ส้มกบ

สปีชีส์ของพืช
ส้มกบ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Oxalidales
วงศ์: Oxalidaceae
สกุล: Oxalis
สปีชีส์: O.  corniculata
ชื่อทวินาม
Oxalis corniculata
L.

ส้มกบ ชื่อวิทยาศาสตร์: Oxalis corniculata Linn. ชื่ออื่นๆ คือ สังส้ม (แพร่) , ผักแว่น (ภาคกลาง) ,ส้มสามตา (เชียงใหม่) , ส้มดิน (แม่ฮ่องสอน) เป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ทั่วไป อยู่ในวงศ์ Oxalidaceae เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุยและชุ่มชื้น มีความสูง 2-3 นิ้ว เป็นพืชขนาดเล็ก ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ขึ้นปกคลุมผิวดินเป็นกลุ่ม มีอายุหลายปี ลำต้นเป็นไหลทอดยาวไปตามพื้นดิน ลำต้นมีขนปกคลุม ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ เกิดจากจุดเดียวกันที่ปลายก้านใบ ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ ปลายใบเว้า โคนใบแหลม ออกดอกตามซอกใบ เป็นดอกเดี่ยว กลับดอกสีเหลือง ส่วนโคนดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ออกดอกตลอดทั้งปี ติดผลเป็นฝัก มีลักษณะ 5 เหลี่ยม มีขนขึ้นปกคลุม ยาว 4-6 มิลลิเมตร เมื่อผลแก่แห้ง จะดีดเมล็ดออกมา

การขยายพันธุ์ แก้

โดยเมล็ด และมีเหง้าที่จะเลื้อยแผ่ไปตามดิน

สรรพคุณทางยา แก้

  • ต้นสดต้มน้ำดื่ม แก้ดีซ่านตัวเหลือง ใช้ล้างแผลฟกช้ำ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือตำแล้วพอกแผล พอกรากฟันที่เป็นหนอง หากเลือดกำเดาไหลใช้อุดรูจมูก คั้นเอาน้ำจากต้นสดผสมน้ำผึ้ง แก้หนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด
  • ต้นสดตำผสมเกลือ นำมาห่อผ้าขาวแล้วใช้อม แก้เจ็บคอ หรือจิบน้ำคั้นบ่อยๆ กินต้นสดผสมข้าว แก้อาการไอ หอบ แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันนาน 3 วัน เพราะส้มกบมีออกซาเลท อาจทำให้เกิดนิ่วในไตได้
  • ต้นแห้งบดแล้วต้มน้ำดื่ม แก้โรคบิด ฝีที่เต้านม ผสมกับเกลือแล้วต้มน้ำดื่ม แก้อาเจียนเป็นเลือด หรือกระอักเลือด

ข้อมูลเพิ่มเติม แก้

  • ส้มกบนี้มีพิษต่อแกะ เมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้แกะเดินโซเซ และล้มตายไปในที่สุด
  • น้ำคั้นจากต้น มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Staphylococcus aureus และแบคทีเรียแกรมบวกอื่นอีกด้วยแต่จะไม่มีผลต่อ Escherichia coli
  • ลำต้นมีกรดมาลิกในใบมีเกลือ oxalate อยู่จำนวนมากประมาณ 12% (ในน้ำหนักแห้ง) และนอกจากนี้ยังมีกรดซิตริกและกรดทาร์ทาริก อยู่เป็นจำนวนมากอีกด้วย มีแคโรทีน 3.6% แคลเซี่ยม 5.6% และวิตามินซี 125 มก.%

อ้างอิง แก้