หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
อำมาตย์เอก หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ (12 มิถุนายน พ.ศ. 2439 – 12 มิถุนายน พ.ศ. 2473) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ประสูติแต่หม่อมเฮียะ ไชยันต์ ณ อยุธยา
หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
![]() | |
ประสูติ | 12 มิถุนายน พ.ศ. 2439 |
สิ้นชีพตักษัย | 12 มิถุนายน พ.ศ. 2473 (34 ปี) |
ชายา | หม่อมเจ้าประโลมจิตร ไชยันต์ |
พระบุตร | 7 คน |
ราชวงศ์ | จักรี |
ราชสกุล | ไชยันต์ |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย |
พระมารดา | หม่อมเฮียะ ไชยันต์ ณ อยุธยา |
พระประวัติ
แก้ปฐมวัย
แก้หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ มีพระนามลำลอง ท่านชายถึก เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ประสูติแต่หม่อมเฮียะ ไชยันต์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ยุกตะเสวี) เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2439 ได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีโสทรกนิษฐภคินีองค์เดียว คือ หม่อมเจ้าหญิงวิมลอรรถ ไชยันต์ (1 มีนาคม พ.ศ. 2441 – 9 กันยายน พ.ศ. 2518)
เมื่อมีชันษาได้ 6 เดือน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระนามว่า "ตระนักนิธิผล" ดังพระราชหัตถเลขาพระราชทานนาม ความว่า
"ขอตั้งนามหม่อมเจ้าชาย ในกรมหมื่นมหิศรราชหฤไทย ให้มีนามว่า "หม่อมเจ้าชายตระนักนิธิผล" นาคนาม ขอจงเจริญอายุวรรณศุขพลปรฏิภาณ คุณสารสมบัติสรรพศิริสวัสดิมงคลทุกปรการเทีญ นามนี้ตั้งแต่วันที่ ๓ กุมภาพันธ รัตนโกสินทรศก ๑๑๕ ๚"
ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ประชวรหนักใกล้สิ้นพระชนม์ ทรงห่วงพระโอรส คือ หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ซึ่งยังมีชันษาเพียง 11 ปีเท่านั้น เกรงว่าจะไม่มีผู้ดูแลเกื้อหนุน จึงตรัสฝากฝังพระโอรสไว้กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระเชษฐาต่างพระมารดา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ จึงทรงรับหม่อมเจ้าตระนักนิธิผลไปทรงดูแลทีวังท่าพระ ประดุจพระโอรสอีกองค์หนึ่ง ประกอบกับพระโอรสของพระองค์คือหม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ มีชันษาไล่เลี่ยกัน จึงเป็นเพื่อนเล่นกันมาตั้งแต่นั้น
การศึกษา
แก้เมื่อเจริญชันษา ทรงเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนราชวิทยาลัย เมื่อทรงสำเร็จการศึกษา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ จึงทรงส่งหม่อมเจ้าตระนักนิธิผล พระภาติยะ ไปทรงศึกษาในสาขากฎหมาย ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร และประทับร่วมกับหม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ ณ วิทยาลัยมอดจ์ลีน หลังจากทรงสำเร็จวิชากฎหมายแล้ว ทรงศึกษาต่อในระดับเนติบัณฑิต ครั้นสำเร็จเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษแล้ว จึงได้เสด็จกลับมารับราชการในกรมอัยการ[1] กระทรวงมหาดไทย ตามลำดับดังนี้[2]
ตำแหน่ง
แก้- พ.ศ. 2462 ได้เข้ารับราชการเป็นพนักงานอัยการ ประจำกรมอัยการ รับพระราชทานยศเป็นรองอำมาตย์เอก
- 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 เป็นอำมาตย์ตรี
- 5 มีนาคม พ.ศ. 2468 เป็นอัยการมณฑลนครศรีธรรมราช
- 19 เมษายน พ.ศ. 2469 เป็นพนักงานอัยการประจำกรมอัยการ
- 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 เป็นอำมาตย์โท
- 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 รับพระราชทานยศเป็นอำมาตย์เอก พนักงานอัยการประจำกรมอัยการ
เสกสมรส
แก้หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล เสกสมรสกับหม่อมเจ้าประโลมจิตร ไชยันต์ (ราชสกุลเดิม จิตรพงศ์; พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์) มีโอรสและธิดาด้วยกัน 7 คน คือ
- หม่อมราชวงศ์เอก ไชยันต์ (ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์)
- หม่อมราชวงศ์หญิงทวี พิชัยศรทัต (เกิด 8 สิงหาคม พ.ศ. 2464[3])
- หม่อมราชวงศ์สำพันธ์ ไชยันต์ (เกิด 28 ธันวาคม พ.ศ. 2465[3])
- หม่อมราชวงศ์หญิงวิสาขา ไชยันต์ (เกิด 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2468[3])
- หม่อมราชวงศ์เฉลิม ไชยันต์
- หม่อมราชวงศ์สาฎก ไชยันต์ (2470-2511) สมรสกับมนูญศิริ ไชยันต์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ลักษณสุต) มีบุตร-ธิดา คือ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หม่อมหลวงหญิงศิริพัสตร์ ไชยันต์
- หม่อมหลวงอนุวาต ไชยันต์
- หม่อมราชวงศ์หญิงยิ่งวัน ไชยันต์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จตา เป็นผู้ประทานนามให้พระนัดดาทั้ง 7 คนนี้ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมายทั้งสิ้น เช่น หม่อมราชวงศ์วิสาขา เนื่องจากเกิดในวันวิสาขบูชาปี พ.ศ. 2468 หรือหม่อมราชวงศ์สาฎก เนื่องจากเกิดในวันที่พระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลที่ 4 ทรงบำเพ็ญพระกุศลถวายผ้าวัสสาสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำฝน) ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
สิ้นชีพิตักษัย
แก้หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ ประชวรเป็นพระยอด (ฝี) เม็ดเล็ก สิ้นชีพตักษัยในวันคล้ายวันประสูติ วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2473 สิริชันษา 34 ปี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สัสสุระ ทรงตั้งศพไว้ที่วังท่าพระ และนำไปฝังไว้ที่วัดนรนาถสุนทริการาม และพระราชทานเพลิงศพที่วัดนั้น เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2479 โดยเมรุที่ใช้ในงานพระราชทานเพลิงศพนี้ สัสสุระทรงออกแบบประทานชามาดาเป็นครั้งสุดท้ายด้วยพระองค์เอง มีลักษณะเป็น 'ปะรำใบไม้' ใช้โครงสร้างไม้ไผ่เป็นหลัก ประดับด้วยพรรณไม้หลากชนิด[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2472 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- พ.ศ. 2472 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของหม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ กฎมณเฑียรบาลพม่า[ลิงก์เสีย] สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ข่าวถึงชีพิตักษัย อำมาตย์เอก หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ กระทรวงมหาดไทย
- ↑ 3.0 3.1 3.2 นราธิปประพันธ์พงศ์, กรมพระ, 2404-2474, ผู้รวบรวม. บาญชีมหามกุฏราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงรวบรวม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2468. 167 หน้า.
- ↑ กฎมณเฑียรบาลพะม่า นับเป็นลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ภาคที่ 26 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงแปลจากภาษาอังกฤษ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ โปรดให้ตีพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ ณ วัดนรนารถสุนทริการาม วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2479