สุวิช จันทประดิษฐ์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สุวิช จันทประดิษฐ์ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม[1] ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2537 เดิมเคยรับราชการในกองทัพอากาศ เป็นผู้ช่วยทูตทหารอากาศไทยประจำกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และ เคยเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ เคยเป็นอดีตราชองครักษ์พิเศษ[2] ต่อมา เป็นผู้บัญชาการสถาบันวิชาทหารอากาศชั้นสูง
พลอากาศเอก สุวิช จันทประดิษฐ์ | |
---|---|
ปลัดกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2535 – 30 กันยายน พ.ศ. 2537 | |
ก่อนหน้า | พลเอก วันชัย เรืองตระกูล |
ถัดไป | พลเอก ประเสริฐ สารฤทธิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2477 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
คู่สมรส | เพ็ญพรรณ จันทประดิษฐ์ |
ประวัติ
แก้พลอากาศเอก สุวิช จันทประดิษฐ์ เกิดที่ จังหวัดพระนคร เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2477 เป็นบุตรของนายไพโรจน์ กับนางผ่องศรี เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนลำเนาพิทยาคม ต่อมาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดปราจีนบุรี จนจบ ม.2 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บิดาได้ส่งมาเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ ที่โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก จนกระทั่งจบ ม.8 สายวิทยาศาสตร์ ต่อมา พ.ศ. 2496 กองทัพอากาศได้เปิดโรงเรียนนายเรืออากาศเป็นปีแรก สุวิชสอบได้ลำดับที่ 3 จึงได้รับหมายเลขประจำตัว 3 ในระหว่างเป็นนักเรียนนายเรืออากาศ ได้เล่นรักบี้ให้กับโรงเรียนอยู่ 2-3 ปี เมื่อขึ้น ปี 5 ได้ไปเป็นศิษย์การบินอยู่ที่โรงเรียนการบินจังหวัดนครราชสีมา 1 ปี จนจบเป็นนายทหารสัญญาบัตรเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2501
สุวิช สมรสเมื่อ 9 มีนาคม พ.ศ. 2506 ภริยาชื่อ เพ็ญพรรณ จันทประดิษฐ์ มีบุตรทั้งหมด 4 คน ชาย 3 หญิง 1 ทิฆัมพร จันทประดิษฐ์ เจน จันทประดิษฐ์ พอใจ จันทประดิษฐ์ และวิศรุต จันทประดิษฐ์
การทำงาน
แก้พล.อ.อ.สุวิช รับราชการในกองทัพอากาศ มีโอกาสไปต่างประเทศหลายครั้งและไปเรียนหลักสูตรครูการบินเครื่องวัด ประกอบการบิน ที่สหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 7 เดือน (พ.ศ. 2508-09) อยู่หน่วยการบินลำเลียงของสหประชาชาติ ในกรณีสงครามเกาหลี หน่วยอยู่ที่ ตาชิกาวา ญี่ปุ่น และเคยไปราชการสงคราม 2 ครั้ง พ.ศ. 2512 เป็นทหารรับจ้าง ทำการบินรบอยู่ในประเทศลาว 1 ปี กรณีสงครามเวียดนาม
สุวิช ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยทูตทหารอากาศ ณ กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในระหว่างปี พ.ศ. 2524 ถึงปี พ.ศ. 2527 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ และเป็นผู้บัญชาการสถาบันวิชาทหารอากาศชั้นสูง จากนั้นก็ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นผู้ช่วยบัญชาการทหารอากาศ เป็นรองปลัดกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ. 2532 และเป็นปลัดกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ. 2535
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[5]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[6]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[7]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[8]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[9]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๕๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑๔ มกราคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๖, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๕๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๒๙ มีนาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๖๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๗ กันยายน ๒๕๓๐