หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร

นาวาอากาศตรี หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร (30 เมษายน พ.ศ. 2467 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป ประสูติแต่หม่อมแหวนศุลี ชยางกูร ณ อยุธยา

หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ30 เมษายน พ.ศ. 2467
สิ้นชีพตักษัย30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (97 ปี)
หม่อมหม่อมชมชื่น โกมารกุล ณ นคร
พระบุตรหม่อมราชวงศ์พงษ์ไชยา ชยางกูร
ราชสกุลชยางกูร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป
พระมารดาหม่อมแหวนศุลี ชยางกูร ณ อยุธยา
นาวาอากาศตรี หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร
รับใช้กองทัพอากาศ
ชั้นยศ นาวาอากาศตรี

พระประวัติ แก้

หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป (อดีตองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และอดีตอธิบดีกรมพิพิธภัณฑ์พระองค์แรก) ประสูติแต่หม่อมแหวนศุลี ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุญยมาลิก) เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2467[1] มีโสทรกนิษฐภาดาและโสทรกนิษฐภคินีรวมสององค์ คือ หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร (ประสูติ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2473) และหม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร (ประสูติ 10 มกราคม พ.ศ. 2476)

หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา สำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2490 ร่วมรุ่นกับพลอากาศเอกกำธน สินธวานนท์ อดีตองคมนตรี หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้เข้าทำงานที่บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย ต่อมาได้ลาออกจากบริษัท[2] แล้วเข้ารับราชการในกรมสื่อสารทหารอากาศ กองทัพอากาศ

หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร สิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ด้วยพระอาการหทัยล้มเหลว เนื่องจากปัปผาสะอักเสบ ณ โรงพยาบาลกรุงเทพ สิริชันษา 97 ปี

การนี้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงสรงศพ พระราชทานโกศแปดเหลี่ยม ฉัตรเบญจาตั้งประดับ ปี่ กลองชนะประโคม และรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์

วันที่ 5 กรกฎาคม​ พ.ศ. 2564 พลเอก หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล​ เป็นประธานในพิธี​สวดพระอภิธรรมศพ ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร

วันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2565 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

กรณียกิจ แก้

หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร ทรงปฏิบัติกรณียกิจต่าง ๆ เช่น

ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลอากาศเอกสุบิน ชิวปรีชา กรมวังผู้ใหญ่ประจำพระองค์ อัญเชิญพวงมาลัยและกระเช้าพระราชทานไปทูลถวาย หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร​, หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร​ และหม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร​ เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2562

พระทายาท แก้

หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร มีโอรสเพียงคนเดียว เกิดแต่หม่อมชมชื่น โกมารกุล ณ นคร คือ

  • หม่อมราชวงศ์พงศ์ไชยา ชยางกูร สมรสกับศรีรัตนา ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม กัณหะยูวะ) มีบุตรสองคน[3] คือ
    • หม่อมหลวงรัตนพงษ์ ชยางกูร
    • หม่อมหลวงอธิพรพงศ์ ชยางกูร


ธรรมเนียมพระยศของ
หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนกระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับกระหม่อม/เพคะ

พระเกียรติยศ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พระยศ แก้

  • 1 มกราคม พ.ศ. 2494: เรืออากาศตรี[6]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2497: เรืออากาศโท[7]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2504: นาวาอากาศตรี[8]

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ. จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ :พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, 2548. 136 หน้า. ISBN 9742217467
  2. พลอากาศเอกกำธน สินธวานนท์. กชกร สินธวานนท์, นนทบรี : บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด : พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2559. ISBN 978-616-413-050-0
  3. MGR Online, "ม.ล.อธิพรพงศ์ ชยางกูร หนุ่มหล่อ-โปรไฟล์ดี ที่น่ารู้จัก", เมเนเจอร์ออนไลน์, 21 ธันวาคม 2552
  4. 4.0 4.1 4.2 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๘ ตอนท่ ๓๓ ข หน้า ๑, ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๓๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๒ สิงหาคม ๒๕๑๗
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  7. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร