สุวิน สว่างรัตน์

สุวิน สว่างรัตน์ (18 พฤศจิกายน 2465–2533?) เป็นอดีตนักแสดงอาวุโสชาวไทย ที่แสดงได้ทั้งบทดี บทร้าย และบทตลก โดยเฉพาะบทตลก เป็นที่รู้จักจากบท กำนันจอม ในภาพยนตร์เรื่องมนต์รักลูกทุ่ง (2513) พระราญรอนอริพ่าย ในภาพยนตร์เรื่องพ่อปลาไหล (2515) และบท ขุนหาญ ในภาพยนตร์เรื่องพ่อไก่แจ้ (2519)

สุวิน สว่างรัตน์
เกิด18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465
อาชีพนักแสดง • ตำรวจน้ำ
ปีที่แสดง2493, 2501–2530
ผลงานเด่นกำนันจอม – มนต์รักลูกทุ่ง (2513)
พระราญรอนอริพ่าย – พ่อปลาไหล (2515)
ขุนหาญ – พ่อไก่แจ้ (2519)

ประวัติ

แก้

สุวิน สว่างรัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 มีพี่น้องรวมทั้งหมด 6 คนจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนอมรินทร์โฆษิต ฝั่งธนบุรี ต่อมาได้เข้ารับราชการในกรมโรงงานทหารอากาศ ก่อนจะลาออกมารับราชการเป็นตำรวจน้ำที่คลองสานตรงศุลกสถาน ตรงข้ามกับไอคอนสยาม ในเวลาว่างก็ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่เป็นอาชีพเสริม

ก้าวเข้าสู่วงการจากการชักชวนของพี่ชายที่อยู่ในวงการบันเทิงให้มาแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกคือเรื่อง ทาษกบฏ (2493) ที่กำกับโดยครูมารุต โดยรับบทพระเอก แต่ก็กลับไปรับราชการเป็นตำรวจน้ำเนื่องจากเบื่อ จากนั้นในปี พ.ศ. 2501 วสันต์ สุนทรปักษิณ และสนั่น นาคสู่สุข หรือ เซียนเป๋ 2 ผู้สร้างภาพยนตร์ชื่อดังได้สร้างภาพยนตร์เรื่องเหยี่ยวราตรี (2501) จึงติดต่อทาบทามสุวินให้กลับมาแสดงภาพยนตร์อีกครั้งโดยรับบทเป็นตำรวจซึ่งเป็นพระรองของเรื่อง

ในปี พ.ศ. 2507 เขาได้ร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่องนกน้อย ซึ่งกำกับโดยดอกดิน กัญญามาลย์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากทำรายได้เกิน 1 ล้านบาททำให้สุวินตัดสินใจลาออกจากราชการมาเป็นนักแสดงแบบเต็มตัว สุวิน สว่างรัตน์ เสียชีวิตเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2533[1]

ผลงาน

แก้

ภาพยนตร์

แก้
ปี เรื่อง รับบท ค่าย หมายเหตุ
2493 ทาษกบฏ สากลสยามภาพยนตร์ ภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิต
2501 เหยี่ยวราตรี วสันต์ภาพยนตร์
2502 ชาติสมิง จิวทง เสรีภาพยนตร์
สี่คิงส์ ไทยไตรมิตรภาพยนตร์
2503 ยอดเดี๋ยว จินดาวรรณภาพยนตร์
2504 ลั่นทมสะอื้น กุหลาบทิพย์ภาพยนตร์
มังกรหยก อึ้งเอี๊ยะซือ จินดาวรรณภาพยนตร์
สุดปรารถนา ศุภฤกษ์ภาพยนตร์
2505 บันทึกรักของพิมพ์ฉวี ทิม จินดาวรรณภาพยนตร์
อ้อมอกสวรรค์ หลวงพิทยไพบูลย์/นายชด
จ้าวชีวิต กุหลาบทิพย์ภาพยนตร์
2506 เจ็ดประจัญบาน วัชรภาพยนตร์
เสือเก่า ภาพยนตร์สหะนาวีไทย
กลางดงเสือ สนั่นศิลป์ภาพยนตร์
แพนน้อย กัญญามาลย์ภาพยนตร์
หนึ่งในทรวง ท่านทูตวิทย์ จินดาวรรณภาพยนตร์
นางกระต่ายป่า สนั่นศิลป์ภาพยนตร์
ฝนแรก กัญญามาลย์ ภาพยนตร์
2507 ขุนดง จินดาวรรณภาพยนตร์
นกน้อย กัญญามาลย์ภาพยนตร์
ละอองดาว ภาพยนตร์สหนาวีไทย
2508 เทพบุตรนักเลง นันทนาครภาพยนตร์
ลมหวน กัญญามาลย์ภาพยนตร์ ภาพยนตร์เพลงเรื่องแรกของไทย
มัจจุราชเปลือย เทพนิมิตภาพยนตร์
เกียรติศักดิ์ทหารเสือ ภาพยนตร์สหนาวีไทย
ถิ่นผู้ดี สนั่นศิลป์ภาพยนตร์
รัศมีแข ดาราไทยฟิล์ม
เงารัก จินดาวรรณภาพยนตร์
นางไม้ สนั่นศิลป์ภาพยนตร์
ศึกเสือไทย ฉัตรชัยภาพยนตร์
เงิน เงิน เงิน ละโว้ภาพยนตร์
2509 ศึกบางระจัน หมู่เคลิ้ม ภาพยนตร์สหนาวีไทย
คมสีหราช จิตราภาพยนตร์
กาเหว่า ศิรินทราภาพยนตร์
น้อยไจยา วัฒนาภาพยนตร์
อรุณเบิกฟ้า จินดาวรรณภาพยนตร์
แสงเทียน กัญญามาลย์ภาพยนตร์
พิมพิลาไล นพรัตน์ภาพยนตร์
นกเอี้ยง กัญญามาลย์ภาพยนตร์
เพื่อนรัก หม่อมเจ้านเรนทร์ จินดาวรรณภาพยนตร์
2510 มดแดง กัญญามาลย์ภาพยนตร์
ตะวันสีทอง พิษณุภาพยนตร์
ฟ้าเพียงดิน บูรพาศิลป์ภาพยนตร์
สิงห์สองแผ่นดิน สุริยันภาพยนตร์
ปิ่นรัก เหิม นพรัตน์ภาพยนตร์
ล่าพยาบาท สนั่นศิลป์ภาพยนตร์
ทรชนคนสวย ละโว้ภาพยนตร์
พยัคฆ์ร้ายใต้สมุทร จินดาวรรณภาพยนตร์
ปูจ๋า ฤทธิ์ กัญญามาลย์ภาพยนตร์
เหนือเกล้า สหชัยภาพยนตร์
9 เสือ ภควดีภาพยนตร์
บ้าบิ่นบินเดี่ยว สะท้านภาพยนตร์
จุฬาตรีคูณ วัฒนภาพยนตร์
เทพธิดาบ้านไร่ เสรีภาพยนตร์

อ้างอิง

แก้
  1. "สุวิน สว่างรัตน์". thaimovie.