หน้ากากของตุตันคาเมน

หน้ากากของตุตันคาเมน หมายถึง หน้ากากทองคำของฟาโรห์ตุตันคาเมนแห่งราชวงศ์ที่ 18 (ครองราชย์ 1334–1325 ปีก่อนคริสตกาล) ของอียิปต์โบราณ ค้นพบโดยเฮาเวิร์ด คาร์เทอร์ ในหลุมฝังพระศพ เควี 62 (KV62) ในหุบเขากษัตริย์ เมื่อ ค.ศ. 1925 ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ กรุงไคโร[4] เป็นหนึ่งในผลงานศิลปะที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกและสัญลักษณ์สำคัญของอารยธรรมอียิปต์โบราณ[5]

หน้ากากของตุตันคาเมน
Mask of Tutankhamun
วัสดุทองคำ, แลพิสแลซูลี, คาร์นิเลียน, ออบซิเดียน, เทอร์คอยซ์ และแผ่นกระจก[1]
ขนาด54 × 39.3 × 49 cm
ตัวหนังสือไฮเออโรกลีฟอียิปต์
สร้างป. 1323 ปีก่อนคริสตกาล
ค้นพบ28 ตุลาคม ค.ศ. 1925[2]
ที่อยู่ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์อียิปต์, ไคโร ประเทศอียิปต์
เลขประจำตัวCarter no. 256a; Journal d'Entrée no. 60672; Exhibition no. 220[3]

หน้ากากมีลักษณะเหมือนเทพโอไซริส เทพเจ้าแห่งชีวิตหลังความตายของอียิปต์ มีความสูง 54 เซนติเมตร (1.8 ฟุต) หนักกว่า 10 กิโลกรัม (22 ปอนด์) หรือ 321.5 ทรอยออนซ์ และตกแต่งด้วยหินกึ่งมีค่า (semi-precious stones) มีคาถาโบราณจาก คัมภีร์มรณะ จารึกเป็นอักษรอียิปต์โบราณบนไหล่ของหน้ากาก มีการตั้งสมมุติฐานตั้งแต่ ค.ศ. 2001 ว่า หน้ากากชิ้นนี้เดิมทีอาจมีจุดประสงค์ทำขึ้นเพื่อฟาโรห์เนเฟอร์เนเฟรูอาเตน (Neferneferuaten)[6]

การค้นพบ แก้

ห้องฝังพระศพของตุตันคาเมนถูกพบที่สุสานทีบส์ในหุบเขากษัตริย์ในปี 1922 และเปิดในปี 1923 แต่ต้องใช้เวลาอีก 2 ปี ก่อนที่ทีมขุดค้นซึ่งนำโดยนักโบราณคดีชาวอังกฤษ เฮาเวิร์ด คาร์เทอร์ จะสามารถเปิดโลงพระศพขนาดใหญ่ที่มีมัมมี่ของตุตันคามุน เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 1925 ทีมขุดค้นได้เปิดโลงพระศพชั้นในสุดของสามโลง ซึ่งเผยให้เห็นหน้ากากทองคำที่ผู้คนเห็นเป็นครั้งแรกในรอบประมาณ 3,250 ปี คาร์เตอร์เขียนในไดอารี่ของเขาว่า:

หมุดถอดฝาถูกยกขึ้น ฉากสุดท้ายถูกเปิดเผย – มัมมี่ของกษัตริย์หนุ่มที่ห่ออย่างประณีตมาก ด้วยหน้ากากสีทองของการแสดงออกที่น่าเศร้า แต่สงบ เป็นสัญลักษณ์ของโอไซริส … หน้ากากแสดงถึงคุณลักษณะของพระเจ้า แต่อุปมาคือ Tut.Ankh.Amen – เงียบสงบและสวยงาม ด้วยลักษณะเดียวกับที่เราพบบนรูปปั้นและโลงศพของเขา หน้ากากถอยกลับเล็กน้อย จึงจ้องมองขึ้นไปบนสวรรค์[7][8]

ในเดือนธันวาคม 1925 หน้ากากถูกถอดออกจากหลุมฝังศพ วางในลังพร้อมขนส่ง 635 กิโลเมตร (395 ไมล์) ไปยังพิพิธภัณฑ์อียิปต์ในกรุงไคโร ที่ซึ่งยังคงแสดงต่อสาธารณะจนถึงปัจจุบัน

หน้ากาก แก้

หน้ากากสูง 54 ซม. (21 นิ้ว) กว้าง 39.3 ซม. (15.5 นิ้ว) และลึก 49 ซม. (19 นิ้ว) ทำจากทองสองชั้น ซึ่งมีความหนาตั้งแต่ 1.5–3 มม. (0.059–0.118 นิ้ว) และหนัก 10.23 กก. (22.6 ปอนด์)[9] ผลเอ็กซ์เรย์ที่ดำเนินการเมื่อปี 2007 เผยให้เห็นว่าหน้ากากส่วนใหญ่ทำจากทอง 23 กะรัตผสมทองแดงเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานเย็นที่ใช้ในการขึ้นรูปหน้ากาก พื้นผิวหน้ากากเคลือบด้วยโลหะผสมทองคำสองชนิดที่แตกต่างกันอย่างบางมาก (ประมาณ 30 นาโนเมตร) ได้แก่ ทองคำ 18.4 กะรัต เฉดสีอ่อนสำหรับใบหน้าและลำคอ และทองคำ 22.5 กะรัตสำหรับส่วนที่เหลือของหน้ากาก[10]

ใบหน้าแสดงถึงพระพักตร์โดยทั่วไปของฟาโรห์ ซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับรูปปั้นผู้พิทักษ์ที่ค้นพบตรงจุดอื่นในหลุมฝังพระศพ[9] สวมผ้าโพกศีรษะ เนเมส ประดับด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์งูเห่า (Wadjet) และนกแร้ง (Nekhbet) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองของตุตันคามุนเหนือดินแดนอียิปต์ตอนล่างและอียิปต์ตอนบนตามลำดับ หูถูกเจาะไว้สำหรับใส่ต่างหู ซึ่งเป็นลักษณะที่น่าจะสงวนไว้สำหรับบรรดาราชินีและเด็ก และมีให้เห็นในศิลปะอียิปต์โบราณที่หลงเหลือให้เห็นอยู่ถึงปัจจุบัน[11]

หน้ากากฝังด้วยแก้วสีและอัญมณี และรวมถึง แลพิสแลซูลี (ตาและคิ้ว), ควอตซ์ (ดวงตา), ออบซิเดียน (รูม่านตา), คาร์นิเลียน, แอมะซอไนต์, เทอร์คอยซ์ , และเครื่องเคลือบลงสี[3][12][10]

 
ด้านหลังหนัากาก

เครา แก้

ครั้งถูกค้นพบเมื่อปี 1925 เคราทองคำน้ำหนัก 2.5 กก. (5.5 ปอนด์)[13] ที่ฝังด้วยแก้วสีน้ำเงินเพื่อให้มีลักษณะคล้ายเปียถัก[10]ได้แยกออกจากหน้ากาก แต่ก็ถูกติดกลับเข้าที่คางโดยใช้เดือยไม้ในปี 1944[14]

ในเดือนสิงหาคม 2014 เคราได้หลุดออกมาขณะนำหน้ากากออกจากกล่องแสดงเพื่อทำความสะอาด เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ที่รับผิดชอบใช้กาวอีพอกซีแห้งเร็วเพื่อพยายามแก้ไข โดยปล่อยให้เคราอยู่ตรงกลาง ความเสียหายดังกล่าวสังเกตเห็นได้ในเดือนมกราคม 2015 และได้รับการซ่อมแซมโดยทีมงานชาวเยอรมัน-อียิปต์ ซึ่งทำการซ่อมแซมใหม่โดยใช้ขี้ผึ้ง ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่ชาวอียิปต์โบราณใช้[15]

คำจารึก แก้

บริเวณด้านหลังของหน้ากากและไหล่มีคาถาป้องกันจารึกด้วยอักษรไฮเออโรกลีฟอียิปต์ในแนวตั้งสิบเส้นและแนวนอนสองเส้น[9] คาถาปรากฏตัวครั้งแรกบนหน้ากากคราวราชอาณาจักรกลาง ประมาณ 500 ปี ก่อนรัชกาลฟาโรห์ตุตันคามุน จากบทที่ 151 ของคัมภีร์มรณะ[16]

ตาขวาของเจ้าเป็นบาร์ก (bark หรือ เรือศักดิ์สิทธิ์สู่แดนมรณะ) ยามกลางคืน (ของเทพสุริยัน), ตาซ้ายของเจ้าคือบาร์ก ยามกลางวัน, คิ้วของเจ้าเป็น (ของ) เอนนีด (Ennead หรือ หมู่เทพเก้าองค์ที่ชาวอียิปต์โบราณบูชา) ของเหล่าทวยเทพ, หน้าผากของเจ้าคือ (เป็นของ) อนูบิส, ต้นคอของเจ้า (เป็นของ) ฮอรัส, ปอยผมของเจ้าคือ (เป็นของ) พทาร์-โซคาร์, (เจ้าอยู่เบื้อง) หน้าโอไซริส (ตุตันคามุน), พระองค์ทอดพระเนตรขอบใจเจ้า เจ้านำพระองค์ไปสู่ทางที่ดี เพื่อพระองค์จะได้ปราบพวกของเซต ผู้เป็นศัตรูของเจ้าต่อหน้าเหล่าทวยเทพเอนนีด ในปราสาทอันยิ่งใหญ่ของเจ้าชาย ซึ่งอยู่ในเฮลิโอโปลิส … โอไซริส, กษัตริย์แห่งอียิปต์ตอนบน Nebkheperure [ชื่อบัลลังก์ของตุตันคามุน], สวรรคต, ประทานชีวิตโดยเร[17][18]

โอไซริสเป็นเทพเจ้าแห่งชีวิตหลังความตายของอียิปต์ ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าฟาโรห์ที่ได้รับการเตรียมพระศพในลักษณะของโอไซริสจะปกครองอาณาจักรแห่งความตาย ความเชื่อนี้ไม่สามารถเข้ามาแทนที่ลัทธิเก่าที่บูชาเทพสุริยะ ซึ่งเชื่อว่าฟาโรห์ที่สวรรคตแล้วจะฟื้นคืนชีพอีกครั้งในฐานะเทพสุริยะ ผู้ทรงมีพระวรกายทำด้วยทองคำและลาพิสลาซูลี การบรรจบกันของความเชื่อทั้งเก่าและใหม่นี้ ก่อให้เกิดการผสมผสานของตราสัญลักษณ์ภายในโลงพระศพและหลุมพระศพของตุตันคามุน[18]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Gâdiuță, Corina (2005). Egyptian Museum Cairo. Editura Adevărul holding. p. 106. ISBN 978-606-539-203-8.
  2. Christiane Desroches-Noblecourt (1965). Tutankhamen: Life and Death of a Pharaoh. Doubleday. p. 55. ISBN 978-0-1400-2351-0.
  3. 3.0 3.1 "Tutankhamun: Anatomy of an excavation, the Howard Carter archives". The Griffith Institute. University of Oxford. สืบค้นเมื่อ 28 November 2015.
  4. Reeves 2015, p. 511.
  5. Reeves 2015, p. 522.
  6. Marianne Eaton-Krauss (2015). The Unknown Tutankhamun. Bloomsbury Academic. p. 111. ISBN 978-1-4725-7561-6.
  7. The pins removed, the lid was raised. The penultimate scene was disclosed – a very neatly wrapped mummy of the young king, with golden mask of sad but tranquil expression, symbolizing Osiris … the mask bears that god's attributes, but the likeness is that of Tut.Ankh.Amen – placid and beautiful, with the same features as we find upon his statues and coffins. The mask has fallen slightly back, thus its gaze is straight up to the heavens.
  8. "Howard Carter's excavation diaries (transcripts and scans)". The Griffith Institute. University of Oxford. สืบค้นเมื่อ 10 April 2016.
  9. 9.0 9.1 9.2 Reeves 2015, p. 513.
  10. 10.0 10.1 10.2 Uda, M.; Ishizaki, A.; Baba, M. (2014). "Tutankhamun's Golden Mask and Throne". ใน Kondo, Jiro (บ.ก.). Quest for the Dreams of the Pharaohs: Studies in Honour of Sakuji Yoshimura. Cairo: Ministry of State for Antiquities. pp. 149–177. สืบค้นเมื่อ 12 October 2021.
  11. James Seidel (26 November 2015). "Tutankhamun's mask: Evidence of an erased name points to the fate of heretic Queen Nefertiti". News.com.au. News Corp Australia. สืบค้นเมื่อ 28 November 2015.
  12. Alessandro Bongioanni; Maria Sole Croce (2003). The Treasures of Ancient Egypt from the Egyptian Museum in Cairo. Rizzoli. p. 310. ISBN 978-0-7893-0986-0.
  13. Nevine El-Aref (22 October 2015). "Interview with German conservator Christian Eckmann". Ahram Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-22. สืบค้นเมื่อ 18 December 2015.
  14. "Does King Tut have a new barber?". Dr Zahi Hawass. Laboratoriorosso. 22 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2016. สืบค้นเมื่อ 18 December 2015.
  15. Liam Stack (16 December 2015). "Repaired King Tut mask back on display in Egypt". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 16 December 2015.
  16. "Tut exhibit: Gold death mask of Tutankhamun". Tour Egypt. สืบค้นเมื่อ 19 December 2015.
  17. Thy right eye is the night bark (of the sun-god), thy left eye is the day-bark, thy eyebrows are (those of) the Ennead of the Gods, thy forehead is (that of) Anubis, the nape of thy neck is (that of) Horus, thy locks of hair are (those of) Ptah-Sokar. (Thou art) in front of the Osiris (Tutankhamun). He sees thanks to thee, thou guidest him to the goodly ways, thou smitest for him the confederates of Seth so that he may overthrow thine enemies before the Ennead of the Gods in the great Castle of the Prince, which is in Heliopolis … the Osiris, the King of Upper Egypt Nebkheperure [Tutankhamun's throne-name], deceased, given life by Re.
  18. 18.0 18.1 Trustees of the British Museum (1972). Treasures of Tutankhamun. Thames & Hudson. pp. 154–156. ISBN 978-0-7230-0070-9.