หม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
รองอำมาตย์เอก[1] หม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ (28 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2493) มีพระนามลำลองว่า ท่านชายยี่ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประสูติแต่หม่อมมาลัย (สกุลเดิม เศวตามร์) มีโสทรเชษฐาหนึ่งองค์ คือ หม่อมเจ้าอ้าย จิตรพงศ์ มีภราดาและภคินีร่วมพระบิดาอีกเจ็ดองค์
หม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ประสูติ | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 |
สิ้นชีพตักษัย | 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 (52 ปี) |
หม่อม | หม่อมอ่อน จิตรพงศ์ ณ อยุธยา |
พระบุตร | หม่อมราชวงศ์อุ่นใจ จิตรพงศ์ |
ราชสกุล | จิตรพงศ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ |
พระมารดา | หม่อมมาลัย จิตรพงศ์ ณ อยุธยา |
ในระหว่างปี พ.ศ. 2466-2467 เมื่อครั้งทรงศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ณ ประเทศอังกฤษ หม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ ทรงดำรงตำแหน่ง สภานายกสมาคม "สามัคยานุเคราะห์สมาคม" อักษรย่อว่า "สยาม" โดยมีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นเลขาธิการสมาคม
หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วได้เสด็จกลับประเทศไทย เพื่อเข้ารับราชการในกรมรถไฟแผนกทางหลวงแผ่นดิน ดังที่หม่อมเจ้าหญิงดวงจิตร จิตรพงศ์ ได้กล่าวถึงในพระนิพนธ์ป้าป้อนหลาน ความว่า "วันตรุษจีนปีหนึ่ง ท่านลุงเจริญใจ ซึ่งจากบ้านไปเรียนวิชาวิศวกรรมอยู่ที่ประเทศอังกฤษเสียแต่เด็ก ๆ เป็นเวลาถึง 12 ปีกว่า กลับมาอยู่บ้านแล้ว แต่ต้องออกไปทำราชการเรื่องตัดถนนหนทางอยู่ตามหัวเมืองเสียโดยมาก ด้วยท่านทำงานอยู่กรมรถไฟแผนกทางหลวงแผ่นดิน จึงไม่ค่อยรู้เรื่องพิธีรีตรองหรือความเป็นไปของทางบ้าน ปีนั้นท่านอยู่ เราจึงชวนท่านไปด้วยกัน ท่านร้องยี้เซ่นไหว้ผีเจ้าบ้าบออะไรกันไม่รู้ไม่เล่นด้วยดอก ไม่ไปละ ป้าพยายามชักชวนเหนี่ยวรั้งเท่าไรท่านก็ไม่ยอมไป..."[2]
เมื่อครั้งที่ยังทรงรับราชการในแผนกทางหลวงแผ่นดิน หม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ เป็นคณะทำงานร่วมกับขุนเจนจบทิศ ควบคุมการก่อสร้างสะพานโยง หรือสะพานข้ามลำน้ำงาว ซึ่งเป็นสะพานแขวนแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง เริ่มก่อสร้างก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2469 สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2471 ใช้เวลาการสร้าง 18 เดือน
หม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ ได้รับพระราชทานยศเป็น "รองอำมาตย์เอก" เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2468 ในขณะดำรงตำแหน่งนายช่างทางผู้ช่วยกรมรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม
และเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบหัวเมืองฝ่ายเหนือและมณฑลพายัพ พ.ศ. 2469 ในขณะที่เสด็จพระราชดำเนินมาประทับร้อนที่เมืองงาวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4) ทองกรอบสร่งเงิน แก่รองอำมาตย์เอกหม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ เมื่อครั้งที่ทรงรับราชการเป็นนายช่างผู้ควบคุมการก่อสร้างสะพานข้ามลำน้ำงาว จังหวัดลำปาง[3]
หม่อมเจ้าเจริญใจทรงรับอุปถัมภ์โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดน่าน คือ โรงเรียนหม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ (บ้านห้วยกานต์) อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน
หม่อมเจ้าเจริญใจ เสกสมรสกับหม่อมอ่อน จิตรพงศ์ ณ อยุธยา มีโอรสเพียงคนเดียว คือ
- หม่อมราชวงศ์อุ่นใจ จิตรพงศ์
หม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 สิริชันษา 52 ปี
พระยศ
แก้- 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2468 รองอำมาตย์เอก [4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2468 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายหน้า)[5] ดำรงราชสกุล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ป.จ.ว.
- พ.ศ. 2452 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)[6]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)[7]
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2769 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของหม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/D/3908_1.PDF
- ↑ ป้าป้อนหลาน พระนิพนธ์ในหม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์. ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์ วันที่ 14 มีนาคม พุทธศักราช 2550
- ↑ ข่าวเสด็จเลียบมณฑลพายัพ ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2469 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/D/4030.PDF
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/D/2551.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 26 หน้า 277 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/277.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/D/3908_1.PDF