หม่อมเจ้าลักษณ์เลิศ ชยางกูร

พันตรี หม่อมเจ้าลักษณ์เลิศ ชยางกูร (6 ธันวาคม พ.ศ. 2439[1] - 1 เมษายน พ.ศ. 2518) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป ประสูติแต่หม่อมละม้าย ชยางกูร ณ อยุธยา และเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

หม่อมเจ้าลักษณ์เลิศ ชยางกูร
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ6 ธันวาคม พ.ศ. 2439
สิ้นชีพตักษัย1 เมษายน พ.ศ. 2518 (78 ปี)
หม่อมหม่อมน้อมสิริ ชยางกูร ณ อยุธยา
พระบุตร3 คน
ราชสกุลชยางกูร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป
พระมารดาหม่อมละม้าย ชยางกูร ณ อยุธยา
ธรรมเนียมพระยศของ
หม่อมเจ้าลักษณ์เลิศ ชยางกูร
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนกระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับกระหม่อม/เพคะ
พันตรี หม่อมเจ้าลักษณเลิศ ชยางกูร
รับใช้กองทัพบก
ชั้นยศ พันตรี

พระประวัติ แก้

ศาสตราจารย์ พันตรี หม่อมเจ้าลักษณ์เลิศ ชยางกูร ศาสตราจารย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ทรงเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนหลวง และโรงเรียนมหาดเล็กหลวงในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่ทรงพระเยาว์

ในปี พ.ศ. 2452 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมหาดเล็กหลวง และทรงเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

พ.ศ. 2457 สำเร็จโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ได้รับพระราชทานยศเป็นนายร้อยตรีทหารบก และเสด็จไปทรงศึกษาต่อยังกรุงเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย ได้รับประกาศนียบัตรจากวิทยาลัยนายร้อย MILLITARY ACADMY OF H.T.M. THE TSAR NICHOLAS ประเทศรัสเซีย

หลังจากลาออกจากราชการทหาร ในขณะมียศ พันตรี หม่อมเจ้าลักษณเลิศ ได้เข้าเป็นอาจารย์ประจำตั้งเริ่มเปิดคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2491 และเป็นคณะกรรมการประจำคณะรัฐศาสตร์รุ่นแรกๆ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ครอบครัว แก้

หม่อมเจ้าลักษณ์เลิศ ชยางกูร เสกสมรสกับ หม่อมน้อมสิริ ชยางกูร ณ อยุธยา มีบุตรธิดา 3 คน

  1. หม่อมราชวงศ์เลิศลักษณ์ ชยางกูร ถึงแก่กรรม พ.ศ.2494
  2. หม่อมราชวงศ์เลิศลักษณา ชุติกุล (พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2555) สมรสกับนายพยง ชุติกุล มีบุตรธิดา 3 คน
    1. นายกอบศักดิ์ ชุติกุล
    2. นางสิริลักษณา คอมันตร์
    3. นายสารกิต ชุติกุล
  3. หม่อมราชวงศ์ภคพล ชยางกูร (13 กันยายน พ.ศ. 2491 - ) สมรสกับนางพรสวรรค์ ชยางกูร ณ อยุธยา มีธิดา 3 คน
    1. หม่อมหลวงลิสา ชยางกูร
    2. หม่อมหลวงอาภาริณี ชยางกูร
    3. หม่อมหลวงฉัตรวิรัชยา ชยางกูร

พระเกียรติยศ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พระยศ แก้

พระยศทางทหาร แก้

  • 24 เมษายน พ.ศ. 2474: นายพันตรี[5]

อ้างอิง แก้

  1. นราธิปประพันธ์พงศ์, กรมพระ, 2404-2474, ผู้รวบรวม. บาญชีมหามกุฏราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงรวบรวม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2468. 167 หน้า.
  2. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า 458 เล่ม 78 ตอนที่ 9 ราชกิจจานุเบกษา 23 มกราคม 2500
  3. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษหน้า 335 เล่ม 71 ตอนที่ 87 ราชกิจจานุเบกษา 29 ธันวาคม 2497
  4. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 47 หน้า 3117 วันที่ 16 พฤศจิกายน 2473
  5. พระราชทานยศทหารบก