หมึกไดมอนด์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Mollusca
ชั้น: Cephalopoda
ชั้นย่อย: Coleoidea
อันดับ: Teuthida
อันดับย่อย: Oegopsina
วงศ์: Thysanoteuthidae
สกุล: Thysanoteuthis
สปีชีส์: T.  rhombus
ชื่อทวินาม
Thysanoteuthis rhombus
Troschel, 1857
ชื่อพ้อง
  • Cirrobrachium danae
    Joubin, 1933
  • Cirrobrachium filiferum
    Hoyle, 1904
  • Sepioteuthis major
    Gray, 1828
  • Thysanoteuthis elegans
    Troschel, 1857

หมึกไดมอนด์ (อังกฤษ: Diamond squid, Diamondback squid; ชื่อวิทยาศาสตร์: Thysanoteuthis rhombus) เป็นหมึกประเภทหมึกกล้วยชนิดหนึ่ง

หมึกไดมอนด์ เป็นหมึกกล้วยที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง สามารถโตเต็มที่ยาวได้ถึง 100 เซนติเมตร[1] และมีน้ำหนักได้มากถึง 30 กิโลกรัม[2] แต่น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 20 กิโลกรัม[3] หมึกไดมอนด์เป็นหมึกน้ำลึกอาศัยอยู่ในระดับน้ำที่มีความลึกกว่า 200 เมตร นับเป็นหมึกที่ไม่ค่อยจะพบเห็นได้บ่อยนัก มีจุดเด่น คือ มีหนวดสองเส้นมีลักษณะแผ่ออกคล้ายกับครีบหรือระบาย เมื่ออยู่ในน้ำลึกหรือกลางน้ำจะมีสีลำตัวสีน้ำเงิน แต่เมื่อขึ้นมาใกล้กับผิวน้ำหรือถูกจับขึ้นมาพ้นน้ำจะเปลี่ยนสีตัวเองเป็นสีแดงเข้ม [4]

หมึกไดมอนด์ เป็นหมึกที่พบได้ทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น เป็นหมึกที่มีความสำคัญทางประมงโดยเฉพาะอย่างที่ทะเลญี่ปุ่น และโอกินาวา[5] ในขณะที่บริเวณเกาะดอนซอล ในฟิลิปปินส์ ชาวพื้นเมืองที่นั่นจะเรียกหมึกไดมอนด์ว่า "คูสิท" เป็นหมึกที่สามารถขายได้ดีมีราคาสูง โดยเคยมีผู้จับได้ขนาดตัวที่มีน้ำหนักสูงสุดถึง 25 กิโลกรัม สามารถนำไปประกอบเป็นอาหารได้หลากหลาย ใช้วิธีการตกแบบพื้นเมือง คือ การออกเรือไปตั้งแต่เช้ามืด โดยใช้เบ็ดที่ไม่มีตะขอเกี่ยวกับเหยื่อล่อ คือ ปลา หย่อนลงไปในทะเลพร้อมกับไฟใต้น้ำที่เปิดกระพริบเพื่อเรียกความสนใจ เนื่องจากเมื่อหมึกไดมอนด์ฮุบเหยื่อแล้วจะไม่ลากเหยื่อไปในทิศทางต่าง ๆ เหมือนปลา แต่จะดึงขึ้นอย่างเดียว โดยสภาพที่ดีที่สุดในการจับหมึกไดมอนด์ คือ ทะเลที่มีคลื่นลม เพราะจะทำให้เหยื่อในน้ำนั้นมีการเคลื่อนไหวที่ดูเป็นธรรมชาติมากกว่าผู้ตกเคลื่อนไหว และหากจับได้แล้วตัวหนึ่ง ก็จะรีบสาวขึ้นมา เพื่อที่จะได้ตกอีกตัว เนื่องจากเป็นหมึกที่มีพฤติกรรมอาศัยอยู่กันเป็นคู่[4]

อ้างอิง แก้

  1. Roper C.F.E., M.J. Sweeney & C.E. Nauen 1984. Cephalopods of the world. Food and Agriculture Organization, Rome, Italy.
  2. Miyahara, K., K. Fukui, T. Ota & T. Minami 2006. Laboratory observations on the early life stages of the diamond squid Thysanoteuthis rhombus. Journal of Molluscan Studies 72(2): 199–205. doi:10.1093/mollus/eyi068
  3. Butler, L.-A. 2010. Enormous squid not chokka. Weekend Post, May 27, 2010.
  4. 4.0 4.1 การพัฒนา, "มหัศจรรย์พันธุ์ลึก". สารคดีทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2556
  5. Bower, John R. and K. Miyahara. 2005. The diamond squid (Thysanoteuthis rhombus): A review of the fishery and recent research in Japan. Fisheries Research 73(1–2): 1–11. doi:10.1016/j.fishres.2005.01.020

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Thysanoteuthis rhombus ที่วิกิสปีชีส์