หยิบ หมั่น
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
หยิบหมั่น หรือ เย่เวิ่น (จีนตัวย่อ: 叶问; จีนตัวเต็ม: 葉問; พินอิน: Yè Wèn; ยฺหวิดเพ็ง: Jip9 Man6; อักษรโรมัน: Yip Man, Ip ManMan: ภาษาแต้จิ๋ว: เหียะหมุ่ง)[2] เป็นปรมาจารย์กังฟูที่มีชื่ออีกคนหนึ่งในแบบมวยหวิงชุน
ประวัติ
แก้หยิบหมั่น เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1893 ที่เมืองฝัวซาน มณฑลกวางตุ้ง (สถานที่เดียวกับ หว่องเฟ้ย์ห่ง (หวง เฟยหง)) ในครอบครัวคหบดีที่มั่งคั่ง เป็นบุตรชายคนที่ 3 ในบรรดา 4 คนของครอบครัว หยิบหมั่นเริ่มเรียนกังฟูครั้งแรกเมื่ออายุได้ 13 ปี ในแบบมวยหวิงชุน (Wingchun ออกเสียง เป็นภาษากวางตุ้งว่า "เหวงช้น" หรือ "หย่งชุน" ในจีนกลาง) จาก ฉั่นหว่าส่น (陳華順, "เฉินหัวซุ่น") มวยหวิงชุนเป็นเพลงมวยที่กล่าวขานในตำนานว่าคิดค้นโดยแม่ชี อื่อหมุ่ย และได้ถ่ายทอดวิชามวยนี้ให้หญิงสาวชาวบ้านชื่อ หยิ่มเหวงช้น (嚴詠春, เหยียน หย่งชุน) จึงเป็นที่มาของชื่อมวยนี้ เอกลักษณ์ของเพลงมวยชนิดนี้คือ เน้นที่ความว่องไวและหนักหน่วงในการต่อสู้แบบประชิดตัวโดยไม่ได้มีลีลามากนัก หยิบหมั่น สมรสกับ จาง หย่งเฉิน มีบุตร-ธิดา ด้วยกัน 6 คน
ก่อตั้งสำนัก
แก้แต่ขณะนั้น ฉั่นหว่าส่น อายุมากแล้ว การสอนจึงตกเป็นหน้าที่ของศิษย์พี่ อึ่ง จ่งโซว (吳仲素, อู๋ จ้งซู่) เป็นเวลา 3 ปี ก่อนที่ฉั่นหว่าส่นจะเสียชีวิตด้วยโรคชรา และได้ฝากฝังให้อึ่ง จ่งโซว สอนยิปมันต่อให้สำเร็จ และยังถือว่ายิปมันเป็นศิษย์คนสุดท้ายของ ฉั่นหว่าส่นด้วย
วันหนึ่งหยิบหมั่นถูกเพื่อนร่วมชั้นเรียนมัธยมท้าให้ทดลองสู้กับคนที่อายุมากกว่า หยิบหมั่นได้ตกลงท้า แต่กลายเป็นว่า เขาบังเอิญไปท้าสู้กับผู้ฝึกมวยหวิงชุนด้วยกันเอง และแพ้อย่างหมดทางสู้ คน ๆ นี้ชื่อ เหลิ่งเป๊ก (梁璧, เหลียงปี้) ซึ่งเป็นบุตรชายของเหลิ่งจ่าน (梁贊, เหลียงจ้าน) อาจารย์ปู่ของหยิบหมั่น เหลิ่งเป๊ก เป็นศิษย์น้องของฉั่นหว่าส่น จึงมีศักดิ์เป็นอาจารย์อาของหยิบหมั่น หยิบหมั่นได้รู้จักกับเหลิ่งเป๊กและเรียนวิชากับเขาจนอายุได้ 24 ปี จึงได้กลับมาที่ฝัวซานบ้านเกิด ด้วยฝีมือที่ก้าวหน้าไปกว่าเดิมมาก
ที่ฝัวซาน หยิบหมั่นได้งานเป็นตำรวจ จึงไม่ได้เปิดสำนักกังฟู แต่ก็ได้สอนลูกน้องของเขาบ้าง ซึ่งที่นี่ หยิบหมั่นได้รับการนับถืออย่างยิ่งจากชาวบ้าน เสมือนเป็นวีรบุรุษของท้องถิ่น
ในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (ค.ศ. 1937-ค.ศ. 1945) หยิบหมั่นปฏิเสธที่จะเป็นครูฝึกสอนให้ทหารญี่ปุ่นหลายต่อหลายครั้ง และย้ายจากฝัวซานไปอยู่เมืองอื่น
ปลาย ปี ค.ศ. 1949 หยิบหมั่นเข้าร่วมกับพรรคก๊กมินตั๋งและต้องหนีไปฮ่องกงโดยพลัดพรากจากครอบครัว เนื่องจากพรรคก๊กมินตั๋งแพ้ให้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ที่ ฮ่องกง หยิบหมั่นจึงได้เริ่มเปิดสำนักสอนหย่งชุนขึ้น แรก ๆ กิจการไม่ดีเพราะลูกศิษย์ที่สมัครอยู่กับเขาได้ไม่กี่เดือนก็ออกไป ไม่นานเขาได้ย้ายสำนักไปเปิดที่เหย่าหม่าเต๋ย์ และที่นั่น เขามีลูกศิษย์ที่ศึกษาอย่างจริงจัง เช่น เจวียง ฮอกกิ่น (Hokkin Chueng) ,หว่อง ซัมเหลวียง, เจียง ดหฟกหฟจกเฮง, เจียง ฮกกิ่น และอื่น ๆ ซึ่งสร้างชื่อเสียงในการประลองให้แก่มวยหวิงชุนเป็นอย่างมาก
ปั้นปลาย
แก้ซึ่งลูกศิษย์คนหนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของหยิบหมั่น คือ บรูซ ลี ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับโลก บรูซ ลีได้เรียนกับหยิบหมั่นในช่วงปี ค.ศ. 1954-ค.ศ. 1957 เป็นเวลาสั้น ๆ เพียง 3 ปี ซึ่งชัดเจนว่าบรูซ ลี ไม่ได้เรียนวิชาทั้งหมด ต่อมาบรูซ ลี คิดค้นวิชาของตัวเองขึ้น ชื่อ เจี๋ยฉวนเต้า ซึ่งเชื่อว่ามีพื้นฐานมาจากหวิงชุนนั่นเอง
หยิบหมั่นเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่เมืองมงก๊ก เกาลูน ฮ่องกง ด้วยโรคมะเร็งที่คอ รวมอายุได้ 79 ปี และถูกยกย่องให้เป็นปรมาจารย์ในยุคปัจจุบันของมวยหวิงชุน
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
แก้เรื่องราวของหยิบหมั่น ได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ศิลปะการต่อสู้ในปี ค.ศ. 2008 ในชื่อ Ip Man นำแสดงโดย เจิน จื่อตัน รับบทเป็น หยิบหมั่น (ออกเสียงเรียกในภาพยนตร์ว่า "ยิปมัน") ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งจนต้องมีภาคต่อมา ซึ่งมีกำหนดออกฉายในเดือนเมษายน ค.ศ. 2010 และมีการสร้างเป็นภาพยนตร์จากผู้สร้างอีกกลุ่มหนึ่ง โดย หว่อง ก๊า ไหว่ ซึ่งผู้ที่จะมารับบทเป็นหยิบหมั่น คือ เหลียง เฉาเหว่ย ในชื่อเรื่อง The Grand Masters นอกจากนี้แล้วยังมีอีกหนึ่งเรื่อง คือ The Legend is Born – Ip Man ที่ออกฉายในปีเดียวกัน เป็นเรื่องราวตั้งแต่วัยเยาว์ของหยิบหมั่นจนถึงอายุ 28 ปี และIp Man: The Final Fight ที่สร้างโดยกลุ่มผู้สร้าง The Legend is Born – Ip Man ในปี ค.ศ. 2013
อ้างอิง
แก้- ↑ 影武者‧ 葉問次子葉正專訪 [Exclusive Interview with Ip Man's second son Ip Ching] (ภาษาจีน). Ming Pao Weekly Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กันยายน 2013. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2013.
旺角通菜街一百四十九號一個單位內, ... 傳奇的老者在那個單位的一張沙發上遽然離世。 [Translation: ... in a unit at 149 Tung Choi Street, Mong Kok, ... the legendary old man passed away suddenly on a sofa in that unit.]
- ↑ Knight, Dan (July 20, 2012). "Ip Man or Yip Man". kwokwingchun.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-01. สืบค้นเมื่อ 2022-08-17.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Yip Man
- Communication with Wing Chun Kung Fu System