สเปกตรัมที่ต้องการของวิทยุสมัครเล่นและวิทยุสมัครเล่นผ่านดาวเทียม

สเป็กตรัมที่ต้องการของวิทยุสมัครเล่นและวิทยุสมัครเล่นผ่านดาวเทียม (อังกฤษ: Spectrum Requirements of the Amateur and Amateur-satellite Service) ในระหว่างการประชุมของตัวแทนสหภาพวิทยุสมัครเล่นนานาชาติ หรือ International Amateur Radio Union (IARU) ในปี พ.ศ. 2533 ได้ตัดสินใจให้จัดทำรายงานความต้องการความถี่วิทยุในปัจจุบันและอนาคตของกิจการวิทยุสมัครเล่นและกิจการวิทยุสมัครเล่นผ่านดาวเทียม ซึ่งจะนำไปสู่ข้อตกลงระหว่างประเทศ และนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่นานาชาติ เพื่อจัดสรรความถี่เหล่านี้ในอนาคต

ประวัติ แก้

ในฐานะที่ IARU เป็นตัวแทนของนักวิทยุสมัครเล่นและวิทยุสมัครเล่นผ่านดาวเทียมทั่วโลก มีหน้าที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้

1. ปัจจุบันมีนักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลกเกือบ 3 ล้านคน และจากที่มีการแก้ไข ระเบียบข้อที่ 25 ในการประชุม WRC-03 ที่ยกเลิกการสอบ รหัสมอร์ส ส่งผลให้จำนวนนักวิทยุสมัครเล่นจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

2. จำนวนและชนิดของรูปแบบการติดต่อสื่อสารใหม่ที่นักวิทยุสมัครเล่นใช้งานมีการเพิ่มขึ้น และมีการคิดค้นรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น การส่งเสียงพูดแบบ Digital (Digital Voice) การส่งข้อมูล (Data) และการส่งรูปภาพ (Image) ซึ่งเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพของนักวิทยุสมัครเล่น และก็เป็นการเพิ่มความน่าสนใจของกิจการวิทยุสมัครเล่นซึ่งส่งผลให้มีความหนาแน่นของการใช้งานตามไปด้วย

3. การใช้งานรูปแบบ Single-Sideband ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากว่า 50 ปี ได้ถูกใช้งานเกือบจะทุกความถี่ที่นักวิทยุสมัครเล่นใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เป็นโอกาสอันดีที่จะเพิ่มความถี่ใหม่ โดยเฉพาะความถี่ย่าน MF และ HF ที่มีอย่างจำกัดในปัจจุบัน

4. ปัจจุบันมีการแบ่งกันใช้งานกับกิจการอื่นในบางช่วงความถี่ซึ่งเป็นการใช้งานความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ ในการแบ่งกันใช้เป็นการลดความคับคั่งของการใช้ความถี่ในกิจการอื่น ซึ่งมีข้อจำกัด เช่น มีนักวิทยุสมัครเล่นกระจายอยู่ในเกือบทุกพื้นที่ และใช้รูปแบบการติดต่อสื่อสารที่หลากหลาย อาจทำให้มีการรบกวนกันระหว่างกิจการได้

ความถี่ แก้

ถ้าสามารถทำได้ หมายเหตุ (Country Footnotes) ในแต่ละประเทศที่มีการกำหนดเพิ่มเติมหรือจัดสรรเป็นอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในตารางจัดสรรความถี่ที่กำหนดให้เป็นของกิจการวิทยุสมัครเล่นและกิจการวิทยุสมัครเล่นผ่านดาวเทียม ควรลบออก ควรพยายามที่จะเอารายชื่อประเทศในหมายเหตุออกแทนที่จะใส่เข้าไป

ต่ำกว่า 200 KHz แก้

กิจการวิทยุสมัครเล่นต้องการแบ่งการใช้งานความถี่ย่าน LF ทั่วโลก

ในช่วงความถี่นี้มีลักษณะที่แตกต่างจากช่วงความถี่ที่สูงกว่า และมีสิ่งที่น่าสนใจมากมายของการแพร่กระจายคลื่นย่าน LF ซึ่งต้องการทดสอบ ทดลองอีกมาก ซึ่งในปัจจุบัน ITU ยังมิได้กำหนดให้นักวิทยุสมัครเล่นได้ใช้งานในย่านความถี่ LF นี้

ได้มีการพยายามจากตัวแทนของ IARU ภูมิภาคที่ 1 นำเสนอ Recommendation 62-01 เข้าไปเมื่อเดือนพฤษภาคม 1997 โดย CEPT (European Radiocommunications Committee)

Recommendation 62-01 มีข้อความดังนี้

"1) กำหนดให้ความถี่ช่วง 135.7 - 137.8 KHz เป็นกิจการรอง สำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่น โดยกำลังส่งสูงสุดไม่เกิน 1 วัตต์ (ERP) สำหรับประเทศในกลุ่ม CEPT"

ประเทศที่อยู่ในข่ายได้รับอนุญาตเป็นพิเศษในความถี่ช่วง 135.7 - 137.8 KHz ใน ERC/REC 62-01 ครั้งนั้นได้แก่ ออสเตรีย บัลเกเรีย สาธารณรัฐเช็ค แอสโทเนีย ฟินแลนด์ ฮังการี ไอส์แลนด์ อิตาลี ลิทัวเนีย เนเธอแลนด์ นอร์เวย์ โรมาเนีย สโลเวเนีย สเปน และอังกฤษ

และมีประเทศ ออสเตเรีย อาเจ็นตินา แคนนาดา นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา ได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษในความถี่ช่วง 135.7 - 137.8 KHz

มีบางประเทศที่ได้อนุญาตเป็นการชั่วคราวให้กิจการวิทยุสมัครเล่นได้ใช้งานความถี่ LF ด้วยกำลังส่งต่ำ เช่น 160 - 190 KHz ในประเทศสหรัฐอเมริกา และ 165 - 190 KHz ในประเทศออสเตเรีย สำหรับในประเทศนิวซีแลนด์ในปี 1990 หลังจากที่ได้ข้อสรุปจาก NZART นักวิทยุสมัครเล่นก็ได้ใช้งานความถี่ช่วง 165 - 190 KHz เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งในปี 2001 การอนุญาตได้สิ้นสุดลง และได้มีการกำหนดให้ความถี่ 130 - 190 KHz เป็นความถี่ของกิจการวิทยุสมัครเล่น

ในการศึกษาความถี่นี้ซึ่งรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ผ่านการเห็นชอบแล้วในหลักการ ความต้องการของสมาคมวิทยุสมัครเล่นสหรัฐอเมริกา (ARRL) คือการขอแบ่งช่วงความถี่ 160 - 190 KHz ในขณะเดียวกัน ARRL ก็ต้องต่อสู้กับ FCC เพื่อขอให้กำหนดให้ความถี่ 135.7 - 137.8 KHz และ 160 - 190 KHz เป็นของกิจการวิทยุสมัครเล่น โดยเป็นกิจการรอง ในปี 2002 FCC ได้จัดทำประชาพิจารณ์เกี่ยวกับการจัดสรร์ความถี่ 160 - 190 KHz ให้กับกิจการวิทยุสมัครเล่น และในปี 2003 FCC ได้เสนอรายงานและคำสั่งกำหนดความถี่หลายช่วงเป็นของกิจการวิทยุสมัครเล่น แต่ปฏิเสธการให้ความถี่ 135.7 - 137.8 KHz เป็นผลมากจากที่มีบริษัทผลตตไฟฟ้าได้ร้องว่ากิจการวิทยุสมัครเล่นได้ก่อให้เกิดการรบกวนกับระบบสายส่งไฟฟ้า อย่างไรก็ได้ FCC ก็ยังคงอนุญาตให้ใช้งานได้ในบ้าง

The "Responsible Working Party" for the conduct of ITU-R studies related to WRC-07 agenda item 1.15 is WP 8A.

Region 3 (Darwin, 2000) recommended that an LF band segment of 15 kHz between 165 and 190 kHz and/or 135.7-137.8 kHz be sought through local administrations throughout Region 3 noting the international communications experiments that have taken and could take place. Region 3 (Taipei, 2004) updated this recommendation, referring to "in the vicinity of 180 kHz" instead of 165-190 kHz.

Region 2 (Guatemala City, 2001) urged its member-societies to support a coordinated approach to secondary allocations to the Amateur Service in the bands 135.7-137.8 kHz and 160-190 kHz.

In CITEL, Canada introduced an Inter-American Proposal to WRC-03 for a similar allocation by footnote in Region 2. Instead, WRC-03 decided to establish agenda item 1.15 for WRC-07, which reads:


1.15 to consider a secondary allocation to the amateur service in the frequency band 135.7-137.8 kHz.

ช่วง 500 KHz แก้

1800 - 2000 KHz แก้

3500 - 4000 KHz แก้

ช่วง 5 MHz แก้

7000 - 7300 KHz แก้

10100 - 10150 KHz แก้

กิจการวิทยุสมัครเล่นต้องการให้ขยายความถี่จากเดิม 10100 - 10150 KHz เป็น 10100 - 10350 KHz และเปลี่ยนจากกิจการรองเป็นกิจการหลัก

ความถี่ช่วง 10100 - 10150 KHz ได้รับจัดสรรใหม่จากการประชุม WRC-79 โดยกำหนดให้เป็นกิจการรอง ซึ่งเป็นย่านความถี่ HF ย่านเดียวของกิจการวิทยุสมัครเล่นที่ถูกกำหนดให้เป็นกิจการรอง ซึ่งนักวิทยุสมัครเล่นที่ใช้งานย่านความถี่นี้พยายามอย่างยิ่งไม่ให้เกิดการรบกวนกับกิจการประจำที่ (Fixed Service) ที่กำหนดให้เป็นกิจการหลัก ถึงแม้จะมีข้อจำกัดอยู่แต่ก็ได้รับความนิยมอย่างมากจากนักวิทยุสมัครเล่นเนื่องจากเป็นความถี่ระหว่างกลางของความถี่ 7 MHz และ 14 MHz เพราะในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงของการแพร่กระจายคลื่นนั้นจะมีบางช่วงที่ความถี่ 7 MHz และ 14 MHz ใช้งานไม่ค่อยดีนัก แต่ความถี่ 10 MHz จะมาอยู่ระหว่างกลาง

อย่างน้อยที่สุดกิจการวิทยุสมัครเล่นในความถี่นี้ควรมีช่วงของความถี่ 250 KHz อาจเป็นช่วง 10100 - 10350 KHz เพื่อจะได้ใช้งานอย่างเหมาะสมที่สุด และกำหนดให้เป็นกิจการหลัก

14000 - 14350 KHz แก้

ด้วยจำนวนประชากรนักวิทยุสมัครเล่นที่เพิ่มขึ้นและมีการใช้งานอย่างอิสระในความถี่ช่วงนี้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศโดยใช้การติดต่อสื่อสารแบบ CW SSB และ Digital นั้นควรที่จะขยายกลับไปยังช่วงความถี่เดิมที่เคยได้รับ คือ 14000 - 14400 KHz

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าความถี่นี้เป็นความถี่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากของนักวิทยุสมัครเล่นที่ใช้ติดต่อระหว่างประเทศ และมักมีการใช้งานที่หนาแน่นมากทั้ง CW และ SSB ในปีที่ผ่านมาพบว่าเป็นการยากมากที่จะเพิ่มรูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบใหม่ๆ ในช่วงความถี่ 14 MHz นี้ อาจเป็นเพราะข้อจำกัดในเรื่องของการทดลองของนักวิทยุสมัครเล่นใหม่ๆที่ไม่สามารถทำได้ในความถี่นี้

ในการประชุมที่ Washington ในปี 1927 ในความถี่ช่วงนี้กำหนดให้ตั้งแต่ความถี่ 14000 - 14400 KHz แต่ในการประชุมที่ Atlantic City เมื่อปี 1947 ได้ถูกลดความถี่ลง 50 KHz มาที่ 14000 - 14350 KHz

18068 - 18168 KHz แก้

21000 - 21450 KHz แก้

24890 - 24990 KHz แก้

28.000 - 29.700 MHz แก้

29.7 - 50 MHz แก้

50 - 54 MHz แก้

กิจการวิทยุสมัครเล่นต้องการคงความถี่ช่วง 50MHz นี่ไว้ และต้องการ Bandwidth อย่างน้อย 2MHz ในทุกพื้นที่ และจัดสรรเฉพาะนักวิทยุสมัครเล่นเท่านั้นไม่น้อยกว่า 500KHz

ความถี่ช่วงนี้ถูกใช้งานโดยนักวิทยุสมัครเล่นติดต่อระยะใกล้ได้ตลอดทั้งวัน การแพร่กระจายคลื่นโดยการสะท้อนชั้นบรรยากาศและการกระจายคลื่นฟ้า โดยสะท้อนชั้นบรรยากาศชั้น E (Sporadic-E) และในบ้างครั้งขึ้นไปจนถึงชั้น F ในช่วงที่ค่าจุดดับบนดวงอาทิตย์สูง ซึ่งส่งผลให้สามารถติดต่อได้ในระยะไกลขึ้น เช่นเดียวกับการติดต่อโดยอาศัย Aurora ในแถบประเทศขั้วโลก การติดต่อโดยการสะท้อนดาวตกโดยใช้การส่งรหัสมอร์สและการติดต่อด้วยเสียง ในปัจจุบันเราสามารถใช้คอมพิวเตอร์มาเสริมการติดต่อสื่อสารแบบสะท้อนดาวตกทำให้สามารถติดต่อได้ไกลถึง 2000 กิโลเมตร

ในแถบประเทศภูมิภาคที่ 2 และ 3 และบางประเทศในภูมิภาคที่ 1 ได้กำหนดให้นักวิทยุสมัครเล่นใช้ได้ถึง 4MHz ในช่วงความถี่นี้ และบางพื้นที่ก็ถูกกำหนดให้ใช้สำหรับการส่งสัญญาณโทรทัศน์ ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถใช้งานบางช่วงของความถี่ 50MHz นี้ได้ ในประเทศที่ใช้ใบอนุญาต CEPT แถบยุโรป หรือภูมิภาคที่ 1 นั้นกำหนดให้ความถี่ช่วง 50 - 52 MHz เป็นกิจการรองในกิจการวิทยุสมัครเล่น ซึ่งหมายถึงต้องแบ่งกันใช้งานกับกิจการอื่น ซึ่งสมาคมวิทยุสมัครเล่นในแถบยุโรปก็ได้มีความพยายามที่จะขอให้เป็นกิจการหลักในกิจการวิทยุสมัครเล่น

70.0 - 70.5 MHz แก้

144.00MHz-146.00MHz== 144.000 - 148.000 MHz== กิจการวิทยุสมัครเล่นและกิจการวิทยุสมัครเล่น ต้องการคงไว้ในช่วงความถี่ 144 - 146 MHz โดยกำหนดตรงกันทั่วโลก และให้นำหมายเหตุ (Footnootes) ที่มีในบางประเทศออก และคงไว้ช่วงความถี่ 146 - 148 Mhz ในภูมิภาคที่ 2 และ 3

ในช่วงความถี่นี้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกประเทศ มีการนำ Mode ใหม่ๆ มาใช้ในความถี่นี้มาก คุณสมบัติหลักของความถี่นี้คือใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารบนพื้นโลกระยะไม่ไกลนัก ทั้งเสียงพูดและรูปแบบของเครือข่ายข้อมูล รวมทั้งการติดต่อสื่อสารสะท้อนพื้นผิวดวงจันทร์ (EME) และการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นด้วย ในบางพื้นที่ที่มีการใช้งานความถี่นี้อย่างมาก เช่น ประเทศไทย ซึ่งนักวิทยุสมัครเล่นใหม่จะได้รับอนุญาตให้ใช้ความถี่นี่เป็นหลัก มักเกิดความหนาแน่นและกระจุกตัวของจำนวนนักวิทยุสมัครเล่น สำหรับการติดต่อแบบ EME (Earth-Moon-Earth) นั้นได้รับความนิยมมากที่สุดในความถี่นี้ เนื่องด้วยเพราะอัตรการสูญเสียและสัญญาณรบกวนที่ต่ำกว่าความถี่อื่นๆ รวมทั้งระบบสายอากาศที่ไม่ยุ่งยากด้วย ในความถี่นี้นักวิทยุสมัครเล่นยังได้เฝ้าสังเกตการแพร่กระจายคลื่นที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ในรูปแบบแปลกได้อีกด้วย

220 - 225 MHz แก้

420.000 - 450.000 MHz แก้

กิจการวิทยุสมัครเล่นต้องการคงไว้ความถี่ช่วง 430 - 440 MHz ที่ครอบคลุมทุกประเทศทั่วโลก และมีการแบ่งกันใช้กับกิจการอื่นในช่วงความถี่ 430 - 430 MHz และ 440 - 450 MHz และขอให้ลบหมายเหตุ (Footnote) ในบางประเทศที่ยังคงกำหนดให้แบ่งกันใช้กับกิจการประจำที่และเคลื่อนที่ในช่วงความถี่ 430 - 440 MHz

ความถี่ช่วงนี้นับได้ว่าเป็นความถี่ที่สำคัญมากในกิจการวิทยุสมัครเล่น เป็นความถี่ที่ต่ำที่สุกที่สามารถใช้งานในรูปแบบ Fast-Scan TV (6M00C3F emission) หรือรูปแบบอื่นที่ต้องการใช้ช่วงกว้างของความถี่ (Bandwidth) คล้ายกัน ทั้งยังให้คุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยมสำหรับการใช้ในการติดต่อสารด้วยเสียงพูดและการสื่อสารข้อมูล และในขณะเดียวกันก็ยังใช้เป็นความถี่ที่ใช้ทดสอบการแพร่การจายคลื่นผ่านชั้นบรรยากาศ รวมทั้งการติดต่อสื่อสารสะท้อนพื้นผิวดวงจันทร์ Earth-Moon-Earth หรือ EME อีกด้วย

การติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นก็ใช้งานความถี่นี้อย่างมากเช่นกันในช่วงความถี่ 435 - 438 MHz ซึ่งปัจจุบันการติดต่อสือสารจากอวกาศสู่พื้นโลกของกิจการวิทยุสมัครเล่นกำหนดให้อยู่ในระหว่างความถี่ 146 MHz และ 2.4 GHz เท่านั้น และด้วยความหนาแน่นของความถี่ช่วง 435 MHz - 438 MHz ซึ่งใช้ในกลุ่มดาวเทียมที่ไม่มีมนุษย์และสถานีอวกาศที่มีมนุษย์อาศัย (สถานีอวกาศ) อาจจำเป็นต้องมีการขยายช่วงความถี่ไปเป็น 435 - 440 MHz ถ้าสามารถทำได้

เพราะว่านักวิทยุสมัครเล่นมีการใช้งานรูปแบบการติดต่อสื่อสารที่น่าสนใจมากมายในความถี่ช่วงนี้ ซึ่งต้องมีการแบ่งปันกันใช้งานในเหล่านักวิทยุสมัครเล่นด้วยกันเอง ตามความถี่ เวลาและสถานที่ ในบางครั้งมีการใช้สายอากาศทิศทางที่มีอัตราขยายสูงมากๆ ในบางรูปแบบของการติดต่อสื่อสาร หรือเพื่อต้องการแบ่งกันใช้ความถี่ แต่อย่างไรก็ตามการแบ่งใช้ความถี่กับกิจการอื่นอาจมีข้อจำกัดหลายๆ อย่าง เช่น หลายครั้งมีการจำกัดการใช้งานของกิจการวิทยุสมัครเล่นเนื่องด้วยลักษณะการใช้งานของกิจการอื่น และเพื่อเป็นการเอื้ออำนวยสำหรับการติดต่อสื่อสารและการทดสอบ ทดลองต่างๆ ระหว่างประเทศ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกำหนดให้กิจการวิทยุสมัครเล่นและวิทยุสมัครเล่นผ่านดาวเทียมในทุกๆ ประเทศใช้งานช่วงความถี่ที่ตรงกัน และกำหนดให้เป็นความถี่เฉพาะ และปราศจากการรบกวนจากการใช้งานของกิจการอื่นๆ และในขณะเดียวกันก็เป็นการป้องกันการรบกวนของกิจการอื่นด้วยเช่นกัน ที่สัญญาณจากิจการวิทยุสมัครเล่นและวิทยุสมัครเล่นผ่านดาวเทียมจะเข้าไปรวบกวนได้ ตัวอย่างเช่น การที่กำหนดให้อุปกรณ์สื่อสารระยะใกล้กำลังส่งต่ำมาใช้งานอยู่ในช่วงความถี่ 433 MHz อาจได้รับการรบกวนได้

ในการประชุม ERC-2003 ครั้งที่ผ่านมาความถี่ช่วง 420 - 470 MHz ได้ถูกพยายามที่จะนำไปใช้สำหรับกิจการดาวเทียมสำรวจโลก ซึ่งในครั้งนั้น IARU ได้เข้าร่วมด้วย และพบว่าการนำความถี่ไปใช้งาน ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดการใช้ความถี่ของกิจการวิทยุสมัครเล่นและวิทยุสมัครเล่นผ่านดาวเทียม จนกว่าจะมีความเห็นเป็นที่น่าพอใจของ Recommendation ITU-R SA.1260 ซึ่งต่อมาได้ผ่านการพิจารณาในปี 2003 และในที่ประชุม WRC-03 ได้กำหนดให้กิจการดาวเทียมสำรวจโลกมาใช้เป็นกิจการรองในความถี่ 432 - 438 MHz

Fixed Wireless Access (FWA) ก็ได้นำเสนอแผนที่จะนำความถี่ 423.05 - 430 MHz และ 440 - 450 MHz ในประเทศภูมิภาคที่ 2 ซึ่งไม่ได้กำหนดให้เป็นของกิจการวิทยุสมัครเล่น ไปใช้งานสำหรับ FWA

ความถี่ระหว่าง 450 MHz ถึง 24 GHz แก้

902 - 928 MHz แก้

1240 - 1300 MHz แก้

2300 - 2450 MHz แก้

3300 - 3500 MHz แก้

5650 - 5925 MHz แก้

10 - 10.5 GHz แก้

ความถี่สูงกว่า 24 GHz แก้

24 - 24.05 GHz แก้

กิจการวิทยุสมัครเล่นต้องการให้กำหนดความถี่นี้เป็นความถี่หลักสำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่นช่วง 24 - 24.05 GHz

24.05 - 24.25 GHz แก้

กิจการวิทยุสมัครเล่นต้องการให้กำหนดความถี่นี้เป็นความถี่หลักสำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่นช่วง 24.05 - 24.25 GHz

47 - 47.2 GHz แก้

กิจการวิทยุสมัครเล่นต้องการให้กำหนดความถี่นี้เป็นความถี่หลักสำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่นช่วง 47 - 47.2 GHz

ความถี่ระหว่าง 71 GHz ถึง 275 GHz แก้

ความถี่สูงกว่า 275 GHz แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิง แก้