หลวงอนุสารสุนทร (สุ่นฮี้ ชุติมา)

หลวงอนุสารสุนทร หรือชื่อจริงคือ สุ่นฮี้ ชุติมา เป็นคหบดีชาวเชียงใหม่และกรมการพิเศษเมืองนครเชียงใหม่

หลวงอนุสารสุนทร
เกิดพฤศจิกายน พ.ศ. 2410
เมืองนครลำพูน
เสียชีวิต9 ตุลาคม พ.ศ. 2477 (66 ปี)
เมืองนครเชียงใหม่ นครเชียงใหม่
อาชีพนักธุรกิจ
คู่สมรสคำเที่ยง บุรี
บุตรกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์
ยงค์ ชุติมา

ประวัติ

แก้

สุ่นฮี้ ชุติมา เกิดเมื่อ พ.ศ. 2410 ที่เมืองลำพูน เป็นบุตรคนที่ 6 ของนายต้อย แซ่ฉัว ชาวจีนจากมณฑลกวางตุ้ง และนางแว่น แซ่แต้ เมื่อบิดาเสียชีวิตลงในปีพ.ศ. 2428 นายสุ่นฮี้ย้ายจากบ้านดั้งเดิมที่ลำพูนมาอยู่บ้านใหญ่ที่เชียงใหม่ และเข้ารับช่วงดูแลกิจการและทรัพย์สินของครอบครัว นายสุ่นอี้เปิดห้างค้าของเบ็ดเตล็ด ทั้งนาฬิกา ตะเกียง ปืน เป็นต้น

นายสุ่นฮี้ทำการสมรสกับนางสาวคำเที่ยง บุรี เมื่อพ.ศ. 2431 หลังจากนั้นก็ได้ร่วมตั้งห้างย่งไท้เฮง (ร่วมทุนกับหลวงนิกรจีนกิจ) ขึ้นที่ถนนท่าแพ และยังตั้งห้างชัวย่งเส็ง หรือต่อมาคือห้างอนุสารฯเปิดขายสินค้าเบ็ดเตล็ด โดยล่องเรือหางแมงป่องนำสินค้าเกษตรและของป่าไปขายยังกรุงเทพและซื้อเครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องจักรต่างๆขึ้นมาขาย ห้างชัวย่งเส็งจึงเป็นที่นิยมของบรรดาเจ้านายฝ่ายเหนือ มิชชันนารี และข้าราชการในเชียงใหม่เป็นอันมาก นอกจากนี้นายสุ่นฮี้และนางคำเที่ยงยังทำธุรกิจโรงรับจำนำ

ในพ.ศ. 2453 นายสุ่นฮี้ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น "ขุนอนุสารสุนทร" และในพ.ศ. 2467 ก็ได้เลื่อนเป็น "หลวงอนุสารสุนทร" ที่ตำแหน่งกรมการพิเศษเมืองนครเชียงใหม่ หลวงอนุสารสุนทรยังเป็นผู้ริเริ่มกิจการเดินรถโดยสารขึ้นในเชียงใหม่ รับส่งผู้โดยสารระหว่างเชียงใหม่–ลำพูน ในการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาอังกฤษซึ่งมีความจำเป็นอย่างมาก ดังนั้นท่านจึงริเริ่มให้มีโรงเรียนขึ้น โดยหลวงอนุสารสุนทรได้ติดต่อหาครูสอนภาษาอังกฤษมาจากเมืองมะละแหม่งชื่อหม่องส่วยต่อ เปิดเป็นโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษขึ้น ชื่อว่า "โรงเรียนหม่องส่วยต่อ"

บุตร-ธิดา

แก้

หลวงอนุสารสุนทร และนางคำเที่ยง บุรี มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คน คือ:

และมีบุตรธิดากับภรรยาคนรอง 5 คน คือ นายสงัด บรรจงศิลป์,นายเชื้อ ชุติมา,นางสาวกรองทอง ชุติมา,นายวิพัฒน์ ชุติมา และนายชัชวาล ชุติมา

บรรพบุรุษ

แก้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2. ต้อย แซ่ฉัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1. หลวงอนุสารสุนทร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
6. ซ้อ แซ่แต้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. แว่น แซ่แต้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
7. หงส์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

แก้
  • แจ่มจิตต์ เลาหวัฒน์. ประวัติหลวงอนุสารสุนทร
  • มุจลินทร์ เพ็ชรรุ่ง (2553). การศึกษาบทบาทของชาวจีน ใน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ในสมัยรัตนโกสินทร์