หมูหย็อง
(เปลี่ยนทางจาก หมูหยอง)
หมูหย็อง (มักสะกดผิดว่า หมูหยอง)[2] เป็นของกินทำด้วยหมูเนื้อแดงปรุงรส ต้มเคี่ยวให้เปื่อยจนงวด นำไปผัดจนแห้ง ขยี้ให้เป็นฝอย มักใช้รับประทานด้วยอาหารอื่น เช่น โรยข้าวต้มหรือโจ๊ก หรือเป็นเครื่องปรุงอาหารอื่น เช่น เป็นไส้ซาลาเปาหรือเป็นหน้าข้าวตัง
แหล่งกำเนิด | ประเทศจีน[1] |
---|---|
ภูมิภาค | เอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
ชาติที่มีอาหารประจำชาติที่เกี่ยวข้อง | จีน, เวียดนาม, ไต้หวัน, สิงคโปร์, มาเลเซีย, กัมพูชา และอินโดนีเซีย |
ส่วนผสมหลัก | เนื้อหมู, เนื้อวัว หรือเนื้อไก่ |
หมูหย็อง | |||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 肉鬆 | ||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 肉松 | ||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | เนื้อปุย | ||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
ชื่อหมิ่นใต้ | |||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 肉酥 | ||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | เนื้อเกล็ด | ||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
ชื่อหมิ่นตะวันออก | |||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 肉絨 | ||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 肉绒 | ||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | เนื้อแผ่น | ||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
ชื่อฮากกา | |||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 肉麩 | ||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | เนื้อผง; เนื้อแผ่น | ||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
ชื่อภาษาเวียดนาม | |||||||||||||||||||
ภาษาเวียดนาม | ruốc (เวียดนามเหนือ) หรือ chà bông (เวียดนามใต้) | ||||||||||||||||||
ชื่อภาษาไทย | |||||||||||||||||||
อักษรไทย | หมูหย็อง | ||||||||||||||||||
อักษรโรมัน | mu yong | ||||||||||||||||||
ชื่ออินโดนีเซีย | |||||||||||||||||||
อินโดนีเซีย | abon | ||||||||||||||||||
ชื่อภาษาฟิลิปีโน | |||||||||||||||||||
ตากาล็อก | mahu หรือ masang | ||||||||||||||||||
ชื่อเขมร | |||||||||||||||||||
เขมร | សាច់ជ្រូកផាត់ sach chruok phat |
หมูหย็องกำเนิดในมณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน[1] และพบเห็นบ่อยในอาหารของชนชาตินี้
ผู้ไม่ชอบใจรับประทานสุกร เปลี่ยนไปใช้เนื้อสัตว์อื่นหย็องแทนก็มี เช่น ชาวมุสลิมนิยมรับประทานไก่หรือเนื้อหย็อง โดยเฉพาะในหน้าเราะมะฎอนและฮารีรายออีดุลฟิฏริ และจีนบางพวกนิยมปลาหย็อง
จีนเรียกหมูหย็องว่า "โร่วซง" (จีน: 肉鬆; พินอิน: ròusōng) และปลาหย็องว่า "ยฺหวีซง" (จีน: 魚鬆; พินอิน: yúsōng) ส่วนอังกฤษเรียกหมูหย็องว่า "meat wool", "meat floss", "pork floss", หรือ "pork sung"
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Grigson, Jane (January 1985), World Atlas of Food, Bookthrift Company, ISBN 978-0-671-07211-7
- ↑ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, ราชบัณฑิตยสถาน, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03, สืบค้นเมื่อ 2012-01-21