ปฏิทินสุริยคติ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ปฏิทินสุริยคติ (อังกฤษ: solar calendar) คือปฏิทินที่วันที่ระบุฤดูกาลหรือสิ่งที่เท่าเทียมกับตำแหน่งของดวงอาทิตย์ที่เกี่ยวข้องกับดวงดาว โดยปฏิทินกริกอเรียนเป็นหนึ่งในตัวอย่างปฏิทินสุริยคติ ส่วนปฏิทินอีกรูปแบบคือปฏิทินจันทรคติที่เดือนเป็นไปตามวัฏจักรข้างขึ้นข้างแรมของดวงจันทร์ เดือนบนปฏิทินกริกอเรียนไม่ตรงกับดิถีจันทร์
ชาวอียิปต์น่าจะเป็นชนกลุ่มแรกที่พัฒนาปฏิทินสุริยคติ โดยระบุจุดที่ดวงอาทิตย์ที่ดาวหมา (ดาวซิริอุสหรือโซธิส) ที่ท้องฟ้าฝั่งตะวันออก ซึ่งประจวบกับช่วงที่แม่น้ำไนล์เกิดน้ำท่วมประจำปี พวกเขาสร้างปฏิทินที่มี 365 วัน ประกอบด้วย 12 เดือน แต่ละเดือนมี 30 วัน โดยเพิ่มอีก 5 วันในช่วงปลายปี อย่างไรก็ตาม ชาวอียิปต์ไม่ได้คำนึงถึงเศษเสี้ยวของวันที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปฏิทินของพวกเขาคลาดเคลื่อนไปเรื่อย ๆ[1]
ตัวอย่าง
แก้ปฏิทินสุริยคติ ได้แก่
- ปฏิทินกริกอเรียน
- ปฏิทินจูเลียน
- ปฏิทินคอปต์ (ไอยคุปต์)
- ปฏิทินญะลาลีย์อิหร่าน
- ปฏิทินสุริยคติไทย
ปฏิทินเหล่านี้มี 365 วัน ในหนึ่งปี และเพิ่มวันหนึ่งวันในปีอธิกสุรทิน
ปฏิทินสุริยคติที่แสดงดิถีจันทร์ด้วย เรียกว่า ปฏิทินสุริยจันทรคติ ได้แก่
นอกเหนือจากนี้ ยังมีปฏิทินที่ไม่ใช่ปฏิทินสุริยคติ เช่น ปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ อันเป็น ปฏิทินจันทรคติของศาสนาอิสลาม, ปฏิทินที่สอดคล้องกับคาบซินอดิกของดาวศุกร์ และปฏิทินที่สอดคล้องกับการขึ้นของดาวฤกษ์ในท้องฟ้า
อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Solar calendars
- Correspondence between Hebrew and Islamic calendars, months and holidays (pdf)