ้านธาตุพนมลำดับแรกหลัง พ.ศ. ๒๓๗๑ (ราชวงศ์เวียงจันทน์ล่มสลาย) หลังเมืองธาตุพนมยุบเป็นกองบ้าน และอดีตกวานเวียงชะโนดหรือบ้านชะโนดเมืองมุกดาหารคนที่ ๓

หลวงอามาตย์ราชวงษา (อำนาจ รามางกูร)
นายกองข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนมหรือหัวหน้าผู้ควบคุมท้าวเพี้ยตัวเลกข้าพระธาตุพนม อดีตกวานบ้านชะโนด
ก่อนหน้าพระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร)
ถัดไปท้าวสุริยะราชวัตริ์ (อ้วน รามางกูร)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดบ้านชะโนด เมืองมุกดาหาร
เสียชีวิตบ้านชะโนด เมืองมุกดาหาร
ศาสนาศาสนาพุทธ
คู่สมรสอาดยานางแก้วคำพา

ประวัติ แก้

พื้นเมืองพระนม (ประวัติวงส์เจ้าเมืองธาตุพนม) ระบุหลวงอามาตย์ฯ มาจากตระกูลปกครองและตั้งเมืองหลวงโพนสิมในแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว ที่เกี่ยวดองกับขุนโอกาสในราชวงเวียงจันทน์ เดิมเป็นกวานเวียงดงชะโนดหรือเมืองเก่าตาลรุกขาในอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร เป็นที่ท้าวพระอามาตย์กรมการบ้านชะโนดและโพนสิมเก่า ปกครองชะโนดหลังท้าวมหานามพี่ชายถึงแก่กรรม หลังสงครามเจ้าอนุวงศ์ขุนโอกาสธาตุพนมว่างลงอาดยานางบุสดีภรรยาเจ้าพระรามราชปราณีฯ (ศรี) ผู้หลานอา ถือโอกาสเชิญปกครองกองข้าโอกาสพระธาตุพนมชั่วคราวแล้วสละตำแหน่งมอบให้บุตรแทน[3] เป็นบุตรเจ้าสูวันนะสีหะหรือท้าวคำสิงห์ผู้ตั้งท่าชะโนดคนแรกในฝั่งขวาน้ำโขงและตั้งบ้านท่าสะโหน (ท่าชะโน) ฝั่งซ้ายน้ำโขง ท้าวคำสิงห์เป็นพี่เจ้ารัตนะสิมพะลีหรือท้าวแก้วสิมพลีผู้ตั้งเมืองมุกดาหานทะบูลีสีสัตตะตาลนคร (บังมุก) ฝั่งขวาน้ำโขงและตั้งบ้านท่าแห่ (ท่าแฮ่) ฝั่งซ้ายน้ำโขง ทั้ง ๒ เป็นบุตรหม่อมบ่าวหลวงกวานดงเขนยผู้ตั้งเมืองหลวงโพนสิม (บ้านหลวง บ้านโพน บ้านสิม) กับนางสิมมาผู้ตั้งบ้านดงดอกไม้หรือเมืองคันทะบูลี (นครไกสอนพมวิหาน) แขวงสุวรรณเขต [4] หลวงอามาตย์ฯ มีพี่น้อง ๑๐ ท่านคือท้าวมหานามกวานบ้านชะโนดลำดับ ๒, พระหมื่นนำรวงหรือหมื่นพระน้ำฮุ่ง (คำยาด) กรมการธาตุพนมบิดาอาดยานางบุสดีภรรยาเจ้าพระรามราชปราณีฯ, หลวงอามาตย์ราชวงษา (อำนาจ), ท้าวราชวัตร (ราชวงศ์) กรมการธาตุพนม, หลวงราชวงษ์เมือง (กวานหลวงราช) ผู้ตั้งบ้านหว้านน้อย, ท้าววงษาเสนา ร่วมกับหลวงราชวงษ์เมืองตั้งบ้านหว้านน้อย, นางแจ่ม, นางทองสุก, นางคำซาว, นางบุญลา[5]

ทายาท แก้

หลวงอามาตย์ฯ มีบุตรธิดา ๑๐ ท่าน เป็นนายกองข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนม ๒ ท่าน คือ นางหล้า, นางตุ๊, ท้าวสุริยะราชวัตร์ (อ้วน รามางกูร) นายกองข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนมลำดับ ๒, ท้าวสุริยะราชวัตร์ (คูณ รามางกูร) นายกองข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนมลำดับ ๓, ท้าวสีหานาม (กวานสีหานาม), ท้าวราชวัตริ์ (กวานราชวัตริ์) ผู้ตั้งบ้านนาดี, ท้าวทา ร่วมกับท้าวราชวัตริ์ตั้งบ้านนาดี, ท้าวโพธิ์สะราช (กวานโพชะราช) ผู้ตั้งบ้านหนองผือ, แสนจันทร์ ผู้ร่วมท้าวโพธิ์สะราชตั้งบ้านหนองผือ, นางซาว

เฉพาะท้าวสีหานาม (กวานสีหานาม) ผู้บุตรเป็นผู้ตั้งบ้านหว้านใหญ่หรืออำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร มีบุตรธิดาคือท้าวหมาคำ ร่วมท้าวสีหานามตั้งบ้านหว้านใหญ่, นางแก้วฝา นางแก้วฝาสมรสกับท้าวสุริยะราชวัตร์ (คูณ) บุตรธิดาคือนางทุม (แดงทุม) นางทุมสมรสกับท้าวสีหาบุตร (แก้ว) กรมการบ้านหว้านใหญ่เลื่อนเป็นหลวงเดชพลพักตร์ (กวานหลวงเดชพลพักตร์) กำนันตำบลหว้านใหญ่บุตรหลวงอินทร์ (พระจำเริญ) กวานชะโนดลำดับ ๔ หลานปู่ท้าวมหานามกวานชะโนดลำดับแรก, ท้าวจูม, ท้าวกุ, ท้าวเล, นางใบ, นางหลอย นางหลอยสมรสกับขุนหว้านวิรุฬคาม (ท้าวพังคี) กำนันตำบลหว้านใหญ่บุตรท้าวบุญเฮืองกับนางผอง หลานปู่เจ้าเมืองโขง นางผองเป็นธิดาท้าวมหานะคร (ขาว) กับนางบุ ท้าวมหานะครเป็นบุตรหลวงอะภัยบ้านชะโนด นางบุเป็นธิดาท้าวควรกับนางทองสุกธิดาท้าวคำสิงห์ผู้ตั้งเวียงชะโนด นางหลอยกับขุนหว้านฯ มีบุตรธิดาคือท้าวทองทิพย์, ท้าวสีทวน, นางเทพ, นางคำบ่อ, นางโซ่น, นางรัดเซน, นางบรรเย็น (บานเย็น)

ถึงแก่กรรม แก้

พื้นพระบาทใช้ชาติระบุสั้น ๆ เพียงว่า ...สังกาดได้ ๒ ฮ้อยซาว ๑ อาดยาหลวงโอกาดตนซื่อพระอำมาดลาสสะวงสาจุตติ เอาเจ้าสูวัณณะเสดถถาเซื้อพระลามมะลาสขึ้นเป็นขุรโอกาด...[6]


ก่อนหน้า หลวงอามาตย์ราชวงษา (อำนาจ รามางกูร) ถัดไป
พระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร)   นายกองข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนมหรือหัวหน้าผู้ควบคุมท้าวเพี้ยตัวเลกข้าพระธาตุพนม ,
อดีตกวานบ้านชะโนด

  ท้าวสุริยะราชวัตร์ (อ้วน รามางกูร)

อ้างอิง แก้

  1. พระฎิสสโร (หนูกร) ใจสุข, ประวัติบ้าน, (มุกดาหาร: ม.ป.พ., ม.ป.ป..), ไม่ปรากฏหน้า (อัดสำเนา).
  2. สัมภาษณ์นางสาวจันเนา รามางกูร เรื่อง ประวัติหลวงอามาตย์ราชวงษา อาชีพค้าขาย อายุ ๙๐ ปี เมื่อ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐.
  3. พระมหาดวง รามางกูร, พื้นเมืองพนม (ประวัติวงส์เจ้าเมืองธาตุพนม), (นครพนม: วัดบวรนิเวศวิหาร คณะแดงรังสี, ม.ป.ป.), ไม่ปรากฏหน้า (อัดสำเนา).
  4. ดูรายละเอียดใน ธวัชชัย พรหมณะ, "ความสำคัญของการอพยพเคลื่อนย้ายกลุ่มชาติพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำโขงต่อความเป็นเมืองสุวรรณเขต ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๙๓-๑๙๕๔", สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชีย), (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๔๕).
  5. ดูรายละเอียดใน พระมหาดวง รามางกูร, พื้นเมืองพนม (ประวัติวงส์เจ้าเมืองธาตุพนม), ไม่ปรากฏหน้า (อัดสำเนา).
  6. พระครูสิริปัญญาวุฒิ (ขุนละคร ขันตะ), คัดลอก. คัมภีร์เรื่อง พื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นครุธฮาช (พื้นพระยาธัมมิกราช). วัดศรีสุมังค์ บ้านนาถ่อนท่า ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. เอกสารเขียนบนกระดาษ ๑ ฉบับ. อักษรธรรมลาว, อักษรลาวเดิม. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นเขียน. ม.ป.ป. (ต้นฉบับ พ.ศ. ๒๔๔๙). ไม่ปรากฏเลขรหัส. ๒๓ ใบ ๖ หน้า. ไม่ปรากฏหมวด. หน้า ๔-๕.