สโมสรฟุตบอลบอร์นมัท

สโมสรฟุตบอลบอร์นมัท (อังกฤษ: AFC Bournemouth) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพตั้งอยู่ใน คิงส์พาร์ก, บอสคอมบ์, ชานเมืองของบอร์นมัท, ดอร์เซต, อังกฤษ ปัจจุบันแข่งขันอยู่ในพรีเมียร์ลีก ลีกสูงสุดของระบบลีกฟุตบอลอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1899 ในชื่อ บอสคอมบ์ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อปัจจุบันใน ค.ศ. 1971 ฉายา "เดอะเชอร์รีส์" และใช้ดีนคอร์ตเป็นสนามเหย้าตั้งแต่ ค.ศ. 1910 เสื้อทีมเหย้าของพวกเขาคือเสื้อลายทางสีแดงดำกับกางเกงขาสั้นและถุงเท้าสีดำ โดยได้แรงบันดาลใจจาก เอซี มิลาน สโมสรฟุตบอลอิตาลี

เอเอฟซีบอร์นมัท
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลบอร์นมัท[a]
ฉายาเดอะเชอร์รีส์
เทพีแดงดำ (ฉายาในประเทศไทย)
ก่อตั้งค.ศ. 1899 (ในชื่อบอสคอมบ์)
สนามดีนคอร์ต
Ground ความจุ11,307[7]
เจ้าของบริษัท เทอร์ควอยส์ บิดโก จำกัด,[1] ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ แบล็กไนต์ฟุตบอลแอนด์เอนเทอร์เทนเมนต์[8]
ประธานบิล โฟลีย์
ผู้จัดการอันโดนี อิราโอลา
ลีกพรีเมียร์ลีก
2022–23อันดับที่ 15 จาก 20
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรแข่งขันในลีกฟุตบอลระดับภูมิภาคก่อนที่จะไต่ระดับจาก แฮมป์เชอร์ลีก เป็น เซาเทิร์นลีก ใน ค.ศ. 1920 ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น บอร์นมัทแอนด์บอสคอมบ์แอตเลติก สโมสรได้รับเลือกเข้าสู่ ฟุตบอลลีก ใน ค.ศ. 1923 สโมสรแข่งขันใน เทิร์ดดิวิชันเซาท์ เป็นเวลา 35 ปี และชนะเลิศ เทิร์ดดิวิชันเซาท์คัพ ใน ค.ศ. 1946 ต่อมาสโมสรแข่งขันใน เทิร์ดดิวิชัน ที่ได้รับการจัดโครงสร้างใหม่ใน ค.ศ. 1958 สโมสรตกชั้นลงไป โฟร์ตดิวิชัน ใน ค.ศ. 1970 แต่ก็เลื่อนชั้นขึ้นมาทันทีในฤดูกาล 1970–71 สโมสรตกชั้นไปโฟร์ตดิวิชันอีกครั้งใน ค.ศ. 1975 และเลื่อนชั้นขึ้นมาในฤดูกาล 1981–82 สโมสรชนะเลิศ แอสโซซิเอทเมมเบอร์สคัพ ใน ค.ศ. 1984 และเทิร์ดดิวิชันในฤดูกาล 1986–87 สโมสรใช้เวลาสามฤดูกาลอยู่ในลีกระดับสองก่อนจะได้รับการลงโทษทางการเงินใน ค.ศ. 1997 และตกชั้นกลับไปลีกระดับสี่ใน ค.ศ. 2002 แม้ว่าจะได้เลื่อนชั้นทันทีด้วยการชนะรอบเพลย์ออฟใน ค.ศ. 2003

บอร์นมัทได้รับการลงโทษทางการเงินเป็นครั้งที่สองและตกชั้นไป ลีกทู ใน ค.ศ. 2008 และแต่งตั้ง เอ็ดดี ฮาว เป็นผู้จัดการทีม สโมสรเลื่อนชั้นถึงสามครั้งในรอบหกปีและเลื่อนชั้นขึ้นสู่ลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยสโมสรจบอันดับสองของลีกทูในฤดูกาล 2009–10, จบอันดับสองของลีกวัน ในฤดูกาล 2012–13 และชนะเลิศ อีเอฟแอลแชมเปียนชิป ในฤดูกาล 2014–15 สโมสรแข่งขันในพรีเมียร์ลีกเป็นเวลาห้าฤดูกาลก่อนจะตกชั้นใน ค.ศ. 2020 แต่ก็กลับขึ้นมาใน ค.ศ. 2022 โดยจบอันดับสองในแชมเปียนชิป ด้วยการคุมทีมของ สก็อต พาร์กเกอร์

ประวัติ แก้

ผู้เล่น แก้

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน แก้

ณ วันที่ พฤษภาคม 2022[9][10]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK   แนตู มูรารา (กัปตันทีม)
2 DF   ไรอัน เฟรเดอริกส์
4 MF   ลูวิส คุก
5 DF   ลอยด์ เคลลี
6 DF   คริส เม็ฟฟัม (กัปตันทีมคนที่ 3)
7 MF   เดวิด บรูกส์
8 MF   โจ รอธเวลล์
9 FW   ดอมินิก โชลังเก
10 MF   ไรอัน คริสตี
11 MF   เอมีเลียโน มาคอนเดส
12 GK   แดร์เรน แรนดอล์ฟ
14 MF   อเล็กซ์ สกอตต์
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
15 DF   อดัม สมิธ (รองกัปตันทีม)
18 FW   จามาล โลเว
19 FW   จัสติน ไกลเฟิร์ต
21 FW   คีฟเฟอร์ มัวร์
22 MF   เบน เพียร์สัน
23 DF   เจมส์ ฮิลล์
29 MF   ฟิลิป บิลลิง
32 FW   เจดอน แอนโธนี
33 DF   จอร์แดน เซมูรา
37 DF   แมกซ์ แอรอนส์

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
14 DF   Brad Smith (at Seattle Sounders)
22 MF   Emerson Hyndman (at Hibernian)
23 MF   Connor Mahoney (at Birmingham City)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
38 MF   Harry Arter (at Cardiff City)
44 FW   Sam Surridge (at Oldham Athletic)
52 FW   Mikael Ndjoli (at Kilmarnock)[11]

หมายเหตุ แก้

  1. ชื่อเต็มของสโมสรคือ AFC Bournemouth[1][2] คำนำหน้า AFC ไม่ใช่ตัวย่อ แต่ถูกรวมไว้ในชื่อสโมสรเพื่อให้แน่ใจว่าสโมสรฟุตบอลบอร์นมัทจะมีชื่อมาก่อน อาร์เซนอลและแอสตันวิลลา ในรายชื่อตามตัวอักษร[3] ตัวอักษรดังกล่าวอ้างอิงถึง (แต่ไม่ใช่ตัวย่อ) ชื่อเดิมของสโมสรคือ "Bournemouth and Boscombe Athletic Football Club"[4] AFC บางครั้งก็ขยายเป็น Athletic Football Club[5] หรือ Association Football Club[6] โดยบุคคลที่สาม

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Company details". AFC Bournemouth. สืบค้นเมื่อ 21 June 2020.
  2. "Club trademarks". AFC Bournemouth. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2020. สืบค้นเมื่อ 21 June 2020.
  3. "AFC Bournemouth". Premier Skills English. British Council. 17 July 2015. สืบค้นเมื่อ 1 March 2023. The AFC is part of the name and not an abbreviation. The name was changed by Dickie Dowsett who was the club’s commercial manager and an ex-player. He insisted that the AFC should not stand for anything because that way, the club would appear in alphabetical league lists above Arsenal and Aston Villa and is why the club is the first in the list of clubs on the Premier League and Premier Skills English websites.
  4. "AFC Bournemouth". Premier Skills English. British Council. สืบค้นเมื่อ 1 March 2023. The AFC recalls the older name of the club, it represents Athletic Football Club, but it does not stand for Athletic Football Club.
  5. Burt, Jason (8 February 2018). "Ticket-price war places clubs at a tipping point". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 1 March 2023. Each of the 20 teams in the Premier League are clubs – from Manchester United Football Club to Athletic Football Club Bournemouth (AFC Bournemouth).
  6. "Association Football Club Bournemouth". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 1 March 2023.
  7. "Premier League Handbook 2022/23" (PDF). 19 July 2022. p. 4. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2022. สืบค้นเมื่อ 11 April 2023.
  8. Tanner, Jack (13 January 2023). "Bill Foley outlines Black Knight Football Club structure". Bournemouth Daily Echo. สืบค้นเมื่อ 3 March 2023.
  9. "First team". A.F.C. Bournemouth. สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
  10. "AFCB – Squad numbers confirmed for 2018/19". A.F.C. Bournemouth. สืบค้นเมื่อ 26 July 2018.
  11. "Findlay and Ndjoli sign for Killie". BBC. 4 July 2018. สืบค้นเมื่อ 18 July 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้