หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์)

อำมาตย์ตรี หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) (18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 — 30 มีนาคม พ.ศ. 2473) วิศวกรการรถไฟชาวไทย อดีตนายช่างกลอำนวยการโรงงานมักกะสัน ซึ่งมีหน้าที่ซ่อมหนักรถจักรและรถโดยสาร ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

ประวัติ แก้

อำมาตย์ตรี หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438[1] เป็นบุตรเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) กับท่านผู้หญิงวงศานุประพัทธ์ (ตาด สิงหเสนี)[2]

พ.ศ. 2455 ออกไปศึกษาวิชาช่างกล ณ ประเทศอังกฤษ สำเร็จปริญญา B.A. กลับเข้ามารับราชการเป็นนายช่างกล ผู้ช่วยกรมรถไฟหลวง และได้รับพระราชทานยศเป็นรองอำมาตย์เอก เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465[3]

1 มกราคม พ.ศ. 2466 รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น หลวงจรูญสนิทวงศ์ ถือศักดินา ๖๐๐[4] 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 เป็นนายช่างกล ประจำกองช่างกล และเลื่อนยศเป็นอำมาตย์ตรี[5]

เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2452 จบการศึกษาวิศวกรรมการรถไฟจากประเทศอังกฤษ แล้วรับราชการกรมรถไฟหลวง ท่านเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายช่างกลอำนวยการโรงงาน โรงงานมักกะสัน ในปี พ.ศ. 2473 [6]

ชีวิตส่วนตัว แก้

อำมาตย์ตรี หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) สมรสกับหม่อมหลวงรวง มีบุตรชื่อ ดำเกิง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และ มีธิดาชื่อ อรุณ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ท่านผู้หญิงอรุณ กิติยากร ณ อยุธยา) ซึ่งสมรสกับหม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร พระเชษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง [7] และมีธิดาอีก 2 คน คือ อรอำไพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และทิพย์วาณี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เกิดกับหม่อมหลวงฟ่อน [8] เป็นนักเขียนสารคดีสำหรับเด็ก ผลงานที่มีชื่อเสียงคือเรื่อง "เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก" [9] ตีพิมพ์เป็นตอนๆ ในนิตยสารสตรีสารรายสัปดาห์ [10]

มรณกรรม แก้

อำมาตย์ตรี หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) ป่วยเป็นโรคไตพิการ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2473[11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตาย หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) เล่ม 48, 12 เมษายน 2484, หน้า 132.
  2. อรวรรณ ทรัพย์พลอย. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ปราชญ์ผู้เป็นกำลังของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2552. 352 หน้า. ISBN 978-974-341-578-4
  3. พระราชทานยศ (หน้า ๒๒๐๙)
  4. พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๓๓๔๙)
  5. พระราชทานยศ (หน้า ๒๕๙๒)
  6. "ประวัติโรงงานมักกะสัน". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-26. สืบค้นเมื่อ 2009-10-26.
  7. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงอรุณ กิติยากร ณ อยุธยา[ลิงก์เสีย] ข่าวในพระราชสำนัก, 29 มกราคม 2552
  8. ประวัตินางสาวทิพย์วาณี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เก็บถาวร 2020-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำเนาจาก หนังสือเรียนภาษาไทย ท 101 ท 102 ชุดทักษสัมพันธ์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
  9. เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก
  10. เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตาย หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) เล่ม 48, 12 เมษายน 2484, หน้า 132.
  12. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนาม สมาชิก สมาชิกา เครื่องราชอิศริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า พระราชทานในพระราชพิธีฉัตรมงคล เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๕[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๘๘, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๖๕
  13. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า 3104)
  14. ราชกิจจานุเบกษา, เครื่องราชอิสสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๖, ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๒๗, ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๖๐, ๑ มกราคม ๒๔๖๗