ยานลงดวงจันทร์

(เปลี่ยนทางจาก ส่วนลงดวงจันทร์)

ส่วนลงดวงจันทร์ของโครงการอะพอลโล่ (อังกฤษ: Apollo Lunar Module; LM) เป็นส่วนลงจอดของยานอวกาศอะพอลโลสร้างโดยบริษัท กรัมเมน เพื่อโครงการอะพอลโลในการขนส่งนักบินอวกาศไปและกลับจากพื้นผิวของดวงจันทร์ โดยระหว่างปี ค.ศ. 1969–1972 ได้มีการลงจอดบนดวงจันทร์โดยยานประเภทนี้ 6 ครั้ง

ส่วนลงดวงจันทร์หรือ LM ประกอบไปด้วยส่วนสำหรับลงจอด และ ส่วนสำหรับกลับยานแม่ จะถูกนำไปสู่วงโคจรของดวงจันทร์โดยส่วนควบคุมและบริการ (Command/Service Module) ซึ่งเป็นยานอวกาศแยกต่างหากที่ทำหน้าที่ขนส่งไปและกลับจากโลกสู่ดวงจันทร์ โดยเมื่อสิ้นสุดภารกิจแล้ว ส่วนลงดวงจันทร์จะถูกปล่อยทิ้งไว้ในอวกาศ เนื่องจากถูกออกแบบสำหรับการใช้งานในอวกาศเท่านั้น จึงมีโครงสร้างและสรีระทางอากาศพลศาสตร์ที่ไม่เหมาะสมในการเดินทางหลับสู่บรรยากาศโลกโดยปลอดภัย

แม้ว่าจะประสบปัญหาล่าช้าหลายครั้งระหว่างขั้นตอนพัฒนา ส่วนลงดวงจันทร์ของโครงการอะพอลโล่ก็ได้กลายเป็นส่วนที่พิสูจน์แล้วว่าเชื่อถือได้มากที่สุดของระบบยานอวกาศอะพอลโล่-เซตเทิรน โดยไม่เคยประสบความล้มเหลวระหว่างการปฏิบัติงานที่ส่งผลกระทบต่อภารกิจเลยแม้แต่ครั้งเดียว และหนึ่งในยานรุ่นนี้ LM-7 Aquarius ก็ได้พิสูจน์แล้วว่ามีศักยภาพเกินกว่าสภาวะที่ได้ออกแบบไว้ หลังจากถูกใช้เป็นยานฉุกเฉินในการเดินทางจากดวงจันทร์สู่โลกได้สำเร็จในโครงการอะพอลโล่ 13

การฝึกอบรมนักบินอวกาศ แก้

 
ยานเพื่อการวิจัยลงจอดบนดวงจันทร์ (Lunar Landing Research Vehicle) (NASA)

เมื่อต้องการอนุญาตให้นักบินอวกาศได้มีโอกาสที่จะเรียนรู้เทคนิคของการร่อนลงจอดของยานร่อนลงจอดบนดวงจันทร์ หรือ ยานลูน่าร์ (lunar = ดวงจันทร์), นาซาจึงได้ทำสัญญากับบริษัท เบลล์ แอโรซิสเต็มส์ (Bell Aerosystems) ในปี 1964 เพื่อที่จะสร้าง ยานเพื่อการวิจัยลงจอดบนดวงจันทร์ (LLRV)

เที่ยวบินผลิตผล แก้

 
ยานลูน่าร์โมดูล อีเกิล (Lunar Module Eagle) ในอพอลโล 11 ขณะกำลังอยู่ในวงโคจรของดวงจันทร์

ยานลงจอดบนดวงจันทร์ ที่มีมนุษย์คอยบังคับดวบคุมโดยสารไปด้วยได้ร่อนลงจอดบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรก เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ปี 1969 ด้วยยานชื่อเต็มยศว่า อพอลโล 11 แอลเอ็ม อีเกิล (พญาอินทรีแห่งดวงจันทร์) อีกสี่วันต่อมา หลังจากนั้น ลูกเรือที่อยู่ภายในยานโมดูลบังคับการ ชื่อว่า "โคลัมเบีย" ก็ได้นำยานกลับสู่ผิวโลก และได้ถูกคลื่นซัดสาดกระเซ็นลงไปลอยแพเทิ้งเติ้งอยู่ในทะเลแห่งมหาสมุทรแปซิฟิก