หลวงบุณยมานพพานิชย์ (อรุณ บุณยมานพ)
(เปลี่ยนทางจาก หลวงบุณยมานพพานิชย์)
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
อำมาตย์โท หลวงบุณยมานพพานิชย์ นามเดิม อรุณ บุณยมานพ หรือ แสงทอง (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 – 5 กันยายน พ.ศ. 2507) เป็นผู้ประพันธ์และเขียนบทภาพยนตร์บันเทิงคดีฝีมือของชาวไทยเรื่องแรก โชคสองชั้น (Double Luck) พ.ศ. 2470[1]
หลวงบุณยมานพพานิชย์ (อรุณ บุณยมานพ) | |
---|---|
เกิด | อรุณ บุณยมานพ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 ถนนบำรุงเมือง สี่กั๊กเสาชิงช้า |
เสียชีวิต | 5 กันยายน พ.ศ. 2507 (70 ปี) |
ชื่ออื่น | แสงทอง |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2454 – พ.ศ. 2507 |
ผลงานเด่น | ผู้ประพันธ์ โชคสองชั้น (2470) |
คู่สมรส | สาย บุณยมานพพานิชย์ |
บุตร | 10 คน |
บิดามารดา | พระยาสัตยพรตสุนันท์ (ทองบุ๋น บุณยมานพ) คุณหญิงปุก สัตยพรตสุนันท์ |
ครอบครัว | บุณยมานพ |
ประวัติ
แก้การศึกษา
แก้- จบการศึกษาระดับ ม.8 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เรียนต่อที่โรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม
- รับราชการหลายแห่ง ได้แก่ โรงภาษี หรือ กรมศุลกากร กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ,กระทรวงยุติธรรม ,กระทรวงพาณิชย์ ,กระทรวงเสษฐการ ,กองการสังคีต กรมศิลปากร และกระทรวงโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) จนกระทั่งลาออกมาทำงานส่วนตัวและเขียนหนังสือ
ผลงาน
แก้- ผู้ประพันธ์และเขียนบทภาพยนตร์บันเทิงคดีที่สร้างโดยชาวไทยล้วนๆ สำเร็จเป็นครั้งแรก โชคสองชั้น พ.ศ. 2470 ปรากฏว่ามีผู้ชมคับคั่งด้วยเป็นของแปลกใหม่สุดในยุคนั้น
- นักเขียนที่หนังสือพิมพ์ศรีกรุง และนักประพันธ์เรื่องต่างๆ เช่น นิราศรอบโลก ,วรรณกรรมของแสงทอง ,รวมเรื่องคุณถึก และ อติรูป รวมทั้งงานแปลของ F.W.Brain
หมายเหตุ บางแหล่งข้อมูลสะกดชื่อว่า หลวงบุณยมานพพานิช [2] ,หลวงบุณยมานพพาณิช [3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2499 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[4]
- พ.ศ. 2496 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[5]
- พ.ศ. 2482 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ โดม สุขวงศ์ สยามภาพยนตร์ หอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)2555 ISBN 978-616-543-173-6 หน้า 263
- ↑ โชคสองชั้น วิกิพีเดีย
- ↑ สยามภาพยนตร์ หน้า 239
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕๙, ๒๓ มกราคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑๐, ๒๓ ธันวาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๗๐, ๕ ตุลาคม ๒๔๘๒
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วีระยศ สำราสุขทิวาเวทย์, คอลัมน์หนังกับหนังสือ ,นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับปีที่ 29 ฉบับที่ 6 เมษายน 2551 หน้า 26