สุรัตน์ ณ เชียงใหม่

สุรัตน์ ณ เชียงใหม่ ชื่อเล่น ปาน เป็นผู้ฝึกสอนเซปักตะกร้อซึ่งได้รับการกล่าวว่าเป็นผู้ฝึกสอนระดับคุณภาพโดยเป็นที่ต้องการของทีมต่างประเทศมากที่สุด[1] และเป็นที่รู้จักสำหรับชาวไทย ในฐานะอดีตนักเซปักตะกร้อทีมชาติไทยในการแข่งขันเซปักตะกร้อชิงแชมป์โลก คิงส์คัพ รวมถึงกีฬาซีเกมส์[2]

สุรัตน์ ณ เชียงใหม่
เกิด16 สิงหาคม พ.ศ. 2501 (65 ปี)
 ไทย
อาชีพผู้ฝึกสอนเซปักตะกร้อทีมชาติ:
นักกีฬากอล์ฟ

ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 สุรัตน์ ณ เชียงใหม่ ได้เข้าร่วมแข่งกอล์ฟการกุศลเพื่อหาทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้ของประเทศไทย ที่ซึ่งเขาได้เป็นผู้ชนะเลิศ โอเวอร์ออลโลว์กรอส[3] นอกจากนี้ ใน พ.ศ. 2555 เขายังเป็นนักกีฬากอล์ฟในการแข่งขันทัวร์ ซีเนียร์[2]

ประวัติ แก้

สุรัตน์ ณ เชียงใหม่ เป็นบุตรชายคนสุดท้องของเจ้าหญิงบุญปั๋น ณ เชียงใหม่ (ธิดาในเจ้าน้อยหน่อเมือง ณ เชียงใหม่) สืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองตาก และพระยาอุปราชพิมพิสาร[4]

สุรัตน์ ณ เชียงใหม่ เป็นอดีตนักกีฬาเซปักตะกร้อทีมชาติไทยมาหลายสมัย[1] และเคยทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนเซปักตะกร้อให้แก่ทีมชาติเกาหลี, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์ และโอมาน[1] โดยได้มีส่วนช่วยให้ทีมชาติโอมานได้รับเหรียญทองแดงในตะกร้อชายหาดในเอเชียนบีชเกมส์ 2010 และหลังจากนั้น เขาได้ทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนให้แก่ทีมตะกร้อลีกที่ประเทศเกาหลีใต้อีกครั้ง[2]

เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 สุรัตน์ ณ เชียงใหม่ และสมศักดิ์ ดวงเมือง ในฐานะสองบรมครูตะกร้อได้อาสาทำการถือป้ายพิธีเปิดการแข่งขัน เซปักตะกร้อสโมสรนานาชาติ ครั้งที่ 6 อีแกทคัพ ซึ่งจัดขึ้น ณ จังหวัดลำปาง[5] และในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกันนี้ สุรัตน์ได้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้แก่ทีมนักกีฬาเซปักตะกร้อ เยาวชนเชียงใหม่ ในการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ภาค 5 ครั้งที่ 30 ที่จังหวัดตาก[6]

ความสำเร็จ แก้

ผู้ฝึกสอนเซปักตะกร้อ แก้

ทีมชาติโอมาน

นักกีฬากอล์ฟ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 โค้ชตะกร้อไทยขายดีในต่างแดน! : ข่าวสดออนไลน์
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 27 ปี สยามกีฬา: สุรัตน์ ณเชียงใหม่ ตำนานลูกหวายจากนครพิงค์
  3. 3.0 3.1 4 องค์กรจัดกอล์ฟกุศลที่เชียงใหม่ สวิงชาวเหนือช่วยภาคใต้ 2 แสน
  4. นักการเมืองถิ่นจังหวัดเชียงใหม่[ลิงก์เสีย]สถาบันพระปกเกล้า
  5. สองเก๋า - เชียงใหม่นิวส์[ลิงก์เสีย]
  6. แบโผตะกร้อเด็กเชียงใหม่ลุยศึกยช.ตากชานนท์ผจก.ทีมชายนครรับผจก.ทีมหญิง[ลิงก์เสีย]
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๒๓ เมษายน ๒๕๓๓

แหล่งข้อมูลอื่น แก้