หนังสือเศคาริยาห์
หนังสือเศคาริยาห์ (อังกฤษ: Book of Zechariah) เป็นหนังสือในศาสนายูดาห์ที่ถือกันว่าเขียนโดยเศคาริยาห์ ผู้เผยพระวจนะชาวฮีบรูในช่วงปลายศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ในคัมภีร์ฮีบรู หนังสือเศคาริยาห์เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือสิบสองผู้เผยพระวจนะน้อยซึ่งอยู่ในภาคที่สองของหนังสือฮีบรู ในพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ หนังสือเศคาริยาห์ถือเป็นหนังสือที่แยกออกมาเป็นของตนเอง
บริบททางประวัติศาสตร์
แก้เศคาริยาห์เป็นหนึ่งในสามผู้เผยพระวจนะในยุคหลังจากการพลัดถิ่น คำเผยพระวจนะของเศคาริยาห์เกิดขึ้นในรัชสมัยของกษัตริย์ดาริอัสมหาราช[1] บทที่ 1–8 ของหนังสือเศคาริยาห์อยู่ในสมัยเดียวกันกับคำเผยพระวจนะของฮัยกัย[2] ส่วนบทที่ 9–14 (มักเรียกว่าเป็นเศคาริยาห์ที่สอง) เชื่อว่าเขียนในภายหลังคือในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาลในช่วงปลายสมัยเปอร์เซียและต้นสมัยทอเลมี[3] นักวิชาการเชื่อว่าเอเสเคียลผู้ผสมผสานระเบียบแบบแผนและนิมิตเข้าด้วยกัน มีอิมธิพลอย่างมากต่องานเขียนเชิงนิมิตของเศคาริยาห์ 1–8.[4]
ในช่วงที่พลัดถิ่น ประชาชนจำนวนมากของราชอาณาจักร์ยูดาห์ถูกพาตัวไปยังบาบิโลน ซึ่งบรรดาผู้เผยพระวจนะบอกกับประชาชนในสร้างบ้านขึ้นที่นั่น[5] บอกเป็นนัยว่าพวกเขาจะต้องใช้ชีวิตเป็นเวลายาวนานที่นั่น กษัตริย์ไซรัสมหาราชพิชิตจักรวรรดิบาบิโลนใหม่ได้เมื่อ 539 ปีก่อนคริสตกาล ในปีถัดมา พระองค์ออกพระราชกฤษฎีกาไซรัส ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการกลับคืนสู่ยูดาห์ครั้งแรกโดยการนำของเชชบัสซาร์
กษัตริย์ดาริอัสขึ้นครองราชย์เมื่อ 522 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์แบ่งอาณานิคมจำนวนมากในจักรวรรดิออกเป็นแคว้น แต่แคว้นมีผู้ว่าราชการกำกับดูแล เศรุบบาเบลได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการของยูดาห์ (ซึ่งเวลานั้นเปลี่ยนเป็นแคว้น Yehud Medinata แห่งจักรวรรดิเปอร์เซีย) ในรัชสมัยของดาริอัส เศคาริยาห์ก็เริ่มเผยพระวจนะโดยเน้นไปที่การสร้างพระวิหารขึ้นใหม่ จักรวรรดิเปอร์เซียแตกต่างจากจักรวรรดิบาบิโลนตรงที่เปอร์เซียพยายามอย่างยิ่งที่รักษาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างเมืองขึ้นและเจ้านาย การสร้างพระวิหารขึ้นใหม่ได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์เปอร์เซียโดยหวังจะว่าจะทำให้ประชาชนท้องถิ่นมีความมั่นคง นโยบายนี้เป็นนโยบายที่ดีของชาวเปอร์เซีย และชาวยิวมองว่าเป็นพระพรจากพระเจ้า[6]
ผู้เผยพระวจนะ
แก้ชื่อ "เศคาริยาห์" มีความหมายว่า "พระเจ้าทรงระลึกถึง" ไม่มีรายละเอียดมากนักเกี่ยวกับประวัติของเศคาริยาห์นอกเหนือจากที่สิ่งที่อนุมานได้จากหนังสือเศคาริยาห์ คาดกันว่าอิดโดที่เป็นปู่ของเศคาริยาห์เป็นหัวหน้าของครอบครัวปุโรหิตที่กลับมาพร้อมเศรุบบาเบล[7] และเศคาริยาห์อาจเป็นทั้งปุโรหิตและผู้เผยพระวจนะ ข้อสันนิษฐานนี้ได้รับการสนับสนุนโดยความสนใจของเศคาริยาห์ในเรื่องพระวิหารและความเป็นปุโรหิต และจากการเทศนาของอิดโดในหนังสือพงศาวดาร
อ้างอิง
แก้- ↑ เศคาริยาห์ 1:1
- ↑ Carol L. Meyers and Eric M. Meyers, Haggai, Zechariah 1–8: The Anchor Bible. Garden City, Doubleday and Company Inc., 1987. ISBN 978-0-385-14482-7. Page 183.
- ↑ Nelson, Richard D. (2014). Historical Roots of the Old Testament (1200–63 BCE). SBL Press. pp. 215–216. ISBN 978-1628370065.
- ↑ Meyers, p. 30.
- ↑ Jeremiah 29
- ↑ Meyers, pp. 31–2.
- ↑ เนหะมีย์ 12:4
บรรณานุกรม
แก้- Coogan, Michael David (2009). A brief introduction to the Old Testament : The Hebrew Bible in its context. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-983011-4.
- Dempster, Stephen G., Dominion And Dynasty: A Theology Of The Hebrew Bible. Illinois: Intervarsity Press, 2003. ISBN 0-8308-2615-7
- Guthrie, Donald (ed.), New Bible Commentary. [3d ed., completely rev. and reset]. Grand Rapids, Mich.: Eerdmans Publishing Company, 1970, ISBN 0-85110-615-3.
- Stuhlmueller, Carroll, Haggai and Zechariah: Rebuilding With Hope. Edinburgh: The Handsel Press Ltd., 1988. ISBN 0-905312-75-9.
- The Student Bible, NIV. Michigan: Zondervan Publishing House, 1992. ISBN 0-310-90917-1.
- บทความนี้รวมข้อความจากสิ่งพิมพ์ที่ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติ: Easton, Matthew George (1897). "Zechariah". Easton's Bible Dictionary (New and revised ed.). T. Nelson and Sons.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- คำแปล
- Zechariah (Judaica Press) translation [with Rashi's commentary] at Chabad.org
- Online Bible at GospelHall.org (ESV, KJV, Darby, American Standard Version, Bible in Basic English)
- Zechariah หนังสือเสียงสาธารณสมบัติที่ LibriVox Various versions
- หนังสือเศคาริยาห์ ที่ยูเวอร์ชัน
ก่อนหน้า ฮักกัย |
หนังสือเศคาริยาห์ คัมภีร์ฮีบรูและ พันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ (หมวดผู้เผยพระวจนะน้อย) |
ถัดไป มาลาคี |