สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในฤดูกาล 1986–87

ฤดูกาล 1986–87 เป็นฤดูกาลที่ 85 ของ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในฟุตบอลลีก และเป็นฤดูกาลที่ 12 ติดต่อกันบนลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ[1]

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ฤดูกาล 1986–87
ประธานสโมสรมาร์ติน เอ็ดเวิดส์
ผู้จัดการทีมรอน แอตกินสัน
(จนถึง 4 พฤศจิกายน)
อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน
(ตั้งแต่ 6 พฤศจิกายน)
กัปตันทีมไบรอัน ร็อบสัน
ดิวิชัน 1อันดับที่ 11
FA Cupรอบ 4
League Cupรอบที่ 3
ผู้ทำประตูสูงสุดลีก:
ปีเตอร์ ดาเวนพอร์ต (14)
ทั้งหมด:
ปีเตอร์ ดาเวนพอร์ต (16)
ผู้เข้าชมในบ้านสูงสุด54,294 vs แมนเชสเตอร์ซิตี (10 มกราคม 1987)
ผู้เข้าชมในบ้านต่ำสุด18,906 vs พอร์ตเวล (24 กันยายน 1986)
ผู้เข้าชมในบ้านเฉลี่ย40,626
สีชุดเหย้า
สีชุดเยือน
สีชุดที่ 3

ความกดดันต่อรอน แอตกินสัน ผู้จัดการทีม หลังจากที่ล้มเหลวในการลุ้นแชมป์เมื่อฤดูกาลที่แล้วยังคงอยู่หลังจากที่ยูไนเต็ดแพ้ 3 นัดแรกของฤดูกาล และถึงแม้จะมีผลงานที่ดีในช่วงไม่กี่สัปดาห์ต่อมา แต่ยูไนเต็ดก็ตกรอบลีกคัพรอบที่ 4 นัดรีเพลย์นัดที่พ่ายต่อเซาแทมป์ตัน ส่งผลให้แอตกินสันถูกปลดออกในวันที่ 4 พฤศจิกายน 1986 หลังจากคุมทีมมานานกว่า 5 ปี

อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้รับการยืนยันให้เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ของยูไนเต็ด ต่อจากแอตกินสันภายในไม่กี่ชั่วโมง โดยเขาย้ายมาจากแอเบอร์ดีน ซึ่งเขาประสบความสำเร็จอย่างมากใน 7 ฤดูกาลก่อนหน้านี้กับแอเบอร์ดีน ยูไนเต็ดฟื้นตัวได้ดีในลีกหลังจากที่เขาได้รับการแต่งตั้งและนำทีมจบอันดับที่ 11 สร้างผลงานที่น่าประทับใจรวมถึงการชนะทั้งสองเกมในลีกกับลิเวอร์พูล (ผลการแข่งขันช่วยให้เคนนี แดลกลีชเสียแชมป์ลีก) ชัยชนะในบ้าน 4–1 เหนือนิวคาสเซิลยูไนเต็ดในวันปีใหม่ปี 1987 ชัยชนะในบ้าน 2–0 เหนืออาร์เซนอล และชัยชนะ 2–0 ที่โอลด์แทรฟฟอร์ดในดาร์บีแมนเชสเตอร์ ซึ่งช่วยผลักซิตีให้ตกชั้น การชนะลิเวอร์พูลทำให้พวกเขาเป็นทีมเดียวที่ชนะลิเวอร์พูลในลีกทั้งฤดูกาล

อย่างไรก็ตาม ยูไนเต็ดจบในลีกด้วยผลงานที่น่าผิดหวังหลังการมาของเฟอร์กูสัน เริ่มด้วยการแพ้ 0–2 ในนัดแรกในฐานะผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดต่อออกซฟอร์ดยูไนเต็ดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 1986 แพ้ทั้งสองนัดในการปะทะกับวิมเบิลดันที่เพิ่งเลื่อนชั้น พ่ายแพ้ต่อนอริชซิตีที่โอลด์แทรฟฟอร์ดหลังคริสต์มาส และพ่ายแพ้ต่อทอตนัมฮอตสเปอร์ 0–4 ในช่วงใกล้จบฤดูกาล แม้ว่าในเวลาที่มีการแข่งกับทอตนัม มันเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติที่ยูไนเต็ดจะคว้าแชมป์ลีกหรือตกชั้น (ไม่มีโอกาสที่จะผ่านเข้ารอบการแข่งขันฟุตบอลสโมสรยุโรปเนื่องจากการแบนสโมสรจากอังกฤษอย่างต่อเนื่องหลังจากภัยพิบัติเฮย์เซลเมื่อ 2 ปีก่อน)

ยูไนเต็ดภายใต้การคุมทีมของเฟอร์กูสันในช่วงฤดูกาลนี้ไม่มีการเซ็นสัญญานักเตะใหม่ ใช้เพียงนักเตะในยุคของแอตกินสันทั้งหมดและดึงนักเตะเยาวชนอย่างโทนี กิลล์, แกรี วอลช์ขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่แต่ก็คาดว่าเขาจะทุ่มเงินมหาศาลสำหรับการคว้าผู้เล่นใหม่ในช่วงปิดฤดูกาล เขาจ่ายเงินให้เซลติก 850,000 ปอนด์เพื่อคว้าตัวไบรอัน แมคแคลร์ กองหน้าดาวซัลโวของเซลติก นอกจากนี้เขายังเสริมความแข็งแกร่งให้กับแนวรับโดยจ่ายเงินให้อาร์เซนอล 250,000 ปอนด์เพื่อคว้าตัววิฟ แอนเดอร์สัน ฟูลแบ็กประสบการณ์สูง ในขณะเดียวกันเขาสนใจที่จะนำมาร์ค เฮตลีย์ ของมิลานกลับมาอังกฤษ แต่เฮตลีย์เลือกเซ็นสัญญากับอาแอ็ส มอนาโก ของฝรั่งเศสแทนและคว้าแชมป์ลีกเอิง 1 สมัย เขายังยื่นข้อเสนอให้นำปีเตอร์ เบียร์ดสลีย์กลับมาที่สโมสร (เบียร์ดสลีย์เคยอยู่กับปีศาจแดงในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ) จากนิวคาสเซิลยูไนเต็ด แต่กองหน้าทีมชาติอังกฤษเลือกย้ายไปทีมลิเวอร์พูลแทนด้วยค่าตัวเป็นประวัติการณ์ของอังกฤษในขณะนั้นและประสบความสำเร็จอย่างสูงกับทีมหงส์แดง เฟอร์กูสันได้รับโอกาสให้เซ็นสัญญากับจอห์น บานส์ ปีกตัวเก่งของวัตฟอร์ด แต่เขาปฏิเสธที่จะคว้าตัวบานส์ เนื่องจากเขามั่นใจในตัวเยสเปอร์ โอลเซิน ปีกทีมชาติเดนมาร์กซึ่งอยู่ในตำแหน่งเดียวกันคือปีกซ้าย ก่อนที่บานส์จะย้ายไปลิเวอร์พูล และประสบความสำเร็จอย่างสูงกับทีมหงส์แดง

พรีซีซันและกระชับมิตร แก้

วันที่ คู่แข่ง H / A สรุป
F–A
สกอร์ ความจุ
6 สิงหาคม 1986 Fluminense H 0–0
(4–3p)
32,275
8 สิงหาคม 1986 Dynamo Kyiv N 1–1
(4–1p)
แบล็คมอร์ 27,500
10 August 1986 Ajax A 0–1 23,000
14 สิงหาคม 1986 Shamrock Rovers A 0–2 10,200
17 สิงหาคม 1986 Real Sociedad H 1–1 แบล็คมอร์ 12,826
2 กันยายน 1986 Hearts A 2–2 โอลเซน (pen.), T. Gibson 10,438
10 กันยายน 1986 Linfield A 3–0 ร็อบสัน (2), ดาเวนพอร์ต 10,919
15 ธันวาคม 1986 GCC All-Stars N 1–0 ไวต์ไซด์ 4,000
21 มกราคม 1987 Red Star Belgrade H 0–1 10,652
24 กุมภาพันธ์ 1987 Swansea City A 3–1 กิ๊บสัน, ไวต์ไซด์, ดาเวนพอร์ต 6,467
18 มีนาคม 1987 Shamrock Rovers A 1–2 ร็อบสัน 8,000
25 มีนาคม 1987 Celtic A 0–1 36,000
10 พฤษภาคม 1987 England XI H 7–2 ฮิวส์ (4; 1 pen.), มาร์ติน, กิ๊บสัน, บอนด์ (o.g.) 16,907
16 พฤษภาคม 1987 Naxxar Lions N 9–0 ไวต์ไซด์ (3), O'Brien (2), แบล็คมอร์, ดาเวนพอร์ต (pen.), Duxbury, สเตเปิลตัน 4,000

เหตุการณ์ในฤดูกาล แก้

ในช่วงปิดฤดูกาล มีการคาดเดาว่าผู้จัดการทีมรอน แอตกินสันกำลังจะถูกปลด และอเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ผู้จัดการทีมแอเบอร์ดีนจะได้รับการแต่งตั้งเข้ามาแทนที่ แอตกินสันพยายามโต้กลับและพิสูจน์ว่านักวิจารณ์คิดผิด เขาพยายามที่จะเซ็นสัญญากับเทอร์รี่ บุทเชอร์ กองหลังทีมชาติอังกฤษจากอิปสวิชทาวน์ แต่บุทเชอร์ตัดสินใจเซ็นสัญญากับเรนเจอส์ (ซึ่งคุมทีมโดยเกรอัม ซูนิสส์ อดีตกองกลางและกัปตันทีมลิเวอร์พูล)

การแข่งขันดิวิชัน 1 นัดแรกของพวกเขาเริ่มในวันที่ 23 สิงหาคม โดยแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดแพ้อาร์เซนอล 0–1 เกมลีก 3 นัดแรกของยูไนเต็ดทั้งหมดจบลงด้วยความพ่ายแพ้ ทำให้พวกเขาอยู่อันดับ 2 จากท้ายตารางในดิวิชัน 1 โดยมีเพียงแอสตันวิลลาที่อยู่ต่ำกว่าพวกเขา [2]

ในที่สุดชัยชนะในลีกนัดแรกของพวกเขาก็มาถึงในวันที่ 13 กันยายน เมื่อพวกเขาถล่มเซาแทมป์ตัน 5–1 ที่โอลด์แทรฟฟอร์ด[3] ซึ่งทำให้พวกเขาขยับจากอันดับที่ 21 มาอยู่ในอันดับที่ 19[4]

เกมลีกที่โอลด์แทรฟฟอร์ดเมื่อวันที่ 28 กันยายน ยูไนเต็ดแพ้เชลซี 0–1 ในบ้าน และที่น่าหงุดหงิดกว่านั้นคือยูไนเต็ดพลาดจุดโทษทั้งสองครั้งในนัดนั้น ครั้งแรกจากเยสเปอร์ โอลเซิน ครั้งที่ 2 จากกอร์ดอน สตรักคัน[5]

ในช่วงปลายเดือนตุลาคม จอห์น กิดแมน แบ็คขวามากประสบการณ์ย้ายไปร่วมทีมแมนเชสเตอร์ซิตี คู่แข่งร่วมเมืองของยูไนเต็ดแบบไร้ค่าตัว นอกจากนี้ยังมีความกลัวว่าแกรี เบลีย์ ผู้รักษาประตูมือหนึ่งของทีมอายุเพียง 28 ปี แต่ไม่ได้ลงสนามเกือบหนึ่งปีเนื่องจากอาการบาดเจ็บที่เข่าอาจพิจารณาแขวนถุงมือได้ในอนาคตอันใกล้นี้หากเขาล้มเหลวในการฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บ

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไม่แพ้ใคร 6 นัดติดต่อกันในลีก (นัดล่าสุดที่แพ้คือแพ้เชลซีในบ้านเมื่อวันที่ 28 กันยายน) โดยเสมอคอเวนทรีซิตี 1–1 แต่พวกเขายังคงอยู่อันดับ 4 จากท้ายตารางและการคาดเดาอนาคตของแอตกินสันในฐานะผู้จัดการทีมยูไนเต็ดยังคงดำเนินต่อไป[6]

ในที่สุดแอตกินสันก็ถูกปลดจากตำแหน่งในวันที่ 5 พฤศจิกายน โดยฟางเส้นสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อทีมของเขาแพ้ต่อเซาแทมป์ตัน 1–4 ตกรอบฟุตบอลลีกคัพในรอบที่ 3 นัดรีเพลย์ นับเป็นความพ่ายแพ้ครั้งแรกของพวกเขาในการแข่งขันนับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน และเป็นความพ่ายแพ้ที่หนักที่สุดในการแข่งขันในรอบ 18 เดือน ภายใน 24 ชั่วโมง อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ตกลงรับข้อเสนอเข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ด้วยสัญญา 4 ปี นัดแรกที่เขาคุมทีมเกิดขึ้นใน 3 วันต่อมา เมื่อสถิติไม่แพ้ใครในลีก 6 นัดของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดจบลงด้วยความพ่ายแพ้ต่อออกซฟอร์ดยูไนเต็ด 0–2 ชัยชนะนัดแรกของเขาเกิดขึ้นในลีกเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน เมื่อพวกเขาเปิดบ้านเอาชนะควีนส์พาร์กเรนเจอส์ 1–0 จากฟรีคิกของจอห์น ซิเวเบ็ก ในนาทีที่ 32 ทำให้พวกเขาขยับขึ้นมาอยู่อันดับที่ 17

ผลงานที่ดีของพวกเขายังคงดำเนินต่อไปในเดือนธันวาคมในขณะที่พวกเขาเก็บชัยชนะในเกมเยือนในลีกนัดแรกของฤดูกาลด้วยสกอร์ 1–0 เหนือลิเวอร์พูลในศึกแดงเดือดในวันบ็อกซิ่งเดย์ที่แอนฟีลด์จากประตูชัยของนอร์มัน ไวต์ไซด์ในนาทีที่ 78 มันเป็นนัดแรกที่ลิเวอร์พูลแพ้ในบ้านในฤดูกาล 1986–87 ทำให้พวกเขาขยับขึ้นมาอยู่อันดับที่ 14 นับเป็นตำแหน่งที่ดีที่สุดในลีกนับตั้งแต่แต่งตั้งเฟอร์กูสัน[7][8]

ในเกมลีกนัดถัดมา ยูไนเต็ดเปิดบ้านแพ้นอริช 0–1 จากประตูชัยของเควิน ดริงเคลล์ในนาทีที่ 80 นอกจากนี้ ไบรอัน ร็อบสันกัปตันทีมยังได้รับบาดเจ็บที่เอ็นร้อยหวาย

การแข่งขันเอฟเอคัพของพวกเขาเริ่มขึ้นในรอบที่ 3 เมื่อวันที่ 10 มกราคมที่โอลด์แทรฟฟอร์ด ในดาร์บีแมนเชสเตอร์ ซึ่งปีศาจแดงชนะ 1–0 จากประตูชัยของนอร์มัน ไวต์ไซด์ในนาทีที่ 66

4 วันหลังจากชนะศึกเอฟเอ คัพ ปีเตอร์ บานส์ผู้เล่นตำแหน่งปีกกลายเป็นผู้เล่นคนที่สองที่ย้ายไปร่วมทีมแมนเชสเตอร์ซิตี ต่อจากจอห์น กิดแมนด้วยค่าตัว 20,000 ปอนด์

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดตกรอบเอฟเอคัพรอบที่ 4 ด้วยการเปิดบ้านแพ้คอเวนทรีซิตี 0–1 เมื่อวันที่ 31 มกราคม (ต่อมาคอเวนทรีเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศและชนะทอตนัมฮอตสเปอร์ 3–2 คว้าแชมป์เอฟเอคัพสมัยแรกและสมัยเดียวของสโมสรจนถึงทุกวันนี้)

ดาร์บีแมนเชสเตอร์ครั้งที่ 110 ที่โอลด์แทรฟฟอร์ดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดชนะ 2–0 จากการทำเข้าประตูตัวเองของนิคกี รีดในนาทีที่ 62 และไบรอัน ร็อบสันในนาทีที่ 85 ทำให้พวกเขาขยับขึ้นมาอยู่อันดับที่ 10 ในขณะที่แมนเชสเตอร์ซิตี้ขยับลงไปอยู่ในอันดับที่ 19 (ตำแหน่งเพลย์ออฟตกชั้น)[9][10]

ต่อมาในเดือนนั้น อเล็กซ์ เฟอร์กูสันแสดงความสนใจที่จะนำมาร์ก ฮิวส์ อดีตผู้ทำประตูสูงสุดของสโมสรกลับมาที่โอลด์แทรฟฟอร์ด หลังจากที่เขามีฟอร์มการเล่นที่น่าผิดหวังกับบาร์เซโลนา

มีการวางแผนขยายสนามโอลด์แทรฟฟอร์ด ให้เป็นสนามฟุตบอลสมัยใหม่ระดับโลกให้มีลักษณะคล้ายกับสนามกัมนอว์ ของบาร์เซโลนา

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดชนะแบบไป–กลับในศึกแดงเดือดเมื่อวันที่ 20 เมษายน ด้วยการชนะ 1–0 เหนือลิเวอร์พูลที่โอลด์แทรฟฟอร์ด จากประตูชัยของปีเตอร์ ดาเวนพอร์ตในนาทีที่ 88

แกรี เบลีย์ ผู้รักษาประตูมือ 1 ของสโมสร ประกาศแขวนถุงมือเมื่อวันที่ 23 เมษายน หลังจากที่ไม่สามารถรักษาอาการบาดเจ็บที่เข่าได้เต็มที่ ซึ่งเขาได้รับเมื่อ 17 เดือนก่อนหน้านี้

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดจบฤดูกาลด้วยการชนะในบ้าน 3–1 เหนือแอสตันวิลลาตกชั้น[11] โดยได้ประตูจากเคลย์ตัน แบล็กมอร์ในนาทีที่ 55, ไมค์ ดักซ์บิวรี ในนาทีที่ 63 และไบรอัน ร็อบสันในนาทีที่ 65 ซึ่งจบอันดับที่ 11 – นับเป็นอันดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ที่พวกเขาตกชั้นจากดิวิชัน 1 เมื่อ 13 ปีที่แล้ว[12]

คริส เทิร์นเนอร์ ผู้รักษาประตู และแกรม ฮ็อกก์ กองหลัง ถูกขึ้นบัญชีขายเมื่อจบฤดูกาล

ยูไนเต็ดยื่นข้อเสนอเพื่อคว้าตัวไบรอัน แมคแคลร์ กองหน้าเซลติกและทีมชาติสกอตแลนด์ วัย 24 ปี เช่นเดียวกับมาร์ก เฮตลีย์ กองหน้าของเอซี มิลานและทีมชาติอังกฤษ วัย 26 ปี มีการยื่นข้อเสนอทำลายสถิติให้กับปีเตอร์ เบียร์ดสลีย์ กองหน้านิวคาสเซิ่ลยูไนเต็ดและทีมชาติอังกฤษ ซึ่งเคยเล่นช่วงสั้น ๆ และไม่ประสบความสำเร็จที่โอลด์แทรฟฟอร์ดเมื่อ 5 ปีก่อน

เฟอร์กูสัน คว้าตัววิฟ แอนเดอร์สัน กองหลังมากประสบการณ์ของอาร์เซนอล ด้วยค่าตัว 250,000 ปอนด์ เป็นการเซ็นสัญญาผู้เล่นคนแรกในยุคของเฟอร์กูสัน แฟรงค์ สเตเปิลตัน กองหน้าตัวเก่ง ย้ายออกจากโอลด์แทรฟฟอร์ดในช่วงซัมเมอร์นั้นไปยังอายักซ์ด้วยค่าตัว 100,000 ปอนด์

ในที่สุด ไบรอัน แมคแคลร์ก็ตกลงเซ็นสัญญากับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดด้วยค่าตัว 850,000 ปอนด์ เป็นการเซ็นสัญญาผู้เล่นคนที่สองในยุคของเฟอร์กูสัน ในขณะที่เบียร์ดสลีย์ย้ายไปร่วมทีมลิเวอร์พูลด้วยค่าตัวเป็นสถิติระดับชาติในเวลานั้นด้วยค่าตัว 1.9 ล้านปอนด์ และเฮตลีย์ปฏิเสธและย้ายไปร่วมทีมอาแอ็ส มอนาโก

ยูไนเต็ดยังพยายามเซ็นสัญญากับเควิน ดริงค์เคลล์ กองหน้านอริช แต่เขาปฏิเสธเงื่อนไขของอเล็กซ์ เฟอร์กูสัน และตัดสินใจอยู่ที่แคร์โรว์โรดต่อ

ทีม แก้

สถิติเฉพาะในลีก
หมายเลขในวงเล็บคือในฐานะตัวสำรอง
ตำแหน่ง ชื่อ ลีก
นัด ประตู
ผู้รักษาประตู   แกรี เบลีย์ 5 0
  คริส เทิร์นเนอร์ 23 0
  แกรี วอลช์ 14 0
กองหลัง   อาร์เธอร์ อัลบิสตัน 19 (3) 0
  เคลย์ตัน แบล็กมอร์ 10 (2) 1
  จอห์น ซิเวเบ็ค 27 (1) 1
  พอล แมคกราธ 34 (1) 2
  เควิน มอรัน 32 (1) 0
  โคลิน กิ๊บสัน 24 1
  บิลลี การ์ตัน 9 0
  เกรอัม ฮอกก์ 11 0
  ไมค์ ดักซ์บิวรี 32 1
กองกลาง   ไบรอัน ร็อบสัน (กัปตันทีม) 29 (1) 7
  กอร์ดอน สตรักคัน 33 (1) 4
  เยสเปอร์ โอลเซิน 22 (6) 3
  เลียม โอ ไบรอัน 9 (2) 0
  โทนี กิลล์ 1 0
  ปีเตอร์ บานส์ 7 0
  เรมี โมเสส 17 (1) 0
กองหน้า   นอร์มัน ไวต์ไซด์ 31 8
  แฟรงค์ สเตเปิลตัน 25 (9) 7
  นิคกี วูด 2 0
  เทอรี กิ๊บสัน 12 (4) 1
  ปีเตอร์ ดาเวนพอร์ต 34 (5) 14

ซื้อขายนักเตะ แก้

ย้ายออก แก้

วันที่ ตำแหน่ง ผู้เล่น ไป ค่าตัว หมายเหตุ
ตุลาคม 1986 เซ็นเตอร์แบ็ก จอห์น กิดแมน   แมนเชสเตอร์ซิตี ไม่มีค่าตัว
14 มกราคม 1987 ปีก ปีเตอร์ บานส์   แมนเชสเตอร์ซิตี 20,000 ปอนด์
23 เมษายน 1987 ผู้รักษาประตู แกรี เบลีย์ แขวนถุงมือเลิกเล่น เนื่องจากได้รับบาดเจ็บที่เข่า

อ้างอิง แก้

  1. "Manchester United Season 1986/87". StretfordEnd.co.uk. สืบค้นเมื่อ 21 December 2011.
  2. http://www.manchesterunited-mad.co.uk/footydb/loadgen.asp?Day=30&Month=Aug&ssnno=116&teamno=356
  3. "Results Fixtures 1986-1987 Manchester United - Manchester United FC - United Mad". Manchester United Mad. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
  4. http://www.manchesterunited-mad.co.uk/footydb/loadgen.asp?Day=13&Month=Sep&ssnno=116&teamno=356
  5. "The Sydney Morning Herald - Google News Archive Search".
  6. http://www.manchesterunited-mad.co.uk/footydb/loadgen.asp?Day=01&Month=Nov&ssnno=116&teamno=356
  7. "Results Fixtures 1986-1987 Manchester United - Manchester United FC - United Mad". Manchester United Mad. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
  8. "Snapshot Tables 1986-1987 26 Dec Manchester United - Manchester United FC - United Mad". Manchester United Mad. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
  9. "Results Fixtures 1986-1987 Manchester United - Manchester United FC - United Mad". Manchester United Mad. 23 May 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2015. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
  10. "Snapshot Tables 1986-1987 7 Mar Manchester United - Manchester United FC - United Mad". Manchester United Mad. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
  11. http://www.manchesterunited-mad.co.uk/footydb/loadtmrs.asp?ssnno=116&teamno=356
  12. "Snapshot Tables 1986-1987 9 May Manchester United - Manchester United FC - United Mad". Manchester United Mad. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.