สโมสรฟุตบอลซาราเยโว
สโมสรฟุตบอลซาราเยโว (บอสเนียน: Fudbalski klub Sarajevo) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพบอสเนีย ตั้งอยู่ที่ซาราเยโว เมืองหลวงของประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เป็นหนึ่งในสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของประเทศ สโมสรก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1946 และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในยุคของยูโกสลาเวีย โดยชนะเลิศยูโกสลาฟเฟิสต์ลีก 2 สมัย จบรองชนะเลิศ 2 ครั้ง และอยู่ในอันดับที่ 6 ของตารางคะแนนตลอดกาลของลีกยูโกสลาเวีย[1] สีประจำสโมสรคือสีแดงเลือดหมูและสีขาว สโมสรฟุตบอลซาราเยโวเป็นสโมสรหลักเพียงสโมสรเดียวที่ก่อตั้งหลังยุคสงครามโลกครั้งที่สองที่ตั้งอยู่ในซาราเยโว สโมสรเข้าร่วมยูโกสลาฟเฟิสต์ลีกในฤดูกาล 1948–49 และแข่งขันในลีกสูงสุดเกือบครบทุกฤดูกาล ต่อมาหลังจากที่บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาได้รับเอกราชจากยูโกสลาเวีย สโมสรฟุตบอลซาราเยโวได้กลายเป็นมาเป็นทูตใหญ่ของประเทศ โดยได้เดินทางไปรอบโลกในช่วงระหว่างสงครามบอสเนีย เพื่อกระชับมิตรความสัมพันธ์กับนานาชาติ[2]
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลซาราเยโว | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | Bordo-bijeli (แดงเลือดหมู-ขาว) Divovi (ยักษ์) | |||
ชื่อย่อ | FKS | |||
ก่อตั้ง | 24 ตุลาคม ค.ศ. 1946 (ในชื่อ เอสดี ตอร์ปิโด) | |||
สนาม | สนามกีฬาอาซิม เฟร์ฮาทอวิช ฮาเซ | |||
ความจุ | 34,500 ที่นั่ง | |||
เจ้าของ | Nguyễn Hoài Nam | |||
ประธาน | เซนัด จาฮิช | |||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | วินคอ มารินอวิช | |||
ลีก | พรีเมียร์ลีกแห่งบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา | |||
2020–21 | อันดับที่ 2 ในพรีเมียร์ลีก | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
|
ปัจจุบัน ซาราเยโวเป็นหนึ่งในสโมสรใหญ่ของพรีเมียร์ลีกแห่งบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา โดยชนะเลิศบอสเนียนแชมเปียนชิป 5 สมัย (จบรองชนะเลิศ 6 ครั้ง), บอสเนียนคัพ 6 สมัย และบอสเนียนซูเปอร์คัพ 1 สมัย สโมสรอยู่ในอันดับที่ 1 ของตารางคะแนนตลอดกาลของพรีเมียร์ลีกแห่งบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และยังเป็นสโมสรจากบอสเนียที่เข้าร่วมแข่งขันระดับทวีปมากที่สุด ซาราเยโวเป็นสโมสรที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของประเทศ เช่นเดียวกันกับสโมสรคู่ปรับอย่างเซลเยซนิชาร์ ซึ่งนัดที่ทั้งคู่พบกันถูกเรียกว่าซาราเยโวดาร์บี
สโมสรลงเล่นเกมเหย้าที่สนามกีฬาอาซิม เฟร์ฮาทอวิช ฮาเซ ซึ่งตั้งชื่อตามตำนานกองหน้าของสโมสรอย่างอาซิม เฟร์ฮาทอวิช สนามแห่งนี้มีความจุ 34,500 ที่นั่ง[3] นับตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2019 เป็นต้นมา สโมสรฟุตบอลซาราเยโวอยู่ภายใต้การดำเนินงานของนักธุรกิจชาวเวียดนามอย่าง Nguyễn Hoài Nam และสโมสรฟุตบอลกองทุนสนับสนุนพรสวรรค์ฟุตบอลเวียดนาม[4][5][6]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "Večna lista fudbalskih prvenstava SFR Jugoslavije". Strategija.org. สืบค้นเมื่อ 17 March 2014.
- ↑ "Utakmice širom svijeta, prijem u Vatikanu" (ภาษาบอสเนีย). Oslobođenje.ba. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2015. สืบค้นเมื่อ 12 August 2014.
- ↑ "World Stadiums – Stadiums in Bosnia & Herzegovina". worldstadiums.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2017. สืบค้นเมื่อ 27 March 2017.
- ↑ "FK Sarajevo: Istina je, Vincent Tan je prodao 60% svog udjela u klubu". SportSport.ba (ภาษาบอสเนีย). สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
- ↑ "Ko je Nguyen Hoi Nam? Biznis, supruga misica, odani saradnik Vincenta Tana..." SportSport.ba (ภาษาบอสเนีย). สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
- ↑ "Novi vlasnici FK Sarajevo: Šta se "krije" iza akronima PVF?". SportSport.ba (ภาษาบอสเนีย). สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
หนังสือแก้ไข
- Armstrong, Gary; Giulianotti, Richard (1999). Football Cultures and Identities. Palgrave Macmillan. ISBN 978-0-333-73010-2.
- Arnaud, Pierre; Riordan, James (1998). Sport and international politics. Taylor & Francis. ISBN 978-0-419-21440-3.
- Blagojević, Milan, บ.ก. (1976). 30 godina FK Sarajevo (ภาษาบอสเนีย). Sarajevo: Svjetlost. ISBN 5958-1277-2-1.
- Ferrand, Alain; McCarthy, Scott (2008). Marketing the Sports Organisation: Building Networks and Relationships. Taylor & Francis. ISBN 978-0-415-45329-5.
- Foer, Franklin (2005). How Soccer Explains the World. HarpPeren. ISBN 978-0060731427.
- Gigi Riva (2016). L'ultimo rigore di Faruk. Una storia di calcio e di guerra (ภาษาอิตาลี). Palermo: Sellerio. ISBN 978-8838935640.
- Hughson, John; Skillen, Fiona (2014). Football in Southeastern Europe: From Ethnic Homogenization to Reconciliation. Routledge. ISBN 978-0-415-74950-3.
- Kajan, Dževad, บ.ก. (1999). Sarajevski derbi (ภาษาบอสเนีย). Sarajevo: Mediapress. ISBN 9958-7440-5-8.
- Kovačević, Dragiša (1978). Jugoslovenski klubovi u evropskim takmičenjima. Belgrade: FSJ.
- Kljuić, Stjepan, บ.ก. (2007). Asim Ferhatović: Majstor driblinga (ภาษาบอสเนีย). Sarajevo: Svjetlost. ISBN 978-9958-9316-2-8.
- Malcolm, Noel (1994). Bosnia: A Short History. NYU Press. ISBN 978-0814755204.
- Sijarić, Enes, บ.ก. (2015). Knjiga vremena (ภาษาบอสเนีย). Sarajevo: Svjetlost. ISBN 9780415093781.
- Sijić, Milorad (1977). Fudbal u Kraljevini Jugoslaviji. Kruševac: S Print. ISBN 978-86-86829-06-1.
- Stojanović, Bratislav; Kovačević, Dragiša (1977). Jugoslovenski fudbalski klubovi. Belgrade: Borba.
- Vrcan, Srđan (2003). Nogomet politika nasilje. Zagreb: Naklada Jesenski i Turk. ISBN 953-222-125-5.
- Ždrale, Milan, บ.ก. (2015). Zlatna knjiga bosanskohercegovačkog nogometa. Tešanj: Planjax. ISBN 978-9958-34-126-7.
- Ždrale, Milan (1979). Velemajstor s Koševa. Sarajevo: Svjetlost.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
วิกิคำคมมีคำคมเกี่ยวกับ สโมสรฟุตบอลซาราเยโว |
วิกิพจนานุกรม มีความหมายของคำว่า FK Sarajevoหรือ สโมสรฟุตบอลซาราเยโว |
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สโมสรฟุตบอลซาราเยโว
- เว็บไซต์ทางการ
- FK Sarajevo at UEFA
- FK Sarajevo at N/FSBiH
- FKSinfo