สโมสรฟุตบอลออกซฟอร์ดยูไนเต็ด

สโมสรฟุตบอลออกซฟอร์ด ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในเมืองออกซ์ฟอร์ด ทีมจะลงแข่งขันในอีเอฟแอลแชมเปียนชิป ซึ่งเป็นระดับที่ 2 ของระบบลีกฟุตบอลอังกฤษ ในฤดูกาล 2024–25 ในฐานะแชมป์เพลย์ออฟ ประธานสโมสรคือแกรนท์ เฟอร์กูสัน[1] เดส บักกิงแฮมเป็นหัวหน้าโค้ช[2] และเอลเลียต มัวร์เป็นกัปตันทีม

ออกซฟอร์ด ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มOxford United Football Club
ฉายาดิ อัส
ก่อตั้ง1893; 131 ปีที่แล้ว (1893)
(ในชื่อเฮดดิงตัน ยูไนเต็ด)
สนามคัสซัม สเตเดียม
ความจุ12,500
ประธานสัมฤทธิ์ ธนะกาญจนสุทธิ์
ผู้จัดการDes Buckingham อังกฤษ
ลีกอีเอฟแอลแชมเปียนชิป
2023–24ลีกวัน, อันดับ 5 (เลื่อนชั้นผ่านการเพลย์ออฟ)
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน

สโมสรก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 1893 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลเฮดดิงตัน เฮดดิงตันรวมเข้ากับเฮดดิงตันควอร์รี ซึ่งเป็นคู่แข่งในท้องถิ่นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 1911 และเปลี่ยนชื่อเป็นเฮดดิงตันยูไนเต็ด สโมสรได้ใช้ชื่อปัจจุบันในปี 1960 เข้าร่วมฟุตบอลลีกในปี 1962 หลังจากคว้าแชมป์เซาท์เทิร์นฟุตบอลลีก และขึ้นสู่ดิวิชัน 2 ในปี 1968

ยุคที่สโมสรประสบความสำเร็จสูงสุดอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1984–1986 เมื่อสโมสรได้เลื่อนชั้นสู่ดิวิชัน 1 (เดิม) ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของอังกฤษในขณะนั้น และสามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลลีกคัพ (มิลค์ คัพ) ได้ในปี 1986 ด้วยการเอาชนะสโมสรควีนส์ปาร์ก เรนเจอร์ส ในนัดชิงชนะเลิศที่สนามกีฬาเวมบลีย์ ไปได้ถึง 3–0 ท่ามกลางผู้ชมกว่า 9 หมื่นคน แต่กลับไม่สามารถลงแข่งขันในรายการระดับทวีปอย่างยูฟ่าคัพได้ เพราะในปีดังกล่าวสโมสรฟุตบอลจากอังกฤษอยู่ระหว่างถูกลงโทษแบนโดยยูฟ่าจากกรณีเกิดเหตุการณ์โศกนาฏกรรมเฮย์เซลที่ประเทศเบลเยี่ยม

ต่อมาสโมสรมีอันต้องตกชั้นจากลีกสูงสุดในปี 1988 และมีผลงานตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องจนต้องไปแข่งขันในระดับฟุตบอลคอนเฟอเรนซ์ซึ่งเป็นลีกกึ่งอาชีพในปี ค.ศ. 2006 โดยนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์วงการฟุตบอลอังกฤษที่สโมสรที่เคยคว้าแชมป์ฟุตบอลลีกคัพต้องตกชั้นลงไปเล่นในฟุตบอลคอนเฟอเรนซ์

อย่างไรก็ตามสโมสรใช้เวลา 4 ปี ในการเลื่อนชั้นกลับขึ้นมาสู่ลีกอาชีพอีกครั้งในปี 2010 หลังจากเอาชนะสโมสรฟุตบอลยอร์ก ซิตี ได้ในการแข่งขันรอบเพลย์ออฟ ของฟุตบอลคอนเฟอเรนซ์ ฤดูกาล 2009–10 ที่สนามกีฬาเวมบลีย์ และได้เลื่อนชั้นขึ้นสู่ฟุตบอลลีกทู ก่อนที่จะสามารถคว้าตำแหน่งรองแชมป์ฟุตบอลลีกทู ในฤดูกาล 2015–2016 และได้เลื่อนชั้นขึ้นสู่ลีกวัน

สำหรับผู้เล่นที่ครองสถิติลงสนามให้กับสโมสรมากที่สุดคือ รอน แอทคินสัน ที่ลงสนามให้กับสโมสรเมื่อรวมทุกรายการมากถึง 560 นัด ก่อนที่เขาจะกลายเป็นผู้จัดการทีมของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในเวลาต่อมา ส่วนผู้ที่ลงสนามมากที่สุดเมื่อนับเฉพาะการแข่งขันในฟุตบอลลีก คือ จอห์น ชูเคอร์ โดยลงเล่นในลีกไป 478 นัด

ในด้านสถิติการยิงประตู เกรแฮม แอทคินสัน น้องชายของ รอน แอทคินสัน ได้รับการบันทึกว่าเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดของสโมสรที่ 107 ประตู เมื่อรวมทุกรายการ

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 ทางสโมสรได้ประกาศเป็นทางการว่ากลุ่มนายทุนจากประเทศไทยได้เข้าซื้อกิจการด้วยการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยนายสัมฤทธิ์ ธนะกาญจนสุทธิ์ นักธุรกิจชาวไทยรับตำแหน่งเป็นประธานสโมสรคนใหม่[3]

ประวัติสโมสร

แก้

เฮดดิงตัน ยูไนเต็ด

แก้

สโมสรก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1893 ภายใต้ชื่อสโมสรฟุตบอลเฮดดิงตัน[4]และได้เพิ่มคำว่า ยูไนเต็ด เข้าไปในชื่อของสโมสรในปี ค.ศ. 1911 หลังจากควบรวมกิจการกับสโมสรฟุตบอลเฮดดิงตัน ควอรี

เฮดดิงตัน ยูไนเต็ด ไม่มีสนามเหย้าประจำเป็นของตัวเอง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1913 สโมสรได้ลงทุนสร้างสนาม "วู้ทเทนส์ ฟิลด์" บริเวณถนนลอนดอน โรด เพื่อเป็นสนามเหย้าแห่งแรกของสโมสร แต่ในเวลาต่อมาพื้นที่บริเวณดังกล่าว ถูกจัดให้เป็นพื้นที่ที่ต้องมีการบูรณะและจัดผังเมืองใหม่ ทำให้สโมสรถูกย้ายออกจากบริเวณนั้นในปี ค.ศ.1920[5]

ปี ค.ศ.1925 สโมสรลงทุนสร้างสนามใหม่บริเวณถนนลอนดอน โรด อีกครั้ง และใช้ชื่อสนามว่า "มาเนอร์ กราวนด์'" โดยใช้แข่งขันฟุตบอลสลับกับคริกเก็ต

การส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันในรายการต่างๆของสโมสร ในปี ค.ศ.1899 สโมสรฟุตบอลเฮดดิงตัน ได้เข้าร่วมแข่งขันในลีกฟุตบอลสมัครเล่นอย่าง ออกซฟอร์ดเชอร์ ดิสตริกลีก ดิวิชัน 2 ต่อมาภายหลังจากมีการปรับโครงสร้างระบบฟุตบอลอังกฤษในปี ค.ศ. 1919 ลีกได้เปลี่ยนชื่อเป็น ออกซฟอร์ดเชอร์ จูเนียร์ลีก

ปี ค.ศ. 1921 เฮดดิงตัน ยูไนเต็ด ได้เข้ามาแข่งขันใน อ๊อกซอน ซีเนียร์ลีก โดยมีคู่แข่งสำคัญในยุคนั้นเป็นสโมสรฟุตบอลเล็กๆอย่างสโมสรฟุตบอลคาวลีย์ และได้มีโอกาสเล่นในเอฟเอคัพเป็นครั้งแรกในปี 1931 โดยพบกับ สโมสรฟุตบอลฮาวสโลว์ ในรอบคัดเลือก ต่อมาสโมสรย้ายมาแข่งขันใน สปาร์ตัน ลีก ในปี 1947 ถึงปี 1948 และช่วงเวลาดังกล่าวสโมสรคริกเก็ต ได้ย้ายไปใช้สนามบริเวณค่ายทหารคาวลีย์ จึงได้ย้ายออกจากสนามมาเนอร์ กราวนด์ ที่ใช้ร่วมกับสโมสรฟุตบอลเฮดดิงตัน ยูไนเต็ด มาอย่างยาวนาน

ในปี ค.ศ. 1949 เฮดดิงตัน ยูไนเต็ด ได้สถานะเป็นสโมสรฟุตบอลระดับอาชีพ เมื่อได้เล่นใน เซาท์เทิร์นฟุตบอลลีก และได้เปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น ออกซฟอร์ด ยูไนเต็ด หลังจากคว้าตำแหน่งรองแชมป์ เซาท์เทิร์นฟุตบอลลีก (พรีเมียร์ ดิวิชัน) ได้ในฤดูกาล 1959–1960

ฟุตบอลลีก

แก้

หลังจากเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น ออกซฟอร์ด ยูไนเต็ด สโมสรสร้างผลงานด้วยการคว้าแชมป์ "เซาท์เทิร์นฟุตบอลลีก พรีเมียร์ ดิวิชัน" ได้ 2 สมัยติดต่อกัน คือในฤดูกาล 1960–61 และ ฤดูกาล 1961–62

ต่อมาสโมสรได้รับเลือกให้เลื่อนชั้นสู่ฟุตบอลลีก จากการที่สโมสรฟุตบอลแอคคริงตัน สแตนลีย์ ในฟุตบอลลีก ดิวิชัน 4 (เดิม) ประสบกับสภาวะล้มละลาย จนต้องถอนทีมออกจากฟุตบอลลีก ทำให้สโมสรได้เข้ามาแข่งขันในดิวิชัน 4 (เดิม) แทนที่สโมสรแอคคริงตัน สแตนลีย์ ในฤดูกาล 1962–63

โดย 2 ฤดูกาลแรกในลีกอาชีพ สโมสรฟุตบอลออกซฟอร์ด ยูไนเต็ด จบฤดูกาลด้วยอันดับ 18 ก่อนที่ฤดูกาล 1964–65 สโมสรจะคว้าอันดับที่ 4 ในตารางคะแนน และเลื่อนชั้นสู่ฟุตบอลลีก ดิวิชัน 3 ได้สำเร็จ

สโมสรลงแข่งขันในฟุตบอลลีก ดิวิชัน 3 ได้เพียง 3 ปีก็สามารถคว้าแชมป์ดิวิชัน 3 ได้ในฤดูกาล 1967–68 พร้อมกับเลื่อนชั้นสู่ฟุตบอลลีก ดิวิชัน 2 โดยลงแข่งขันในฟุตบอลลีก ดิวิชัน 2 ได้ 8 ปี ก่อนจะตกชั้นกลับลงไปเล่นในดิวิชัน 3 เมื่อจบฤดูกาล 1975–76

ปี ค.ศ.1982 สโมสรออกซฟอร์ด ยูไนเต็ด ต้องประสบกับปัญหาทางการเงิน เมื่อไม่สามารถชำระหนี้สินที่ค้างกับธนาคารบาคเลย์ได้ ทำให้ โรเบิร์ต แม็กซ์เวลล์ ได้เข้ามาซื้อกิจการของสโมสร และจัดการกับปัญหาหนี้สินต่างๆ โดยในเดือนเมษายน ปี 1983 แม็กซ์เวลล์ เปิดเผยโครงการที่จะควบรวมกิจการกับสโมสรฟุตบอลเรดิง เพื่อสร้างสโมสรขึ้นมาใหม่ในชื่อ สโมสรฟุตบอลเธมส์ วัลลีย์ รอยัลส์ โดยมีจิม สมิธ เป็นผู้จัดการทีมและมี มอริซ อีแวนส์ ผู้จัดการทีมของเรดิง เป็นผู้ช่วย ซึ่งแนวคิดในการควบรวมกิจการดังกล่าว ได้รับการคัดค้านอย่างหนักจากแฟนบอลของทั้ง 2 สโมสรจนนำไปสู่การประท้วง ก่อนที่ประธานสโมสรของเรดิง จะล้มเลิกโครงการไปในเวลาต่อมา

อย่างไรก็ตามภายใต้การคุมทีมของจิม สมิธ สโมสรสามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลลีก ดิวิชัน 3 ได้ในฤดูกาล 1983–84 ทำให้ได้กลับขึ้นไปเล่นในดิวิชัน 2 อีกครั้ง และเพียงแค่ฤดูกาลแรกที่กลับเข้ามาจิม สมิธ ก็สร้างผลงานได้อย่างน่าทึ่ง ด้วยการพาสโมสรคว้าแชมป์ดิวิชัน 2 ได้สำเร็จด้วยการมีคะแนนเหนือทีมอย่างเบอร์มิงแฮม ซิตี และแมนเชสเตอร์ซิตี นับได้ว่าเป็นการคว้าแชมป์ลีกและเลื่อนชั้น 2 สมัยติดต่อกัน อีกทั้งยังเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสรจะได้เล่นในลีกสูงสุดของอังกฤษอย่างฟุตบอลลีก ดิวิชัน 1

อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นไม่นาน จิม สมิธ ได้ลาออกเพื่อไปรับงานคุมทีมควีนส์ปาร์ก เรนเจอร์ส และสโมสรได้แต่งตั้งให้ มอริซ อีแวนส์ ผู้จัดการทีมเรดิง เข้ารับตำแหน่งแทน

ลีกสูงสุดและแชมป์ลีกคัพ

แก้
 
ถ้วยแชมป์ลีกคัพ (มิลค์ คัพ) ที่ปัจจุบันยังคงตั้งแสดงให้ชมอยู่ที่สโมสร

ออกซฟอร์ด ยูไนเต็ด ภายใต้การคุมทีมของ มอริซ อีแวนส์ จบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 18 ในฟุตบอลลีกดิวิชัน 1 ฤดูกาล1985–86 ซึ่งเป็นปีแรกในการแข่งขันบนลีกสูงสุดของสโมสร[6] โดยสโมสรรอดพ้นจากการตกชั้นด้วยการเอาชนะสโมสรอาร์เซนอล ในนัดสุดท้ายของฤดูกาลไปได้ถึง 3–0 นอกจากนี้ในปีดังกล่าวยังสร้างปรากฏการณ์ด้วยการคว้าแชมป์ฟุตบอลลีกคัพ หรือ มิลค์ คัพ ตามชื่อผู้สนับสนุนในขณะนั้น ทั้งที่เพิ่งเลื่อนชั้นขึ้นมาบนลีกสูงสุดเป็นปีแรก

ฤดูกาล 1986–87 สโมสรต้องดิ้นรนหนีการตกชั้นบนลีกสูงสุดอีกครั้ง และโรเบิร์ต แม็กซ์เวลล์ ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานสโมสรในเดือนพฤษภาคม 1987 เพื่อไปซื้อกิจการของสโมสรดาร์บี เคาน์ตี โดยได้มอบหมายให้ เควิน แม็กซ์เวลล์ ซึ่งเป็นลูกชายของเขาเข้ารับตำแหน่งประธานสโมสรแทน และสโมสรจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 18 ทำให้รอดพ้นจากการตกชั้นไปได้อีกฤดูกาลหนึ่ง

ต่อมา มอริซ อีแวนส์ ได้ถูกปลดออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมในเดือน มีนาคม 1988 จากผลงานของสโมสรที่ตกไปอยู่ท้ายตารางและสุ่มเสี่ยงในการตกชั้น โดยตำแหน่งผู้จัดการทีมถูกแทนที่โดย มาร์ค ลอว์เรนสัน อดีตกองหลังชื่อดังของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ซึ่งในที่สุดลอว์เลนสัน ก็ไม่สามารถช่วยให้สโมสรรอดจากการตกชั้นจากลีกสูงสุดได้

หลังจากการแข่งขันฟุตบอลลีกดิวิชัน 2 (เดิม) ฤดูกาล 1988–89 เริ่มต้นไปได้เพียงแค่ 3 เดือน มาร์ค ลอว์เรนสัน ก็ลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีม เนื่องจากเกิดความขัดแย้งกับประธานสโมสรที่ขายดีน ซอนเดอส์ กองหน้าทีมชาติเวลส์ ซึ่งเป็นผู้เล่นคนสำคัญไปให้กับดาร์บี เคาน์ตีอย่างไม่โปร่งใส โดยโรเบิร์ต แม็กซ์เวลล์ ซึ่งเป็นประธานสโมสรดาร์บี เคาน์ตี เป็นพ่อของ เควิน แม็กซ์เวลล์ ประธานสโมสรออกซฟอร์ด ยูไนเต็ด

ในปี ค.ศ. 1991 ภายหลังจาก โรเบิร์ต แม็กซ์เวลล์ ได้เสียชีวิตลง ส่งผลให้บรรดาทรัพย์สินต่างๆของเขาซึ่งรวมถึงสโมสรออกซฟอร์ด ยูไนเต็ด ต้องถูกขายเพื่อนำมาชำระหนี้สินต่างๆ โดยบริษัท ไบโอแมส รีไซคลิง จำกัด ได้เข้ามาซื้อกิจการของสโมสรไปดูแลแทน และแต่งตั้งให้ไบรอัน ฮอร์ตัน เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ ภายใต้การคุมทีมของไบรอัน ฮอร์ตัน สโมสรจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 21 ในตารางคะแนนดิวิชัน 2 (เดิม) ฤดูกาล 1991–1992 โดยมีคะแนนเหนือโซนตกชั้นเพียงแค่ 2 คะแนน

ฤดูกาล 1992–1993 มีการก่อตั้งพรีเมียร์ลีกเป็นปีแรก ทำให้ฟุตบอลลีกดิวิชัน 2 (เดิม) เปลี่ยนชื่อเป็นดิวิชัน 1 โดยสโมสรได้อันดับที่ 14 ในดิวิชัน 1 เมื่อจบฤดูกาล ก่อนที่ต่อมา ไบรอัน ฮอร์ตัน จะย้ายไปรับงานคุมทีมที่สโมสรแมนเชสเตอร์ซิตีในพรีเมียร์ลีก ในเดือนสิงหาคม 1993 โดยระหว่างที่สโมสรกำลังหาผู้จัดการทีม ได้มอบหมายให้ มอริซ อีแวนส์ กลับมาคุมทีมเป็นการชั่วคราว และแต่งตั้งให้ เดนิส สมิธ มาเป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ของสโมสร ภายใต้การคุมทีมของสมิธ สโมสรมีผลงานย่ำแย่เมื่อชนะเพียงแค่ 4 นัด จากการแข่งขันใน 11 นัดสุดท้ายของฤดูกาล 1993–1994 และตกชั้นลงจากดิวิชัน 1 ในที่สุด

ผู้เล่นปัจจุบัน

แก้
  • ข้อมูลล่าสุดวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 2022[7]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK   แจ็ค สตีเวนส์
2 DF   แซม ลอง
4 DF   Stuart Findlay
5 DF   Elliott Moore
6 MF   Alex Rodríguez Gorrín
7 FW   Billy Bodin
8 MF   คาเมรอน แบรนนาแกน
9 FW   Matty Taylor
10 FW   Sam Baldock
11 FW   Marcus Browne
13 GK   Simon Eastwood
14 DF   Anthony Forde
15 DF   จอห์น มูซินโญ่ (กัปตัน)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
16 DF   Ciaron Brown
17 MF   เจมส์ เฮนรี่
18 MF   Marcus McGuane
21 GK   Edward McGinty
23 FW   Josh Murphy
25 MF   Oisin Smyth
26 DF   James Golding
27 MF   Tyler Goodrham
30 FW   Yanic Wildschut
39 FW   Slavi Spasov
42 DF   Steve Seddon
59 FW   Gatlin O'Donkor

ผู้เล่นที่ปล่อยยืม

แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น

เกียรติประวัติ

แก้

สถิติ

แก้

สถิติผู้เล่น

แก้
  • ผู้เล่นอายุน้อยที่สุดที่ได้ลงสนาม
    • เจสัน ซีโคล   : 16 ปี 149 วัน (พบ แมนสฟีลด์ ทาวน์, 7 กันยายน 1976)[12][13]
  • ผู้เล่นอายุมากที่สุดที่ได้ลงสนาม
    • ไมเคิล ดูเบอร์รี่   : 37 ปี 195 วัน (พบ แอคคริงตัน สแตนลีย์, 27 เมษายน 2013)
  • ผู้เล่นที่ลงสนามให้สโมสรมากที่สุด
อันดับ ชื่อ ตำแหน่ง ช่วงปี ลีกa เอฟเอคัพ ลีกคัพb อื่นๆc รวม ดูเพิ่ม
1 รอน แอตคินสัน   กองกลาง 1959–1971 508 (1) 33 (0) 18 (0) 0 (0) 559 (1) [14]
2 จอห์น ชูเคอร์   กองหน้า 1962–1977 473 (5) 29 (0) 24 (0) 3 (0) 529 (5) [15]
3 แกรี่ บริกส์   กองหลัง 1978–1989 418 (2) 24 (0) 50 (0) 14 (0) 506 (2) [16]
4 โคลิน คลาร์ก   กองหลัง 1966–1978 443 (1) 23 (0) 27 (0) 3 (0) 496 (1) [17]
5 ไซริล บีวอน   กองหลัง 1959–1969 416 (2) 27 (1) 18 (0) 0 (0) 461 (3) [18]
6 เลส โรบินสัน   กองหลัง 1990–2000 380 (5) 22 (0) 36 (0) 16 (0) 454 (5) [19]
7 มอริซ ไคลน์   กองหลัง 1959–1969 403 (0) 26 (0) 19 (0) 0 (0) 448 (0) [20]
8 รอย เบอร์ตัน   ผู้รักษาประตู 1971–1982 395 (0) 16 (0) 28 (0) 8 (0) 447 (0) [21]
9 โจอี้ บีแชมพ์   กองกลาง 1989–1994
1995–2002
321 (41) 21 (3) 26 (3) 9 (5) 377 (52) [18]
10 เกรแฮม แอตคินสัน   กองหน้า 1959–1974 357 (4) 19 (0) 17 (0) 1 (0) 394 (4) [22]
a. รวม ฟุตบอลลีก, เนชันนัลลีก และ เซาเทิร์น ฟุตบอลลีก
b. รวม ฟุตบอลลีกคัพ และ เซาเทิร์นลีก คัพ
c. ได้แก่ ฟุตบอลลีก โทรฟี, ฟุตบอลลีก กรุป คัพ, แองโกล-อิตาเลียน คัพ, ฟูล เมมเบอร์ส คัพ และ เอฟเอ โทรฟี
  • ผู้เล่นที่ยิงประตูมากที่สุดในหนึ่งฤดูกาล (นับรวมเมื่อครั้งยังแข่งในลีกสมัครเล่น)
    • แฮร์รี่ ไบรอัน "บัด" เฮาจ์ตัน   : 43 ประตู (ฤดูกาล 1961–62) [23][24]
  • ผู้เล่นที่ยิงประตูมากที่สุดในหนึ่งฤดูกาล (ไม่รวมยุคแข่งลีกสมัครเล่น)
    • จอห์น อัลดริดจ์   : 34 ประตู (ฤดูกาล 1984–85)
  • ผู้เล่นที่ยิงประตูในฟุตบอลลีกมากที่สุดในหนึ่งฤดูกาล
    • จอห์น อัลดริดจ์   : 30 ประตู (ฤดูกาล 1984–85)
  • ผู้เล่นที่ยิงประตูให้สโมสรมากที่สุด
อันดับ ชื่อ ตำแหน่ง ช่วงปี ลีกa เอฟเอคัพ ลีกคัพb อื่นๆc รวม ดูเพิ่ม
1 เกรแฮม แอตคินสัน   กองหน้า 1959–1974 97 (361) 7 (19) 3 (17) 0 (1) 107 (398) [22]
2 เจมส์ คอนสตาเบิล   กองหน้า 2008–2014 90 (246) 7 (15) 2 (6) 7 (13) 106 (280) [25]
3 โทนี่ โจนส์   กองกลาง 1959–1967 89 (318) 9 (24) 2 (14) 0 (0) 100 (356) [26]
4 จอห์น อัลดริดจ์  d กองหน้า 1984–1987 72 (114) 2 (5) 14 (17) 2 (5) 90 (141) [27]
5 ปีเตอร์ โฟลี่   กองหน้า 1975–1983 71 (277) 9 (13) 8 (27) 2 (14) 90 (321) [28]
6 โจอี้ บีแชมพ์   กองกลาง 1989–1994
1995–2002
64 (362) 4 (24) 10 (29) 0 (14) 78 (429) [18]
7 แฮร์รี่ ไบรอัน "บัด" เฮาจ์ตัน  d กองหน้า 1961–1963 69 (106) 5 (5) 1 (3) 0 (0) 75 (114) [29]
8 พอล มูดี้   กองหน้า 1994–1997
2001–2002
63 (171) 5 (9) 4 (14) 3 (3) 75 (197) [30]
9 วิลเลียม '"บิลลี่" รีส   กองหน้า 1955–1959 53 (103) 3 (11) 2 (8) 0 (0) 58 (122) [31]
10 แมตต์ เมอร์ฟี่   กองกลาง 1993–2001 38 (248) 6 (15) 6 (16) 5 (11) 55 (290) [32]
a. Includes Football League, Conference National and Southern Football League.
b. Includes Football League Cup and Southern League Cup.
c. Includes Conference play-off, Football League Trophy, Football League Group Cup, Anglo-Italian Cup, Full Members Cup, FA Trophy and Conference League Cup.
d. Where two players scored the same number of goals, the player with the fewer appearances is listed first.
  • ผู้เล่นที่สโมสรขายแพงที่สุด
  • ผู้เล่นที่สโมสรซื้อแพงที่สุด
    • ดีน วินดาส   : 4.7 แสน ปอนด์ ( จาก อเบอร์ดีน, กรกฎาคม ค.ศ. 1998)

สโมสรพันธมิตร

แก้

อ้างอิง

แก้
General
  • Bickerton, Bob (1998). Club Colours. Hamlyn. ISBN 0-600-59542-0.
  • Howland, Andy and Roger (1989). Oxford United: A Complete Record (1893–1989). Breedon Books. ISBN 0-907969-52-6.
  • Brodetsky, Martin (2009). Oxford United: The Complete Record. Breedon Books. ISBN 978-1-85983-715-3.
  1. "Club Statement: Board Changes". Oxford United F.C. 27 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2022. สืบค้นเมื่อ 27 September 2022.
  2. "Des Buckingham confirmed as Oxford United head coach". Oxford United Football Club. 16 November 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 November 2023. สืบค้นเมื่อ 16 November 2023.
  3. รู้จัก“อ็อกซ์ฟอร์ด ยูไนเต็ด”ทีมลูกหนังล่าสุดของคนไทย
  4. 4.0 4.1 4.2 Brodetsky, Martin; Brunt, Heather; Williams, Chris; Crabtree, David. "A history of Oxford United Football Club". Oxford United. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-15. สืบค้นเมื่อ 11 September 2007.
  5. Jenkins, Stephanie. "Headington United History". Headington.org. สืบค้นเมื่อ 26 October 2007.
  6. "1985/1986 Third Division Table". Football Club History Database. สืบค้นเมื่อ 13 September 2007.
  7. "Oxford United – First Team squad". OUFC.co.uk. Oxford United F.C. สืบค้นเมื่อ 12 August 2019.
  8. 8.0 8.1 Howland p.390.
  9. 9.0 9.1 "1995/96 Division Two Table". Football Club History Database. สืบค้นเมื่อ 4 February 2009.
  10. "League Records: Past Winners". The Football League. สืบค้นเมื่อ 4 February 2009.
  11. "Oxford United 3–1 York City". BBC News. 16 May 2010. สืบค้นเมื่อ 21 May 2010.
  12. Brodetsky. Oxford United: The Complete Record, p.185.
  13. Howland. Oxford United: A Complete Record, p.394.
  14. Brodetsky. Oxford United: The Complete Record, pp.447–448
  15. Brodetsky. Oxford United: The Complete Record, p.485
  16. Brodetsky. Oxford United: The Complete Record, p.451
  17. Brodetsky. Oxford United: The Complete Record, pp.454–455
  18. 18.0 18.1 18.2 Brodetsky. Oxford United: The Complete Record, p.449
  19. Brodetsky. Oxford United: The Complete Record, pp.482–483
  20. Brodetsky. Oxford United: The Complete Record, p.471
  21. Brodetsky. Oxford United: The Complete Record, p.453
  22. 22.0 22.1 Brodetsky. Oxford United: The Complete Record, p.447
  23. Brodetsky. Oxford United: The Complete Record, p.359
  24. Howland. Oxford United: A Complete Record, p.199
  25. "James Constable Appearances". Rage Online. สืบค้นเมื่อ 2010-12-22.
  26. Brodetsky. Oxford United: The Complete Record, pp.469–470
  27. Brodetsky. Oxford United: The Complete Record, p.446
  28. Brodetsky. Oxford United: The Complete Record, p.461
  29. Brodetsky. Oxford United: The Complete Record, p.467
  30. Brodetsky. Oxford United: The Complete Record, p.476
  31. Brodetsky. Oxford United: The Complete Record, p.481
  32. Brodetsky. Oxford United: The Complete Record, p.477
  33. ""ยังสิงห์ หาดใหญ่" จับมือ "อ็อกฟอร์ด ยูไนเต็ด" คัดนักเตะไปฝึกบอลที่อังกฤษ". สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้