นายสุรเทิน บุนนาค (11 ตุลาคม 2459 - 7 มิถุนายน 2511) อดีตผู้ช่วยหัวหน้าข่าวสาร ในสำนักงานสาขาองค์การอาหารและเกษตรแห่งภาคพื้นเอเซียตะวันออกไกล (FAO Regional Office for Asia and the Far East) ผู้ใกล้ชิดใต้เบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สนองพระเดชพระคุณด้านการพัฒนาที่ดิน และการเกษตรสมัยใหม่[1] และเป็นหนึ่งใน "พระสหจร ในพระราชพิธีทรงผนวชในรัชกาลที่ 9

สุรเทิน บุนนาค
เกิด11 ตุลาคม พ.ศ. 2459
เสียชีวิต7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 (51 ปี)
สัญชาติไทย
คู่สมรสหม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค
บุตร2 คน
บิดามารดา

ประวัติ

แก้

นายสุรเทิน บุนนาค เกิดที่ตำบลบางใบไม้ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันพุธที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2459 เป็นบุตรของ อำมาตย์ตรี พระพิศาลสุริยศักดิ์ (เทิน บุนนาค) กับนางผัน บุนนาค (สกุลเดิม สินธุสาร) มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น 9 คน คือ

  • นางสาวพิศพรรณ บุนนาค
  • นางสาวประไพ บุนนาค
  • นายสุรเทิน บุนนาค
  • นางประภา ดุละลัมพะ
  • นายประธาน บุนนาค
  • นายแพทย์มณเฑียร บุนนาค
  • พันตรี ฐิติ บุนนาค
  • นางบุณฑริก สกุลเอี่ยม
  • นางตาบทิพย์ บุนนาค

ลำดับสกุลวงศ์

แก้

ครอบครัว

แก้

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2491 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร และเจ้าจอมมารดาอ่อน ในรัชกาลที่ 5 ได้ทรงจัดการสมรส นายสุรเทิน บุนนาค กับหม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค ธิดา พลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) กับท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) โดยทั้ง 2 มีบุตรสองคน คือ

  • พลเอกกรีเมศร์ (ศูลี) บุนนาค สมรสกับ คุณหญิงสุนิดา (สกุลเดิม สัมพันธารักษ์) มีบุตร - ธิดา 2 คือ
  • พันเอกสุรธัช บุนนาค

การศึกษา

แก้

นายสุรเทิน บุนนาค ได้เข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมวัดประยุรวงศาวาส ในปี พ.ศ. 2470-2472 ต่อมาในระหว่างปี พ.ศ. 2473-2479 เข้าศึกษาที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล จากนั้นในปี พ.ศ. 2483 ได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ (U.P.) ประเทศฟิลิปปินส์ และในปี พ.ศ. 2489 ศึกษาที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับปริญญา B.S. (Michigan)

เมื่อจบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยมิชิแกนแล้ว ได้ดูงานตามสถาบันการเกษตรที่สำคัญ ๆ ของสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง เช่นที่ กระทรวงเกษตร สถานทดลองค้นคว้าที่ Beltsville รัฐแมริแลนด์ สถานีทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับข้าวที่ Crowley รัฐลุยเซียนา สถานีทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับผลไม้เมืองร้อนที่ Houston รัฐเท็กซัส เป็นต้น

การทำงาน

แก้

นายสุรเทิน บุนนาค เข้ารับราชการในแผนกบำรุงพันธุ์ข้าวท้องถิ่น กองข้าว กรมเกษตรและการประมง กระทรวงเกษตร เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2482 จากนั้นได้ลาไปศึกษาต่อที่ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี พ.ศ. 2483 หลังจากสำเร้จการศึกษาจึงกลับเข้ารับราชการที่แผนกปราบศัตรูพืช กองพืชพันธุ์ กรมเกษตร กระทรวงเกษตร ในปี พ.ศ. 2486 และลาไปศึกษาต่ออีกครั้งในปี พ.ศ. 2489 ที่มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ ประเทศฟิลิปปินส์ และย้ายไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกาในปีเดียวกัน

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2492 ได้กลับเข้ารับราชการประจำกองการทดลองค้นคว้า กรมเกษตร กระทรวงเกษตร จากนั้นอีกหนึ่งเดือนต่อมา จึงลาออกจากราชการเพื่อเข้าทำงานกับองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ

นายสุรเทิน บุนนาค มีส่วนร่วมในการทำงานการกุศลสาธารณประโยชน์ต่างๆ และมีตำแหน่งในองค์การ สมาคม และมูลนิธิต่าง ๆ อาทิ เป็นประธานประชาสัมพันธ์ของไลออนส์สากลภาค 310 (ไทย - เวียดนาม) ปี พ.ศ. 2509 - 2511 เป็นอดีตนายกสโมสรไลออนส์กรุงเทพฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี 2503-2505 เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการชุมนุมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่ปี 2509-2512

เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการอำนวยการสมาคมต่อต้านยาเสพติดให้โทษแห่งประเทศไทย และเป็นกรรมการกลางของสมาคมฯ เป็นกรรมการและเลขานุการสาขาเกษตรศาสตร์ ของมุลนิธิอานันทมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นกรรมการกลางของมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชูปถัมภ์

หน้าที่พิเศษ

แก้

นายสุรเทิน บุนนาค เป็นผู้ทำงานใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตั้งแต่ทั้งสองพระองค์เสด็จกลับจากต่างประเทศ และทรงเข้าพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสแล้วเป็นต้นมา โดยเฉพาะงานด้านการเกษตร และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (F.A.O)

ในด้านเกี่ยวกับการศึกษา ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายสุรเทิน บุนนาค เป็นกรรมการและเลขานุการ สาขาเกษตร ของมูลนิธิอานันทมหิดล นายสุรเทิน ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเรียบร้อย ทำการติดต่อช่วยเหลือนักเรียนทุนเกษตรทุกคนอย่างใกล้ชิด เอาใจใส่ในความเป็นอยู่ของนักเรียนตลอดเวลาที่อยู่ในต่างประเทศ จนกระทั่งสำเร็จกลับมา[2]

ภารกิจการส่งเสริมการเลี้ยงครั่ง

แก้

เนื่องด้วยครั่งได้เป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศไทย ในระยหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ประเทศไทยได้ส่งสินค้าครั่งไปขายเป็นมูลค่าเฉลี่ยแล้วไม่น้อยกว่าปีละ 100 ล้านบาทเศษ รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของครั่ง จึงได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรดำเนินการส่งเสริมการเลี้ยงครั่งให้แพร่หลายยิ่งขึ้น เป็นการส่งเสริมอาชีพทางเกษตรกรรมอีกด้านหนึ่ง โดยกรมป่าไม้เป็นผู้มีหน้าที่ดำเนินการส่งเสริมครั่งให้บรรลุเป้าหมายเป็นลำดับเรื่อยมาโดยมิได้หยุดยั้ง แต่เนื่องจากในระยะหลังจาก พ.ศ. 2502 เป็นต้นมา ราคาครั่งได้ตกต่ำ ราษฎรไม่นิยมการเลี้ยงครั่ง ทางกระทรวงเกษตรก็มิได้นิ่งนอนใจ ได้ตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยรองปลัดกระทรวงเกษตร เป็นประธานกรรมการ เรียกว่า คณะกรรมการส่งเสริมการผลิตครั่งของกระทรวงเกษตร ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการเพาะเลี้ยงครั่งมารวมเป็นกรรมการด้วย ซึ่งในคณะกรรมการชุดนี้ มี นายสุรเทิน บุนนาค ด้วยผู้หนึ่ง ที่ได้รับเชิญเป็นกรรมการ นายสุรเทิน บุนนาค ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะหาทางส่งเสริมครั่งให้ราษฎรสนใจ ทั้งยังได้เสนอแนะให้ทางกรมป่าไม้ จัดการเพาะเลี้ยงครั่งขึ้นในพระราชวังสวนจิตรลดา โดยเป็นผู้ได้นำเมล็ดพันธุ์ไม้มะแฮะนก (Mogania macrophylla) จากประเทศอินเดียไปทดลองปลูกปล่อยครั่ง โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นผู้ทรงปลูก เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2503 นอกจากนี้ ยังได้ขอพระบรมราชานุญาต ให้กรมป่าไม้ไปทดลองปล่อยครั่งกับไม้ก้ามปู ที่พระราชวังไกลกังวล อีกด้วย

ในระยะ พ.ศ. 2504 - 2509 ครั่งมีราคาตกต่ำ ทำให้ราษฎรผู้เลี้ยงครั่งเลิกล้มกิจการไปเป็นส่วนมาก ต่อมา ใน พ.ศ. 2510 ครั่งเริ่มมีราคาดีขึ้น ราษฎรสนใจในการเลี้ยงครั่งมากขึ้น แต่ก็ขาดแคลนพันธุ์ครั่งที่จะใช้เพาะเลี้ยงอยู่โดยทั่วไป กรมป่าไม้จึงต้องรับภาระหนักที่จะต้องเตรียมเพาะพันธุ์ครั่งไว้แจกแก่ราษฎรอย่างขนานใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ นายสุรเทิน บุนนาค เป็นผู้เรียบเรียง หนังสือ "อุตสาหกรรมครั่ง" ขึ้น เพื่อแจกจ่ายให้แก่ราษฎรผู้สนใจ

ช่วงปลายของชีวิต

แก้

นายสุรเทิน บุนนาค เริ่มป่วยด้วยโรคตับ เมื่อ พ.ศ. 2509 ศาสตราจารย์ นายแพทย์วีกิจ วีรานุวัตติ์ ได้เป็นผู้ตรวจรักษามาตั้งแต่ต้น และแนะนำให้นายสุรเทิน บุนนาค พักผ่อนมาก ๆ รับประทานอาหารจืด ๆ และงดอาหารที่มีรสเค็ม กับให้งดเดินทางไกล แต่คำแนะนำประการหลังนี้ นายสุรเทินไม่ค่อยได้ปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด เพราะนายสุรเทินเป็นคนรักหน้าที่ ฉะนั้น จึงมักจะฝืนคำแนะนำของแพทย์ และเดินทางไปต่างจังหวัดบ้าง ต่างประเทศบ้าง อยู่เสมอ ๆ

ก่อนถึงแก่กรรมประมาณห้าเดือน นายสุรเทิน บุนนาค เดินทางเข้าไปในอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลายครั้ง เพื่อประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของ F.A.O. และเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดิน ในการพัฒนาอำเภอกุยบุรี ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในระหว่างอยู่ในอำเภอกุยบุรีครั้งหนึ่ง ได้รับเชื้อไข้รากสาดใหญ่ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2511 ได้เจ็บหนัก มีไข้สูง หนาวสั่น ตัวและตาเหลือง พิษจากไข้นี้ได้แผ่เข้าไปทำลายตับจนตับวาย และนายสุรเทิน บุนนาค จึงถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 รวมอายุ 51 ปี 239 วัน

เมื่อ นายสุรเทิน บุนนาค ถึงแก่กรรมแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับการศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ โปรดเกล้าฯ ให้ หม่อมหลวงบัว กิติยากร เป็นผู้แทนพระองค์ ไปในการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ นายสุรเทิน บุนนาค ณ ศาลากวีนิรมิต วัดเทพศิรินทราวาส และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหีบทองลายสลักประกอบศพ และพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม กำหนด 7 คืน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ นายสุรเทิน บุนนาค ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2511

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

สุรเทิน บุนนาค ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติ นายสุรเทิน บุนนาค ใน หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายสุรเทิน บุนนาค. หน้า (1) - (12). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2511.
  2. http://www.ohmpps.go.th/download.php?di_key=T0001_0056&dc_key=BN2511024&di_sub=0&download=pdf&file=T0001_0056[ลิงก์เสีย]
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๑๕, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๕๔ ง หน้า ๒๙๖๖, ๑๘ สิงหาคม ๒๔๙๖