หญ้าถอดปล้อง
หญ้าถอดปล้อง | |
---|---|
หญ้าถอดปล้องที่สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Pteridophyta |
ชั้น: | Equisetopsida |
อันดับ: | Equisetales |
วงศ์: | Equisetaceae |
สกุล: | Equisetum |
สปีชีส์: | Equisetum ramosissimum |
สปีชีส์ย่อย: | E. debile |
ชื่อทวินาม | |
Equisetum debile Roxb. ex Vaucher |
หญ้าถอดปล้อง หญ้าถอดบ้อง หรือ หญ้าเงือก[1] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Equisetum debile) เป็นพืชในวงศ์ Equisetaceae บางครั้งหญ้าถอดปล้องถูกจัดเป็นชนิดย่อยของ Equisetum ramosissimum ในชื่อ E. ramosissimum subsp. debile กระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนใต้ของจีน อินเดีย เนปาล และศรีลังกา[2]
หญ้าถอดปล้องเป็นเฟิร์นที่มีท่อลำเลียง แต่ไม่มีดอกและเมล็ด สูงได้ถึง 1 เมตร ลำต้นกลมสีเขียว มีข้อปล้องเห็นชัดเจน ภายในลำต้นกลวง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4–7 มิลลิเมตร ใบลดรูปเป็นเกล็ดเล็ก ๆ รูปสามเหลี่ยม ยาวได้ถึง 8 มิลลิเมตร เรียงรอบลำต้นตามข้อ แต่ละข้อแตกกิ่งก้าน 2–5 กิ่ง มีส่วนสโตรบิลัสรูปกลมรีที่ปลายกิ่ง ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ภายในมีอับสปอร์ เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาล มีเหง้าใต้ดิน[3] [4]
หญ้าถอดปล้องขยายพันธุ์ด้วยการแยกเหง้าหรือใช้สปอร์ ปลูกบนดินเหนียว ระดับน้ำ 5–10 เซนติเมตร ต้องการแสงแดดรำไร[3] ต้นสดตำเป็นยาพอกบาดแผล แก้ปวดตามข้อ ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ ขับปัสสาวะ บำรุงไต[5][6] ในเนปาลใช้เป็นยารักษาโรคหิด ไข้มาลาเรีย และหนองในแท้[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ "หญ้าถอดบ้อง". ไทยรัฐ. August 20, 2019. สืบค้นเมื่อ September 3, 2020.
- ↑ 2.0 2.1 Manandhar, Narayan P. (2002). Plants and People of Nepal. Portland, Oregon, USA: Timber Press. p. 220. ISBN 978-0881925272.
- ↑ 3.0 3.1 "หญ้าถอดปล้อง (Equisetum debile)". บ้านและสวน. March 10, 2016. สืบค้นเมื่อ September 3, 2020.
- ↑ "หญ้าถอดปล้อง (Equisetum debile Roxb.)". ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-02. สืบค้นเมื่อ September 3, 2020.
- ↑ "หญ้าถอดปล้อง". สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. สืบค้นเมื่อ September 3, 2020.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "หญ้าถอดบ้อง". อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ September 3, 2020.[ลิงก์เสีย]