หม่อมเจ้าพันธุประวัติ เกษมสันต์

นายพลโท หม่อมเจ้าพันธุประวัติ เกษมสันต์ (14 เมษายน พ.ศ. 2430 – 8 มิถุนายน พ.ศ. 2463) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์ละม้าย เกษมสันต์ (ราชสกุลเดิม สุริยกุล)

หม่อมเจ้าพันธุประวัติ เกษมสันต์
ประสูติ14 เมษายน พ.ศ. 2430
สิ้นชีพตักษัย8 มิถุนายน พ.ศ. 2463 (33 ปี)
หม่อมหม่อมหลวงเชื้อ เกษมสันต์
พระบุตร7 คน
ราชสกุลเกษมสันต์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์
พระมารดาหม่อมราชวงศ์ละม้าย เกษมสันต์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ไทย สยาม
แผนก/สังกัดกองทัพบกสยาม
ประจำการพ.ศ. 2452 – พ.ศ. 2463
ชั้นยศพลโท
บังคับบัญชากองทัพน้อยทหารบกที่ 1
มณฑลทหารบกกรุงเทพ

ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก และเสด็จไปทรงศึกษาวิชาทหารที่ประเทศเยอรมันจนถึง พ.ศ. 2452 จึงเสด็จกลับมารับราชการทหารที่สยาม ทรงดำรงตำแหน่งแม่ทัพน้อยกองทัพที่ 1 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกกรุงเทพฯ ผู้ช่วยจเรการช่างทหารบก

หม่อมเจ้าพันธุประวัติเสกสมรสกับหม่อมหลวงเชื้อ เกษมสันต์ (ราชสกุลเดิม ดารากร) มีโอรสธิดา 7 คน หม่อมเจ้าพันธุประวัติสิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2463 ด้วยพระโรคไข้หวัดใหญ่ สิริชันษา 34 ปี[1] ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงสรงศพ โดยโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลโท พระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) สมุหราชองครักษ์ เป็นผู้แทนพระองค์อัญเชิญน้ำหลวงสรงพระศพไปพระราชทาน[2] พระโกศราชวงศ์ ชั้นแว่นฟ้ารอง 2 ชั้น ตั้งฉัตรเครื่อง 4 คัน กับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานไตร 10 ไตร ผ้าขาวพับ 20 สดับปกรณ์ และให้มีพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม รับพระราชทานฉันเช้า 4 รูป เพล 4 รูป กับเครื่องประโคมประจำศพ กลองชนะ 10 จ่าปี่ 1 จ่ากลอง 1 แตรงอน 2 แตรฝรั่ง 2 สังข์ 1 มีกำหนด 3 วัน

พระเกียรติคุณ แก้

นายพลโท หม่อมเจ้าพันธุประวัติ เกษมสันต์ ทรงรับราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 2 และทรงดำรงตำแหน่งแม่ทัพกองทัพน้อยที่ 1 เป็นผู้มีความรู้หลักแหลม สามารถอำนวยการฝึกหัดสั่งสอนพลทหาร และฝึกฝนนายทหารให้มีความสามารถรุ่งเรืองในแบบแผนวิชาทหาร นับว่าเป็นหลักสำคัญในราชการทหารบกผู้หนึ่ง อนึ่งในการประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนี ประเทศออสเตรีย และประเทศฮังการี ทรงเป็นผู้อำนวยการในเรื่องทหารบก ช่วยเจ้าหน้าที่พระนครบาลรักษาความสงบเรียบร้อยในพระนคร เป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมคนในชาติศัตรูตลอดตั้งแต่เวลาเริ่มต้นจนถึงเวลาเนรเทศออกนอกพระราชอาณาจักร ทรงเป็นที่ปรึกษาสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี จึงทำให้หม่อมเจ้าพันธุประวัติได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2461

ตำแหน่ง แก้

  • 30 มีนาคม พ.ศ. 2454: ราชองครักษ์เวร[3]
  • – รักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 2 มณฑลนครชัยศรี
  • มิถุนายน พ.ศ. 2457: ผู้บัญชาการกองพลที่ 2 มณฑลนครชัยศรี[4]
  • 25 กันยายน พ.ศ. 2460: ราชองครักษ์พิเศษ[5]

พระยศทางทหาร แก้

  • 21 กันยายน พ.ศ. 2450: นายร้อยตรี[6]
  • 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2452: นายร้อยโท[7]
  • – นายพันโท
  • 26 เมษายน พ.ศ. 2457: นายพันเอก[8]
  • 1 สิงหาคม พ.ศ. 2457: เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรยศ[9]
  • พ.ศ. 2459: นายพลตรี[10]
  • 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2459: เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหาร[11]
  • 21 เมษายน พ.ศ. 2462: นายพลโท[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ข่าวสิ้นชีพิตักษัย
  2. ข่าวในพระราชสำนัก
  3. แจ้งความกระทรวงกลาโหม
  4. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง เลื่อนตำแหน่งนายทหารรับราชการ
  5. แจ้งความกรมราชองครักษ์ เรื่อง ตั้งราชองครักษ์พิเศษและเวร
  6. พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
  7. ส่งสัญญาบัตรทหารบกไปพระราชทาน (หน้า 731 มณฑลพิษณุโลก
  8. ตั้งตำแหน่งยศนายทหารบก
  9. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรยศนายทหาร
  10. พระราชทานยศทหารบก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2462/D/158_1.PDF
  11. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรยศทหาร
  12. พระราชทานยศทหารบก
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๑๐, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๖๓, ๒๐ มกราคม ๒๔๖๐
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราจุลจอมเกล้า, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๗๓, ๒๗ มกราคม ๒๔๖๐
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานฐานันดรแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๕, ๒ ธันวาคม ๒๔๖๑
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มราชการแผ่นดิน, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๖๘, ๒๐ มกราคม ๒๔๖๐
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๙๓, ๒๘ มกราคม ๑๓๐
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๖๘, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๕๗