สู่ความหวังใหม่

สู่ความหวังใหม่ คือสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 1 ของวงซูซู วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2532 โดยค่าย แว่วหวาน ที่มี เอ็มจีเอ เป็นผู้จัดจำหน่าย โดยมี ระพินทร์ พุฒิชาติ และ ทอม ดันดี เป็นนักร้องนำหลักของวง เมื่ออัลบั้มนี้ได้ถูกวางจำหน่ายออกไป ก็ได้รับความสนใจแก่นักฟังเพลงในช่วงเวลานั้นอยู่ไม่น้อย[ใคร?] โดยเฉพาะคนฟังเพลงในแนวเพลงเพื่อชีวิต ด้วยเพลงเปิดตัวอย่าง อับดุลเลาะห์ ที่ได้แอ๊ด คาราบาว มาร่วมร้องเพลงนี้ในท่อนเปิด และเพลงที่ทำให้ซูซูนั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ก็คือเพลง บ่อสร้างกางจ้อง บทเพลงสนุกในสไตล์จังหวะสามช่า ที่ขับร้องโดย ทอม ดันดี จากผลงานการเขียนของ เศก ศักดิ์สิทธิ์ ผู้จัดการวง ที่เคยเขียนเพลง เด็กปั๊ม และ สาวรำวง จนประสบความสำเร็จมาก่อนหน้า โดยอัลบั้มนี้สามารถทำยอดขายได้สูงถึงกว่า 900,000 ตลับเลยทีเดียว[1]

สู่ความหวังใหม่
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาด1 พฤษภาคม พ.ศ. 2532
บันทึกเสียงมิกซ์สตูดิโอ
แนวเพลง
  • เพลงเพื่อชีวิต
  • ร็อค
  • สามช่า
ความยาว40:20
ค่ายเพลงแว่วหวาน
โปรดิวเซอร์ยืนยง โอภากุล และ ซูซู
ลำดับอัลบั้มของซูซู
สู่ความหวังใหม่
(2532)
ปะการังไปไหน
(2533)ปะการังไปไหน2533

รายชื่อเพลง

แก้
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ร้องนำยาว
1."อับดุลเลาะห์"ระพินทร์ พุฒิชาติ , ศักดิ์สิทธิ์ เชื้อกลางยืนยง โอภากุล , ซู4.10
2."ใครสักคน"ศักดิ์สิทธิ์ เชื้อกลาง , ระพินทร์ พุฒิชาติซู4.00
3."ม้งลงแดง"วีระศักดิ์ ขุขันธิน , ระพินทร์ พุฒิชาติซู4.00
4."อ้อล้อ"ยืนยง โอภากุล , วีระศักดิ์ ขุขันธินอู๊ด3.20
5."แม่นบ่"ระพินทร์ พุฒิชาติ , วีระศักดิ์ ขุขันธินซู4.00
6."บ่อสร้างกางจ้อง"ศักดิ์สิทธิ์ เชื้อกลางทอม3.50
7."นกเขา"ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งบนปกอัลบั้มทอม3.20
8."ยับเยิน"วีระศักดิ์ ขุขันธินทอม4.27
9."ไส้เดือน"ยืนยง โอภากุล , วีระศักดิ์ ขุขันธิน , ระพินทร์ พุฒิชาติทอม / ยืนยง โอภากุล (พูด)4.35
10."สุวรรณภูมิ"ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งบนปกอัลบั้มซู / ทอม4.28
ความยาวทั้งหมด:40:20

จุดเริ่มต้น

แก้

วงซูซู มีจุดเริ่มต้นมาจากการรวมตัวกันของทีมนักดนตรีเพลงเพื่อชีวิตชั้นนำในช่วงนั้น นำโดย ซู - ระพินทร์ พุฒิชาติ อดีตหัวหน้าวงกะท้อน ที่ได้ถูกขับไล่ออกจากวงมา ภายหลังจากการทำอัลบั้มชุดที่ 3 ญี่ปุ่น-ยุ่นปี่ ในปี พ.ศ. 2531 ด้วยเหตุผลที่ขัดแย้งกับผู้จัดการวงและเพื่อนร่วมวง จึงได้มารวมตัวกับ 2 นักดนตรีจากวงคาราวาน ที่กำลังจะมีโครงการที่จะพักวงในขณะนั้น ซึ่งก็คือ เอ็ดดี้ - สุเทพ ปานอำพัน และ อู๊ด ยานนาวา พร้อมทั้ง ปราโมทย์ ม่วงไหมทอง ทีมงานในวงกะท้อน และนักร้องหน้าใหม่อย่าง พันทิวา ภูมิประเทศ จากการแนะนำของยืนยง โอภากุล เพื่อก่อตั้งวงดนตรีกันขึ้นมาใหม่ ในชื่อของ ซูซู ที่มีซูเป็นแกนนำ โดยมี วีระศักดิ์ ขุขันธิน มาร่วมจัดการเนื้อร้อง , ศักดิ์สิทธิ์ เชื้อกลาง จัดการในด้านเนื้อร้องเป็นหลัก พร้อมกับการทำหน้าที่เป็นผู้จัดการให้กับวงซูซู และได้ แอ๊ด คาราบาว มาร่วมเป็นโปรดิวเซอร์ร่วมกับทางวงให้กับอัลบั้มชุดนี้อีกด้วย

“หน้าที่โปรดิวเซอร์ของผมอาจจะแปลกกว่าคนอื่น

ผมทำได้แค่เพียงว่าจุดไหนเป็นจุดที่ดี ผมจะให้เขาคำนึงกันถึงจุดนั้น
ผมไม่ได้เปลี่ยนทิศทางดนตรีที่เขากำลังเล่นกันอยู่
ไม่ว่าจะเป็นลักษณะเด่นอย่างกีตาร์ของเขา การร้อง หรือลักษณะดนตรี
สัดส่วนของดนตรียังคงความเป็นเอกลักษณ์ที่เขามีอยู่
ส่วนเพลงที่เสริมเข้าไป ก็เป็นเพลงที่นำมาจากแนวของตลาดปัจจุบัน

เพราะฉะนั้นในจุดที่ผมเป็นโปรดิวเซอร์อันนี้ ไม่อยากเรียกตัวเองว่าเป็นโปรดิวซ์ แต่อยากเรียกว่าเป็นผู้ร่วมงานมากกว่า”[ต้องการอ้างอิง]

— ยืนยง โอภากุล
1 ในโปรดิวเซอร์ของอัลบั้มชุดนี้ กล่าวถึงส่วนของการทำงานของตนในชุดนี้

“จุดแรก ผมต้องการจะหนีตัวเอง เพราะทีมที่ทำซูซูนี่ก็เป็นทีมครีเอทีฟของกะท้อนมาตลอด

เราจึงต้องการความคิดอะไรใหม่ๆ ต้องการอะไรที่มันกว้างขึ้น ส่วนของแอ๊ดที่เขามีอยู่มันเข้มข้นดี ก็ขอให้เขามาช่วยคนเดียว
ที่ว่ากว้างนี่หมายถึงสามารถทำอะไรที่มันแตกต่างจากที่เป็นอยู่ อาจจะไม่มากนัก แต่ก็ยังดีกว่าเก่า ...
ในส่วนของเนื้อหาก็ยังคงเป็นเพลงเพื่อชีวิตอยู่ มีทั้งหนักทั้งเบานะครับ

คือไม่หนักเท่าคาราวาน คาราบาว เป็นน้องลงมาว่างั้นเถอะ ส่วนที่เป็นเอนเตอร์เทนก็มีมากขึ้น”[ต้องการอ้างอิง]

— ระพินทร์ พุฒิชาติ
ตอบคำถามถึงเหตุผลที่ได้เลือกยืนยงเข้ามาเป็นโปรดิวเซอร์ของงานชุดนี้

เบื้องหลัง

แก้

อับดุลเลาะห์

แก้

บทเพลงอับดุลเลาะห์ เริ่มต้นเกิดขึ้นมาจากการที่ระพินทร์ เคยเขียนเพลง “บุหงาอันดามัน” ให้กับวงกะท้อนในอัลบั้ม ญี่ปุ่น-ยุ่นปี่ ถึงเรื่องราวของพี่น้องชาวใต้ในก่อนหน้านี้ เมื่อเริ่มมาทำเพลงให้กับวงซูซู จึงเริ่มจับประเด็นที่หนักขึ้น ถึงปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสอดคล้องแก่โครงการฮารับปันบารูในขณะนั้น ผนวกกับการที่ระพินทร์คิดว่าควรจะมีเพลงที่เกี่ยวกับเพลงที่เกี่ยวข้องกับภาคใต้สักเพลง ในการที่ระพินทร์ได้ลงไปทัวร์คอนเสิร์ตทางภาคใต้ แล้วพบทั้งปัญหาค่าใช้จ่ายสูง และเดินทางลำบาก หากวงไม่แข็งจริงจะไม่เหลือตังค์กลับบ้านเลย ตามคำบอกเล่าของเขา โดยเดิมทีชื่ออัลบั้มและชื่อของเพลงนี้ได้ถูกตั้งชื่อว่า “มูฮัมมัด” มาก่อน[ต้องการอ้างอิง] แต่เนื่องจากความเกี่ยวพันทางด้านศาสนาอิสลาม ที่เป็นปัญหาละเอียดอ่อน จากการปรึกษาท่านจุฬาราชมนตรี ที่ไม่สามารถนำชื่อนี้มาทำเป็นเพลงเพื่อความบันเทิงได้ ถ้าเป็นลูกของท่านก็พอจะอนุโลมได้ แต่ขอให้มีสาระเพื่อส่วนรวม จึงต้องเปลี่ยนมาเป็น ‘อับดุลเลาะห์ (อับดุลลอฮ)’ หรือ ‘สู่ความหวังใหม่’ ในที่สุด นอกจากนี้ยืนยงยังได้มาร่วมร้องเพลงนี้เพื่อความแข็งแรงทางด้านการตลาด พร้อมทั้งแนะนำให้ระพินทร์ตะโกนคำว่า อัสลามูอาลัยกุม ในช่วงเริ่มเพลงเพื่อเป็นการทักทายแก่พี่น้องชาวมุสลิมอีกด้วย

ใครสักคน

แก้

แม้จะได้ถูกเลือกให้มาเป็นเพลงที่ 2 ประจำอัลบั้มชุดนี้ แต่จริงๆ แล้วเพลงนี้กลับเป็นเพลงสุดท้ายที่ได้ถูกเขียนขึ้นมาไว้ในชุดนี้ โดยนำเค้าโครงมาจากเรื่องราวชีวิตจริงจากเพื่อนของระพินทร์ที่รู้จักกัน ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากการที่เขากำลังนั่งดีดกีต้าร์โปร่งแล้วนึกทำนองขึ้นมาได้ จึงได้มอบให้ศักดิ์สิทธิ์เป็นผู้ประพันธ์เพลงนี้ .. “เพื่อนฉันมันเรียนอย่างเดียว ไม่ต้องทำงานแล้ว เมียหมอนวดมันส่งเรียน” - ระพินทร์[ต้องการอ้างอิง] จนลงตัวออกมาเป็นเพลง ใครสักคน ในอัลบั้มสู่ความหวังใหม่ได้ในที่สุด

อ้อล้อ

แก้

คือเพลงที่ยืนยง เขียนขึ้นมาได้กว่า 80% ระพินทร์จึงได้ขอรับมาทำต่อให้เสร็จ ด้วยการให้เพิ่มเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ “ยาดอง” เข้าไปในท้ายเพลงด้วย และเพลงนี้เป็นเพลงที่ใช้เวลาในการเลือกนักร้องอยู่พอสมควร เพราะตัวของระพินทร์เองขอเลือกที่จะไม่ร้องเพลงนี้ หรือจะเอาพันทิวาก็เสียงเหน่อไป จึงได้ตัดสินใจเลือกมือกลองอย่างอู๊ดมาร้องเพลงนี้ แม้ตัวเขาเองจะปฎิเสธไป แต่ระพินทร์ก็ได้ให้เหตุผลแนะนำไปว่าเป็นเพลงดีที่ควรจะร้อง คนฟังจะได้สนใจในการตีกลองของเขาด้วย จนเขาต้องยอมร้องในที่สุด[ต้องการอ้างอิง]

“เป็นมติของทางวงเขานะ เขาเห็นว่าเสียงแปลกดี ไม่ใช่นักร้อง พอร้องหวานๆ ก็ร้องไม่ได้ บังคับเสียงไม่เป็น เสียงมันก็ออกมาดิบๆ ตอนร้องก็หลายเทค (หัวเราะ) สั่นน่าดู ยากนะ ใครมาลองร้องเพลงดูสิ แล้วจะรู้ โอ้โห อย่าบอกใครเลย” - อู๊ด ยานนาวา[ต้องการอ้างอิง]

ม้งลงแดง

แก้

เพลงนี้มาจากเค้าโครงจากเรื่องราวของ วีระศักดิ์ ขุขันธิน (ผู้ประพันธ์เพลงนี้) ที่ได้นำเรื่องราวมาจากการตนเคยกินเหล้าข้าวโพดกับพี่น้องชาวม้งอยู่บ่อยครั้ง ในช่วงที่เคยเข้าป่าไปเป็นคอมมิวนิสต์มาก่อนหน้านี้ จนลงตัวออกมาเป็นเพลง ม้งลงแดง ในเวลาต่อมา[ต้องการอ้างอิง]

บ่อสร้างกางจ้อง

แก้

ในช่วงที่ต้องเริ่มทำอัลบั้มกัน ระพินทร์ , ศักดิ์สิทธิ์ และวีระศักดิ์ ได้พากันเดินทางขึ้นไปทางภาคเหนือ เพื่อเริ่มหาข้อมูลเขียนเพลงให้กับอัลบั้ม โดยมีคอนเซปต์ไว้ในใจเเล้วว่า จะต้องมีเพลงโจ๊ะเป็นเพลงนำร่องในอัลบั้มชุดนี้ด้วย ทั้ง 3 ได้พักอยู่ทางภาคเหนือถึง 1 อาทิตย์ด้วยกัน เเละได้เก็บข้อมูลจากหลายๆ สถานที่ โดยหนึ่งในสถานที่ก็คือ หมู่บ้านทำร่มบ่อสร้าง ใน อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ศักดิ์สิทธิ์ได้มีความประทับใจกับร่มที่มีสีสันสวยงาม และพบกับแม่ค้าขายร่มจากหมู่บ้านทำร่มบ่อสร้างที่เป็นคนยิ้มแย้มแจ่มใส เมื่อกลับมาถึงที่พัก ศักดิ์สิทธิ์จึงได้จับปากกาเขียนเพลง จากภาพความประทับใจนั้นออกมา ภายในระยะเวลาเพียงแค่คืนเดียว ในชื่อของ สาวบ่อสร้าง แต่เนื่องจากศักดิ์สิทธิ์เห็นว่าชื่อเพลงนั้นไปคล้ายกับชื่อเพลงสาวรำวงที่ตนเคยเเต่งไว้ในอดีต จึงได้เปลี่ยนมาเป็น บ่อสร้างกางจ้อง และเมื่อทางวงได้มอบเพลงนี้ให้พันทิวา ได้ลองร้องเพื่อทำการออดิชันก่อนเข้าวง ก็กลับลงตัวอย่างไม่น่าเชื่อ[ต้องการอ้างอิง] จึงได้รับพันทิวาเข้ามาเป็นนักร้องนำ พร้อมกับมอบเพลงนี้ให้เขาร้อง จนทำให้หลายคนได้รู้จักชื่อของ ทอม ดันดี จากเพลงนี้ในเวลาต่อมา นอกจากนี้เพลงนี้ยังได้ถูกเคยนำไปใช้ประกอบในพิธีเปิดแข่งขันกีฬาแห่งหนึ่ง ณ สนามสมโภช 700 ปี เชียงใหม่อีกด้วย[ต้องการอ้างอิง]

ยับเยิน

แก้

ยับเยิน เป็นเพลงที่วีระศักดิ์ ตั้งใจเขียนขึ้นมาให้กับตัวของพันทิวาได้ร้องเอาไว้โดยเฉพาะ และยังได้ยืนยงมาร่วมโซโล่กีตาร์ให้กับเพลงนี้ในท่อนกลางและท่อนจบในเพลงนี้อีกเช่นเคย

“... ถ้าเพลงอย่างยับเยิน เรียกว่าเป็นเพลงเพื่อชีวิต ผมว่ามันยังทำงานได้อีกเยอะเลย เพราะว่ามันง่ายๆ ชัดเจนโดยแง่คิด สมมติว่ามันเป็นเพลงเพื่อชีวิตโดยอารมณ์ หัวข้อมันตั้งขึ้นมาก็ต้องเป็นเพลง ‘เพื่อชีวิต’ แล้วล่ะ ไม่ได้หลุดไปจากตรงนี้ เพียงแต่ว่าแง่มุมไหนที่จะให้มันง่ายหน่อย” - วีระศักดิ์ให้ความเห็นกับนิตยสารสีสัน ถึงทิศทางความตันของเพลงเพื่อชีวิตในเวลานั้น โดยยกยับเยิน ผลงานของตนมาเป็นตัวอย่าง[ต้องการอ้างอิง]

นักดนตรี

แก้
  1. ซู พุฒิชาติ : กีตาร์ , ร้องนำ
  2. อู๊ด ยานนาวา : กลอง , ร้องนำ
  3. สุเทพ ปานอำพัน : เบส , คอรัส
  4. พันทิวา ภูมิประเทศ : ร้องนำ
  5. เรืองยศ พิมพ์ทอง : คีย์บอร์ด , แฮมมอนด์
  6. ปราโมทย์ ม่วงไหมทอง : คอรัส , ผู้ช่วยนักดนตรี

นักดนตรีอื่นที่ร่วมงาน

แก้
  1. Mr. Ulu : Xylorimba
  2. สิริพร พงษ์พิสิษฎ์ : คอรัส
  3. พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ : คอรัส
  4. ยืนยง โอภากุล  : กีตาร์โซโล่เพลง “ไส้เดือน” , “อ้อล้อ” (ท่อนกลาง) , “ยับเยิน” (ท่อนกลางถึงจบ) และร้องนำเพลง “อับดุลเลาะห์”

เครดิต

แก้
  • คำร้อง-ทำนอง : ยืนยง โอภากุล , ศักดิ์สิทธิ์ เชื้อกลาง , วีระศักดิ์ ขุขันธิน , ระพินทร์ พุฒิชาติ
  • บันทึกเสียง : มิกซ์สตูดิโอ
  • ซาวด์เอ็นจีเนียร์ : สนอง โสตถิลักษณ์ , สนิท นรฮิม , กฤษณะ วงศ์สุข , สัมพันธ์ บัวผดุง , Mori Hideki (Records Drums Set)
  • มิกซ์เสียง : คาราบาวสตูดิโอ
  • ผู้มิกซ์เสียง : Gino Bodio
  • โปรดิวเซอร์ : ยืนยง โอภากุล และ Zu-Zu
  • มาสเตอร์เทป : สุรสิทธิ์ จิวะราพงษ์
  • ธุรกิจ : ศักดิ์สิทธิ์ เชื้อกลาง

แหล่งข้อมูล

แก้
  1. ความในใจจาก แอ๊ด คาราบาว บนปกซีดีอัลบั้ม ‘ทำมือ’ (กระบือแอนด์โค , พ.ศ. 2540)