สุวัฒน์ ม่วงศิริ

นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ (เกิด 2 มกราคม พ.ศ. 2507) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 2 สมัย อดีตเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[1] และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[2]

สุวัฒน์ ม่วงศิริ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 33
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 มกราคม พ.ศ. 2507 (60 ปี)
เขตบางแค จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2544–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2561)
ภูมิใจไทย (2561–2565)
สร้างอนาคตไทย (2565–2566)
พลังประชารัฐ (2566)
ประชาธิปัตย์ (2566–ปัจจุบัน)

ประวัติ แก้

นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ เกิดวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2507 เป็นบุตรของนายปลิว ม่วงศิริ หรือ กำนันปลิว อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับสากล ม่วงศิริ และสามารถ ม่วงศิริ[3]

งานการเมือง แก้

นายสุวัฒน์ ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตที่ 33 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือก โดยสามารถชนะรัตนา อนันต์นาคินทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนปัจจุบัน ณ ขณะนั้น ที่สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ลงได้[4] และเขาสามารถรักษาที่นั่งได้อีกครั้งในเขตพื้นที่เดิมในการเลือกตั้งครั้งถัดไป[5]

ต่อมาเมื่อมีการยุบพรรคไทยรักไทย นายสุวัฒน์จึงย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชาชนเช่นเดียวกับสมาชิกพรรคส่วนใหญ่ และลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตพื้นที่เดิมแต่แพ้ให้กับนางนันทพร วีรกุลสุนทร จากพรรคประชาธิปัตย์[6] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เขาลงในนามพรรคเพื่อไทยแต่แพ้ให้กับนางนันทพรอีกครั้ง[7]

ในปี พ.ศ. 2561 เขาย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ผลปรากฎว่านายสุวัฒน์ ได้รับคะแนนไปราว 2,000 คะแนนเท่านั้น

ในปี พ.ศ. 2565 เขาย้ายไปสังกัดพรรคสร้างอนาคตไทย แต่ในปีต่อมาแกนนำพรรคสร้างอนาคตไทยได้ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐโดยนายสุวัฒน์ได้ย้ายไปด้วยเช่นกัน และในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2566 พรรคพลังประชารัฐได้เปิดตัวนายสุวัฒน์เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร เขต 26[8] หลังจากนั้นเพียง 5 วัน ในวันที่ 23 มีนาคม เขาได้ไปเปิดตัวกับพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายสุวัฒน์ ชี้แจงถึงย้ายมาร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ว่า ครอบครัวม่วงศิริ ได้มีการพูดคุยเพื่อไม่ให้ครอบครัวส่งผู้สมัครทับซ้อนกัน เนื่องจากการแบ่งเขตใหม่ ทั้งจอมทอง บางขุนเทียน บางบอน ทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อน จึงต้องมีการตัดสินใจจัดพื้นที่ใหม่ เพื่อรวมพลังในพื้นที่นำไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้ง โดยมีนายสากล, นายสาทร, นายสารัช และ นางสาววณิชชา ม่วงศิริ ร่วมเปิดตัวด้วย[9] แต่ถึงกระนั้นผลการเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ปรากฎว่านายสุวัฒน์ยังคงไม่ได้รับเลือก

อ้างอิง แก้

  1. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๕๐/๒๕๕๕ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง [จำนวน ๑๒ ราย ๑. นางฐิติมา ฉายแสง ฯ]
  2. คำสั่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ ๑๑๕/๒๕๕๑ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นางรัตนาภรณ์ สมบูรณ์ นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ)
  3. https://www.facebook.com/bangkokbiznews (2023-04-13). "เดิมพัน 3 ตระกูล 'บ้านใหญ่' -'พรรคส้ม' ล้มแชมป์ฝั่งธนฯ ?". bangkokbiznews. {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help); แหล่งข้อมูลอื่นใน |last= (help)
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-07-24. สืบค้นเมื่อ 2023-07-24.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-07-24. สืบค้นเมื่อ 2023-07-24.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-07-24. สืบค้นเมื่อ 2023-07-24.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-07-24. สืบค้นเมื่อ 2023-07-24.
  8. "พปชร. เปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม.ทั้ง 33 เขต". prachatai.com.
  9. ปชป.เปิดรับ ‘สุวัฒน์’ หลังทิ้งพปชร. ‘ตระกูลม่วงศิริ’ ผนึก สู้ศึกชิงส.ส.ฝั่งธนฯ https://www.matichon.co.th/politics/news_3889904