สโมสรฟุตบอลอุบล ครัวนภัส

สโมสรฟุตบอลอุบล ครัวนภัส หรือ อุบล ครัวนภัส เอฟซี เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันแข่งขันในระดับ ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อุบล ครัวนภัส เอฟซี
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลอุบล ครัวนภัส เอฟซี
ฉายาพยัคฆ์ร้ายแห่งแม่น้ำมูล
ก่อตั้งพ.ศ. 2555
(ในชื่อ อุบลราชธานี เอฟซี)
สนามสนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หรือ Ubru Happiness Stadium
(ความจุ:2,500 ที่นั่ง)
เจ้าของบริษัท อุบลราชธานี เอฟซี จำกัด
ประธานพงษ์ศักดิ์ มูลสาร[1]
ผู้จัดการพ.ต.ท.อัครพงษ์ สอนสุภาพ
ผู้ฝึกสอนเฉลิมขวัญ เหรียญทอง
ลีกไทยลีก 3
2566–67ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, อันดับที่ 6
สีชุดทีมเยือน

อุบล ครัวนภัส เอฟซี เป็นทีมฟุตบอลในนามจังหวัดอุบลราชธานี ที่ก่อตั้งมายาวนาน จะยังคงเดินหน้าทำทีมต่อไป โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัท ครัวนภัส ผลิตภัณฑ์อาหาร จํากัด โดย นายธงชัย ตั้งมิ่งชัย กรรมการผู้จัดการ เข้ามาสนับสนุน

บริษัท ครัวนภัส ผลิตภัณฑ์อาหาร จํากัด เป็นบริษัทที่มีที่ตั้งโรงงานในจังหวัดอุบลราชธานี ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าประเภทน้ำจิ้มและซอสปรุงรส รายใหญ่ของประเทศไทย ดังนั้นจึงต้องให้การสนับสนุนทีมฟุตบอลของจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเติมความสุขให้กับแฟนบอลชาวอุบลได้ชมได้เชียร์ทีมฟุตบอลบ้านเกิด

สโมสรส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2553 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลอุบล ไทเกอร์ เคยสร้างผลงานคว้าอันดับ 1 ของโซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2557 ในชื่อ อุบล ยูเอ็มที เอฟซี

ปัจจุบันสโมสรใช้สนามมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี เป็นสนามเหย้า

ประวัติสโมสร

แก้

อุบล ไทเกอร์

แก้

ในปี พ.ศ. 2552 สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดอุบลราชธานี ได้สร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพของจังหวัดอุบลราชธานีขึ้นมาเป็นครั้งแรก คือ สโมสรฟุตบอลอุบล ยูไนเต็ด โดยส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันใน ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2552 แต่ได้เกิดปัญหาต่างๆขึ้นภายในทีม จึงทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้จนจบฤดูกาลและมีการขอถอนทีมออกจากการแข่งขัน ก่อนจะยุบทีมไปในเวลาต่อมา

ต่อมา สโมสรฟุตบอล อุบล ไทเกอร์ เอฟซี ได้เปิดตัวสโมสร เมื่อเวลา 16.30 น.ของวันที่ 22 มกราคม 2553 ที่สนามกีฬากลาง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี ส.ส.ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ เป็นประธานสโมสร ภายหลังจากมีพิธีเปิดตัวสโมสรแล้วได้มีการอุ่นเครื่องระหว่างทีมสโมสรอุบลไทเกอร์เอฟซีกับทีมสโมสรบีอีซี-เทโรศาสน โดยในนัดนี้มีแฟนบอลชาวจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียงให้ความสนใจเข้าร่วมชมเป็นจำนวนมาก ซึ่งในเกมการแข่งขันเป็นไปด้วยความสูสี จบเกมทีมสโมสรอุบลไทเกอร์เอฟซีเสมอกับทีมสโมสรบีอีซี-เทโรศาสนไปแบบไม่มีสกอร์ โดยนัดแรกที่ทำการแข่งขันในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 ทีมสโมสรอุบลไทเกอร์เอฟซี เอาชนะทีมสโมสรมุกดาหารเอฟซี 3-2

อุบลราชธานี เอฟซี

แก้

สโมสรฟุตบอลจังหวัดอุบลราชธานี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2555 เปิดตัวสโมสรเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 ณ ลานเทียน ทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี โดยนายพงษ์ศักดิ์ มูลสาร นายกสมาคมกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี ดำรงตำแหน่งประธานสโมสร โดยมีชื่อทีมฟุตบอลของสโมสร คือ “อุบลราชธานี เอฟซี (Ubon Ratchathani FC)” มี นายณรงค์ศักดิ์ คุรุพันธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี ดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการทีม โดยนัดแรกที่ทำการแข่งขันในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555 ทีมสโมสรฟุตบอลอุบลราชธานี เอฟซี เสมอทีมสโมสรฟุตบอลอำนาจเจริญ ทาวน์ 1-1

อุบล ยูเอ็มที เอฟซี

แก้

เมื่อเดือนธันวาคม 2555 ได้มีการเปลื่ยนชื่อทีมเปลี่ยนจาก อุบลราชธานี เอฟซี เป็น "อุบล ยูเอ็มที เอฟซี" หรือ "UBON UMT FC" แต่ชื่อสโมสรยังคงเป็น "สโมสรฟุตบอลอุบลราชธานี"

อุบลราชธานี เอฟซี และการแยกตัวของอุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด

แก้

ปี พ.ศ. 2558 ผศ.ดร.วีระศักดิ์ จินารัตน์ อดีตประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของสโมสรฟุตบอลอุบล ยูเอ็มที เอฟซี และเป็นอธิการบดีกิตติคุณของมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น หรือ ยูเอ็มที ได้ยื่นเรื่องขอก่อตั้งสโมสรฟุตบอลอุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด ไปยังสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยและได้รับการอนุมัติ จึงได้ก่อตั้งสโมสรขึ้นมาใหม่ โดยแยกตัวออกมาจากสโมสรฟุตบอลอุบล ยูเอ็มที เอฟซีอย่างเป็นทางการ และเริ่มส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2558 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสโมสรฟุตบอลอุบล ยูเอ็มที เอฟซี ได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น สโมสรฟุตบอลอุบลราชธานี เอฟซี และยังคงเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2558 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[2]

อุบล ครัวนภัส เอฟซี

แก้

เดือนธันวาคม ปี 2562 ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก อุบลราชธานี เอฟซี เป็น "อุบล ครัวนภัส เอฟซี" หลังจากได้ บริษัท ครัวนภัส ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้ากลุ่มน้ำจิ้ม รายใหญ่ของประเทศไทย ซึ่งเดิมเป็นผู้สนับสนุนเดิมอยู่แล้ว เข้ามาสนับสนุนหลักในฤดูกาลถัดมา ทำให้คณะกรรมการสโมสรมีมติให้เพิ่มชื่อ เพื่อเป็นเกียรติ และแสดงความขอบคุณผู้สนับสนุนดังกล่าว

สนามฝึกซ้อมและแข่งขัน

แก้

ปัจจุบันสโมสรใช้สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี เป็นสนามเหย้า และมีสนามฝึกซ้อมรวมถึงศูนย์ฝึกฟุตบอลระดับเยาวชนอยู่ที่ หมู่บ้านท่ากกเสียว ตำบลบุ่งไหม อำเภอวารินชำราบ

พิกัด ที่ตั้ง สนาม ความจุ ปี

15°15′06″N 104°50′53″E / 15.251805°N 104.847969°E / 15.251805; 104.847969

ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง จ.อุบลราชธานี
สนามกีฬาโรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2553

15°7′4.95″N 104°54′4.95″E / 15.1180417°N 104.9013750°E / 15.1180417; 104.9013750

ตำบลเมืองศรีไค
อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
สนามกีฬากลาง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ. 2554

15°15′06″N 104°50′53″E / 15.251805°N 104.847969°E / 15.251805; 104.847969

ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง จ.อุบลราชธานี
สนามกีฬาโรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2555–2559
15°7′4.95″N 104°54′4.95″E / 15.1180417°N 104.9013750°E / 15.1180417; 104.9013750 ตำบลเมืองศรีไค
อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
สนามกีฬากลาง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ. 2560

15°15′06″N 104°50′53″E / 15.251805°N 104.847969°E / 15.251805; 104.847969

ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง จ.อุบลราชธานี
สนามกีฬาโรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2561–2563
ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง จ.อุบลราชธานี
สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2,500 ที่นั่ง พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน

ทำเนียบผู้ฝึกสอน

แก้
ชื่อ สัญชาติ ตั้งแต่ ถึง ความสำเร็จ
นัฏฐพร มหาราช   กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เมษายน พ.ศ. 2555
ณรงค์ศักดิ์ คุรุพันธ์   เมษายน พ.ศ. 2555 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ชาติกล้า ทรัพย์ทรงพล   พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ตุลาคม พ.ศ. 2555
บทชาย พ้นยาก   ตุลาคม พ.ศ. 2555 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ณรงค์ศักดิ์ คุรุพันธ์   มิถุนายน พ.ศ. 2556 กันยายน พ.ศ. 2556
ชาติกล้า ทรัพย์ทรงพล   กันยายน พ.ศ. 2556 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ณรงค์ สุวรรณโชติ   พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ธันวาคม พ.ศ. 2557 อันดับ 1, ดิวิชั่น 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูกาล 2557
เฉลิมขวัญ เหรียญทอง   กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
ศุภรัตน์ มูลโต   พฤษภาคม พ.ศ. 2558 มีนาคม พ.ศ. 2560 รองแชมป์, ดิวิชั่น 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูกาล 2559
รอบแชมป์เปี้ยนลีก (เพลย์ออฟ 16 ทีมสุดท้าย)
ณรงค์พร เฉยไธสงโชดก   มีนาคม พ.ศ. 2560 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ชวพณ กมลสินธุ์   มิถุนายน พ.ศ. 2560 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
ธนา ชะนะบุตร   พฤษภาคม พ.ศ. 2564 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
กิตติยุทธ พุทธครู   สิงหาคม พ.ศ. 2565 มีนาคม พ.ศ. 2566
เฉลิมขวัญ เหรียญทอง   มิถุนายน พ.ศ. 2566

ผู้เล่น

แก้

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK   ราชณศักดิ์ บัวระภา
2 DF   กิตติภูมิ บุญสูง
3 DF   อิสระภาพ แสนเทพ
4 DF   สัจจา แสงสุวรรณ (กัปตันทีม)
5 MF   ชัชวาลย์ ทิพฤาชา
6 MF   วันไชยา เจริญลอย
7 MF   ภคนันท์ มีชื่อ
8 MF   เทิดศักดิ์ ชามาตย์
9 FW   จิบริล อาบูบาการ์
10 FW   ฐภพภณ บุตรแก้ว
11 FW   ออสการ์ ปลาเป
14 FW   ทักษ์ดนัย ผามจุงกุง
15 DF   พีรพล ทองล้วน
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
16 FW   ยุทธภูมิ หนูสลุง
17 DF   พิทักษ์พงษ์ ไชยโพธิ์
19 MF   วิษณุ เชิดชู
20 DF   พงศภัค โกศลานนท์
21 FW   เดชาวัต บุญสาร
22 GK   นาวิน ทานาฤทัย
23 GK   ศิริศักดิ์ แก้วกอ
25 MF   นนฑวัฒน์ ลัดดา
26 DF   วัฒนา ทองคำ
28 DF   ศุภโชค เหมือนมนัส
29 DF   ทนงศักดิ์ สุขสุพรรณ
35 DF   นาตัน กาบันกูว์

ผลงานตามฤดูกาลแข่งขัน

แก้
ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ลีก 3 คัพ ผู้ทำประตูสูงสุด หมายเหตุ เข้าแข่งขันในชื่อ
การแข่งขัน แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย แต้ม อันดับ ชื่อ ประตู
2553 ดิวิชั่น2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 30 8 5 17 28 47 29 14 ไม่ได้เข้าร่วม QR สุรศักดิ์ ทองแกะ 8 อุบล ไทเกอร์
2554 ดิวิชั่น2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 30 3 9 18 30 64 18 15 ไม่ได้เข้าร่วม QR1 โฟคู คริสเตียน 11 อุบล ไทเกอร์
2555 ดิวิชั่น2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 30 2 11 17 23 55 17 16 ไม่ได้เข้าร่วม QR1 มานะศักดิ์ อินเสาร์, คณิต ไกยกิจ 3
2556 ดิวิชั่น2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 30 14 9 7 41 29 51 3 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม เดวิด สร้างนานอก 14 อุบล ยูเอ็มที เอฟซี
2557 ดิวิชั่น2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 26 19 5 2 84 23 62 1 ไม่ได้เข้าร่วม R1 เอลวิส จ็อบ 25 อุบล ยูเอ็มที เอฟซี
ดิวิชั่น2 ชปล. 10 4 2 4 21 15 14 4 เอลวิส จ็อบ 5 อุบล ยูเอ็มที เอฟซี
2558 ดิวิชั่น2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 34 15 12 7 52 36 57 7 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม คิม จี ฮุน 18
2559 ดิวิชั่น2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 26 15 8 3 47 28 53 2 ไม่ได้เข้าร่วม QR1 บูบ้า อับโบ้ 12
ดิวิชั่น2 ชปล. 2 0 0 2 0 5 0 รอบแรก
2560 ไทยลีก 3-ตอนบน 19 5 7 7 28 31 22 10 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม
2561 ไทยลีก 3-ตอนบน 26 9 5 12 29 36 32 6 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม
2562 ไทยลีก 3-ตอนบน 24 8 6 10 23 35 30 7 ไม่ได้เข้าร่วม รอบเพลย์ออฟ
2563–64 ไทยลีก 3 15 8 3 4 25 21 27 4 ไม่ได้เข้าร่วม รอบเพลย์ออฟ
2564–65 ไทยลีก 3 24 13 3 8 45 25 42 4 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม ออสการ์ ปลาเป 13 อุบล ครัวนภัส
2565–66 ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 24 11 5 8 35 30 38 5 ไม่ได้เข้าร่วม รอบคัดเลือกรอบแรก ออสการ์ ปลาเป 17 อุบล ครัวนภัส
2566–67 ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 24 11 7 6 42 21 40 6 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม รอบ 32 ทีมสุดท้าย อนุรักษ์ มุ่งดี 9 อุบล ครัวนภัส
2567–68 ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รอบคัดเลือกรอบสอง
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่ 3 เลื่อนชั้น ตกชั้น

เจ้าหน้าที่สโมสร

แก้
ตำแหน่ง ชื่อ
ประธานสโมสร   พงษ์ศักดิ์ มูลสาร
ผู้จัดการทีม   วุฒิชัย ทองเถาว์
หัวหน้าผู้ฝึกสอน   เฉลิมขวัญ เหรียญทอง
ผู้ฝึกสอน   ทนงศักดิ์ สุขสุพรรณ
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู   วีระพงษ์ ไชยพันธ์
นักวิทยาศาสตร์การกีฬา   นริศรา ทองกาล
เจ้าหน้าที่ทีม   วิริยะ มิตรไทย
ผู้ประสานฝ่ายต่างประเทศ   รัชกฤช ไชยเม็ง

อ้างอิง

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ 2015-10-16.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-22. สืบค้นเมื่อ 2021-10-02.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้