สุรสิทธิ์ ตรีทอง

สุรสิทธิ์ ตรีทอง เป็นนักการเมืองชาวไทย เป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน และเป็นหลานชายของ บุญชู ตรีทอง อดีต ส.ส.ลำปาง

สุรสิทธิ์ ตรีทอง
สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบสัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม 2554
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 กันยายน พ.ศ. 2503 (63 ปี)
ศาสนาพุทธ

ประวัติ แก้

สุรสิทธิ์ ตรีทอง เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2503 เป็นนักการเมืองชาวแม่ฮ่องสอนโดยกำเนิด จบการศึกษาระดับปริญญาตรี นิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารการเมืองและบูรณาการ และปริญญาโท นิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารการท่องเที่ยวและบันเทิง จากมหาวิทยาลัยเกริก กรุงเทพมหานคร

สุรสิทธิ์ ตรีทอง เป็นผู้ที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาทางการศึกษาโดยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน และพิจารณาสนับสนุนงบประมาณองค์การบริหารส่วนจังหวัดในการดำเนินการ[1] เขาได้รับปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการปกครองท้องถิ่น จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

การทำงาน แก้

การเมืองท้องถิ่น แก้

สุรสิทธิ์ ตรีทอง เป็นสมาชิกสภาจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2 สมัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2545 เขาได้รับตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปี พ.ศ. 2543 เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในปี พ.ศ. 2545 จนถึงปี 2547 ต่อมาในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงจากประชาชนเป็นครั้งแรกในประเทศไทย กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2547[2] เขาได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน

สภาผู้แทนราษฎร แก้

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบสัดส่วน กลุ่ม 1 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 56[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้ง 44 ที่นั่ง

วุฒิสภา แก้

ในปี พ.ศ. 2562 สุรสิทธิ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ลำดับที่ 223[4][5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-19. สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
  2. พระปกเกล้า,สถาบัน. ฐานข้อมูลการเลือกตั้งนายก อบจ. สถาบันพระปกเกล้า : กรุงเทพ. 2547
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  5. สุดยอด!อดีตผู้ว่าขอนแก่นเจ้าของหนังสือด่วน'ทำอย่างไรให้ประชาชนหายโง่'มีชื่อเป็นส.ว.ด้วย
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๕, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๔, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น แก้