สโมสรฟุตบอลเอ็มเอชคอน สุราษฎร์ฯ ซิตี้
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สโมสรฟุตบอลเอ็มเอชคอน สุราษฎร์ฯ ซิตี้ สโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับไทยลีก 3 (โซนภาคใต้) ใช้สนามกีฬาเทศบาลตำบลบ้านส้องเป็นสนามเหย้า
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลเอ็มเอชคอน สุราษฎร์ฯ ซิตี้ MHKhon Surat City football club |
---|---|
ฉายา | ด้ามขวานพิฆาต |
ก่อตั้ง | 2010 2016 ( ในชื่อสินธนา กบินทร์บุรี เอฟซี ) 2017 (ในชื่อ สุราษฎร์ธานี ซิตี้) 2021 (ในชื่อ เอ็มเอชคอน สุราษฎร์ฯ ซิตี้) | ( ในชื่อกบินทร์บุรี เอฟซี )
สนาม | สนามกีฬาเทศบาลตำบลบ้านส้อง |
ประธาน | มณฑล ณ นคร |
ผู้ฝึกสอน | ใหญ่ นิลวงษ์ |
ลีก | ไทยลีก 3 |
2564–65 | ไทยลีก 3 โซนภาคใต้, อันดับที่ 5 |
การก่อตั้งแก้ไข
สโมสรฟุตบอลสุราษฎร์ธานี ซิตี้ เดิมใช้ชื่อ กบินทร์บุรี เอฟซี ฉายา หนุมานชนะศึก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 เป็นหนึ่งในสามของสโมสรที่เข้าร่วมโครงการนำร่อง 2 ทีม ต่อ 1 จังหวัด นอกเหนือไปจาก เชียงราย เอฟซี และ หาดใหญ่ เอฟซี ในส่วนของสัญลักษณ์สโมสรนั้น ได้มีการใช้หนุมาน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี และใช้สนามน้อมเกล้ามหาราชเป็นสนามเหย้า และได้เข้าร่วมการแข่งขันลีกภูมิภาคดิวิชั่น 2 ภาคกลางและตะวันออก เป็นครั้งแรก ในปีเดียวกัน โดยใช้ผู้เล่นที่เป็นเยาวชนในพื้นที่อำเภอกบินทร์บุรี โดยมีผู้สนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานท้องถิ่น ผู้ใหญ่ในพื้นที่ พ่อค้า และประชาชน ในพื้นที่และใกล้เคียง
ปี 2555 สโมสรได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ กบินทร์ ซิตี้ และในฤดูกาลนั้นเอง กบินทร์ ซิตี้ จบฤดูกาลในอันดับที่ 18 (จากทั้งหมด 18 ทีม) ลงเล่น 34 นัด ชนะ 1 นัด เสมอ 5 นัด และแพ้ 28 นัด มี 8 คะแนน ทำประตูได้ 16 ประตู เสียไป 84 ประตู
ปี 2556 สโมสรฟุตบอลกบินทร์ ซิตี้ ได้พักทีมไป และต่อมาได้มีข้อพิพาทเรื่องสิทธิ์การทำทีมกับ สโมสรฟุตบอลกบินทร์บุรี ยูไนเต็ด โดยสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้ยืนยันว่า สโมสรฟุตบอลกบินทร์บุรี ยูไนเต็ด และสโมสรฟุตบอลกบินทร์ ซิตี้ เป็นคนละสิทธิ์กัน[1]
ปี 2559 สโมสรได้กลับมาแข่งขันอีกครั้ง ในชื่อ สโมสรสินธนา กบินทร์บุรี เอฟซี ในศึกเอไอเอสลีก ดิวิชั่น2 โซนกรุงเทพตะวันออก
ปี 2560 ฝ่ายจัดการแข่งขันได้มีการจัดระบบลีกใหม่[2] สโมสรจึงได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ สโมสรฟุตบอลสุราษฎร์ธานี ซิตี้ และย้ายลงมาทำการแข่งขันใน ไทยลีก 4 โซนภาคใต้
สนามและที่ตั้งแก้ไข
พิกัด | ที่ตั้ง | สนาม | ความจุ | ปี |
---|---|---|---|---|
8°37′59″N 99°22′30″E / 8.633091°N 99.374869°E | อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี | สนามกีฬาเทศบาลตำบลเวียงสระ | 2,000 | พ.ศ. 2560 |
ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาลแก้ไข
ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอ คัพ | ลีก คัพ | ผู้ยิงประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | คะแนน | อันดับ | ชื่อ | จำนวนประตู | |||
2564–65 | ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ | 24 | 12 | 4 | 8 | 28 | 18 | 40 | อันดับที่ 5 | รอบ 64 ทีมสุดท้าย | รอบคัดเลือกรอบสอง | อาเรมู คาซิม | 8 |
แชมป์ | รองแชมป์ | อันดับที่สาม | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
ผู้เล่นชุดปัจจุบันแก้ไข
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
สถิติต่างๆของสโมสรแก้ไข
- ในฤดูกาล 2562 สโมสรสามารถผ่านเข้าถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายของ ช้าง เอฟเอคัพ 2562 [3]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ด่วน! กบินทร์ ซิตี้ ร้องศาลปกครองคุ้มครองหลัง กบินทร์ ยูฯ ได้สิทธิ์หวดดี 2 วันนี้
- ↑ OFFICIAL : ส.บอลพลิกโฉมไทยลีกใหม่ เปลี่ยนโลโก้,ชื่อลีก,เพิ่มโควต้าอาเซียน
- ↑ "มันแน่!เมืองทองบู๊ท่าเรือ16ทีมเอฟเอคัพ บุรีรัมย์-เชียงรายงานเบา". siamsport.co.th. 21 มิถุนายน 2562. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2562. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
บทความเกี่ยวกับกีฬา นักกีฬา หรือทีมกีฬานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิกีฬา |