หมึกหอม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Mollusca
ชั้น: Cephalopoda
ชั้นย่อย: Coleoidea
อันดับ: Teuthida
วงศ์: Loliginidae
สกุล: Sepioteuthis
สปีชีส์: S.  lessoniana
ชื่อทวินาม
Sepioteuthis lessoniana
(Férussac, 1831 in Lesson, 1830-1831)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ (สีเขียว)
ชื่อพ้อง
  • S. arctipinnis (Gould, 1852)
  • S. brevis (Owen, 1881)
  • S. doreiensis (Quoy, 1835 in Férussac and D'orbigny, 1834-1848)
  • S. guinensis (Quoy and Gaimard, 1832)
  • S. hemprichii (Ehrenberg, 1831)
  • S. indica (Goodrich, 1896)
  • S. krempfi (Robson, 1928)
  • S. lunulata (Quoy and Gaimard, 1832)
  • S. malayana (W�lker, 1913)
  • S. mauritiana (Quoy and Gaimard, 1832)
  • S. neoguinaica (Pfeffer, 1884)
  • S. sieboldi (Joubin, 1898)
  • S. sinensis (D'Orbigny, 1848 in Férussac and D'orbigny, 1834-1848)

หมึกหอม หรือ หมึกตะเภา (อังกฤษ: Bigfin reef squid, Soft cuttlefish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Sepioteuthis lessoniana) หมึกหอมหรือหมึกตะเภา แม้จะได้ชื่อในภาษาอังกฤษว่า Cuttlefish ซึ่งหมายถึง หมึกกระดอง แต่แท้ที่จริงแล้ว หมึกหอมเป็นหมึกในอันดับหมึกกล้วย มีลำตัวทรงกระบอก มีขนาดความยาวประมาณ 26 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดเรียวยาวกว่าตัวเมีย ครีบหรือแพนข้างตัวทั้ง 2 ด้าน มีลักษณะกว้างและแบนยาวเกือบตลอดลำตัวคล้ายหมึกในอันดับหมึกกระดอง กระดองของหมึกหอมจะเป็นแผ่นใส เห็นเส้นกลางกระดอง หนวดรอบปากมี 10 เส้น เป็นแขน 8 เส้น มีหนวดคู่ยาว 2 เส้น ที่ลำตัวมีจุดสีน้ำตาลอมแดงกระจายอยู่ทั่วไป นัยน์ตามีสีเขียว ชอบรวมกลุ่มอยู่เป็นฝูง กินสิ่งมีชีวิตและสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กเป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางคืน โดยสามารถกินอาหารได้มากถึง 30 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักตัว[1]

พบได้ทั่วไปในเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย อาศัยอยู่ตั้งแต่ผิวน้ำจนถึงหน้าดิน นิยมบริโภคเป็นอาหาร โดยการปรุงสด เนื่องจากหากินในเวลากลางคืน ชาวประมงจึงมักจับในเวลากลางคืน โดยใช้แสงไฟจากนีออนล่อ หมึกหอมสามารถสืบพันธุ์วางไข่ได้ตลอดทั้งปี โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง คือ ระหว่างปลายเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ พฤษภาคมถึงต้นเดือนกรกฎาคม และปลายเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม โดยสามารถสืบพันธุ์วางไข่ได้เมื่อมีอายุ 3-4 เดือน หลังจากการผสมพันธุ์ 1 สัปดาห์ ตัวเมียจะวางไข่ติดกับวัสดุใต้น้ำ โดยที่เพศผู้คอยว่ายน้ำ ดูแลอยู่ใกล้ ๆ ไข่ของหมึกหอมมีลักษณะคล้ายฝักมะขาม ติดกันเป็นพวง มีความดกของไข่เฉลี่ย 486-2,186 ฟอง ใช้ระยะเวลา ในการฟัก 2-3 สัปดาห์ มีความยาวลำตัวแรกฟัก 0.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 0.1-0.3 กรัม รูปร่างคล้ายกับหมึกตัวเต็มวัย [2]

อ้างอิง แก้

  1. http://bioweb.uwlax.edu/bio203/s2009/johnson_ama2/habitat.htm Sepioteuthis lessoniana Bigfin Reef Squid
  2. "ชีววิทยาและการทำประมงหมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana, Lesson) ด้วยลอบหมึก บริเวณอ่าวสิเกา จังหวัดตรัง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-11.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Sepioteuthis lessoniana ที่วิกิสปีชีส์