หม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล

พลตรี หม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล (12 กันยายน พ.ศ. 2464 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2545) อดีตเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศมาเลเซีย ประเทศสมาพันธรัฐสวิส และนครรัฐวาติกัน เป็นโอรสของหม่อมเจ้าจุลดิศ ดิศกุล และเป็นพระนัดดาสืบตระกูลในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมรสกับนางมัณฑนา ดิศกุล ณ อยุธยา (ราชสกุลเดิม กุญชร ณ อยุธยา) มีบุตรชายคนเดียว คือ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล

หม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล
เกิด12 กันยายน พ.ศ. 2464
เสียชีวิต22 ธันวาคม พ.ศ. 2545
มีชื่อเสียงจากก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ วังวรดิศ และเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานรางวัลวังวรดิศอาคารอนุรักษ์ดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
คู่สมรสมัณฑนา ดิศกุล ณ อยุธยา
บุตรหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล
บิดามารดา

หม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล เป็นทายาทสายตรงผู้สืบทอดดำรงรักษาวังวรดิศ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ท่านได้ทุ่มเทเวลากว่า 20 ปีภายหลังเกษียณอายุราชการในตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศมาเลเซีย สมาพันธรัฐสวิส และนครรัฐวาติกัน ในความทุ่มเท เสียสละ ไม่เคยมีความคิดโลภโมโทสันที่จะขายพื้นที่วังวรดิศหรือให้เช่าตามสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของ ทั้งที่มีผู้มาติดต่อขอซื้อขอเช่าด้วยการเสนอราคาค่างวดเป็นจำนวนมาก เป็นที่กล่าวขานกันโดยทั่วว่าคุณชายสังขดิศจะปฏิเสธด้วยความสุภาพเรียบร้อยเสมอมา หากแต่ได้ดำริก่อตั้ง 'วังวรดิศ' เป็นพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์ และเสด็จปู่ของหม่อมราชวงศ์สังขดิศ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตามที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานแนวพระราชดำริแก่เอกอัครราชทูต หม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล เมื่อครั้งที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เยี่ยมทำเนียบเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น ประเทศสมาพันธรัฐสวิส รวมทั้งการให้เป็นโรงเรียนดำรงราชานุภาพ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่ลูกหลานเยาวชน ครูอาจารย์ อีกทั้งหลักสูตร 'การเป็นคนไทยที่ดี ตามรอยพระยุคลบาท' ให้กับข้าราชการจากหลายส่วนราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ตราบจนปัจจุบัน ที่บุตรชายคนเดียว คือ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่นครุฑทองคำ ประจำปี 2553-2554 สมรสกับนางอัมพร ดิศกุล ณ อยุธยา มีบุตรชายคนเดียว คือ นายวรดิศ ดิศกุล ณ อยุธยา ได้สืบสานปณิธานของบิดาด้วยวิริยภาพ และยึดมั่นพระราชปรัชญาความพอเพียงในการครองตน ครองคน และครองงาน ความเพียร ความเจียมเนื้อเจียมตัว ความอ่อนน้อมถ่อมตน ตามคำสอนของบิดา และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพตลอดมา [1]

พลตรี หม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล ได้ถึงแก่อนิจกรรมที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ด้วยโรคเกี่ยวกับโลหิตในสมอง เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2545 สิริรวมอายุได้ 81 ปี[2] พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร อันนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าปกกระหม่อมครอบครัวทายาทพลตรี หม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล และสมาชิกในราชสกุลดิศกุล หาที่สุดมิได้

  1. พิพิธภัณฑ์วังวรดิศและหอสมุดสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ไทย แก้

ต่างประเทศ แก้

  •   สหรัฐ :
  •   สันตะสำนัก :
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ -   เครื่องอิสริยาภรณ์นักบุญเกรกอรีมหาราช ชั้นที่ 1
  •   เอธิโอเปีย :
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ -   เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาราแห่งเอธิโอเปีย ชั้นที่ 2
  •   มาเลเซีย :
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ -   เครื่องราชอิสริยาภรณ์ยัง มูเลีย ปังกวน เนการา ชั้นที่ 2
  •   เกาหลีใต้ :
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ -   เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ชั้นที่ 3
  •   ไต้หวัน :
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ -   เครื่องอิสริยาภรณ์เมฆและแบนเนอร์ ชั้นที่ 3
  •   รัฐกลันตัน, มาเลเซีย :
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ -   เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาร์จาห์ เสรี ปาดูกา จิวา มาห์โกตา ชั้นที่ 1

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2009-12-14.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-05-09. สืบค้นเมื่อ 2009-12-14.
  3. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตอนที่ 71 เล่ม 65 ราชกิจจานุเบกษา 7 ธันวาคม 2491
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕๘๙, ๙ ธันวาคม ๒๔๘๔
  5. AGO 1962-16 — HQDA GENERAL ORDER: AWARDS