สุรศักดิ์ ตังสุรัตน์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
นาวาเอก สุรศักดิ์ ตังสุรัตน์ (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2508) หรือคนส่วนใหญ่เรียก โค้ชหมี เป็นอดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทยชุดแชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 15 และทีมชาติไทยชุดแชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 17
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | นาวาเอก สุรศักดิ์ ตังสุรัตน์ (โค้ชหมี) | ||
วันเกิด | 1 มกราคม พ.ศ. 2508 | ||
สถานที่เกิด | จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย | ||
ส่วนสูง | 1.78 เมตร (5 ฟุต 10 นิ้ว) | ||
ตำแหน่ง | กองหลัง | ||
ข้อมูลสโมสร | |||
สโมสรปัจจุบัน | สมุทรปราการ (ประธานเทคนิค)[1] | ||
จัดการทีม | |||
ปี | ทีม | ||
2008-2009 | เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด (หัวหน้าผู้ฝึกสอนและผู้ฝึกสอนเยาวชน) | ||
2010 | พะเยา เอฟซี (ที่ปรึกษา) | ||
2011 | สุพรรณบุรี (ผู้ฝึกสอนชั่วคราว) | ||
2011-2012 | ทีมชาติไทย (ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน) | ||
2012 | ฟุตบอลทีมชาติไทยเยาวชน (ผู้ฝึกสอน) | ||
2012 | ฟุตบอลคนหูหนวกทีมชาติไทย (ผู้ฝึกสอน) | ||
2013 | สมุทรปราการ (ผู้ฝึกสอนอบรมเยาวชน) | ||
2013 | นครราชสีมา (ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน) | ||
2013-2015 | ราชนาวี (ผู้ฝึกสอน) | ||
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 1 มกราคม 2562 |
ประวัติ
แก้สุรศักดิ์ อดีตทีมชาติไทย ผู้ที่โยนให้ซิโก้โหม่งแจ้งเกิดทีมชาติและคว้าแชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 13 โดยการเอาชนะพม่า 4-3
สุรศักดิ์ เคยทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม ในการเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนพาทีมเมืองทองฯ ยูไนเต็ด ก้าวเลื่อนชั้นจากดิวิชั่น 1 สู่ไทยลีกได้เป็นผลสำเร็จ ในฐานะ แชมป์ดิวิชั่น 1 และ ผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม ก่อนที่จะคุมทีมเมืองทองฯ ยูไนเต็ด ต่อในไทยลีกอีก 5 นัด และพาทีมทำผลงานสุดแกร่งไร้พ่าย แต่เนื่องจากติดในส่วนของราชการ จึงขอลาทีม และให้ อรรถพล ปุษปาคม เข้ารับหน้าที่แทนในปี 2552
15 เมษายน พ.ศ. 2554 สุรศักดิ์ เข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษาเทคนิคควบตำแหน่งกุนซือขัดตาทัพของทีมให้กับ สุพรรณบุรี เอฟซี แทนที่ วิลสัน โทลิโด้ ที่ทำผลงานออกสตาร์ตด้วยผลงานน่าผิดหวัง โดยลงสนามไปแล้ว 8 นัด ชนะ 1 เสมอ 3 และแพ้ 4 นัด เก็บได้เพียงแค่ 6 แต้มเท่านั้น หลังจากการเข้ามาของ สุรศักดิ์ โดยนัดแรกเปิดบ้านต้อนรับการมาเยือนของ กระทิงเหล็ก บางกอก เอฟซี ก่อนที่จะเสมอกันไป 2-2 โดยถือเป็นการเริ่มต้นที่ไม่เลวทีเดียว นัดที่สองบุกไปเยือน พญาอินทรี ไทยฮอนด้า ก่อนที่จะเฉือนเอาชนะไปได้หวุดหวิด 1-0 และนัดที่สามเปิดรังเหย้าเชือด ฟอร์ซ่า สมุทรปราการ ศุลกากร ไปอย่างสนุก 1-0 รวมผลงาน 3 นัด ชนะ 2 เสมอ 1 แพ้ 0 เก็บได้ 7 แต้ม สร้างความพอใจให้กับ วราวุธ ศิลปอาชา และแฟนบอลสุพรรณบุรีกับอย่างยิ่ง ซึ่งวราวุธ บอสใหญ่ของสุพรรณบุรี เอฟซี ก็อยากให้ สุรศักดิ์ มาทำทีมถาวรแต่เนื่องจากติดหน้าที่ของราชการ จึงไม่สามารถทำทีมสุพรรณบุรีแบบเต็มเวลาได้ ทางสโมสรสุพรรณบุรีเอฟซีจึงตัดสินใจดึง เรเน่ เดอซาเยียร์ กุนซือใหญ่ชาวเบลเยียม เข้ารับหน้าที่แทน
นอกจากนี้ สุรศักดิ์ ยังได้ชื่อเสียงให้กับวงการคนหูหนวกแห่งประเทศไทยในการคุมทีม ฟุตบอลคนหูหนวกทีมชาติไทย ชนะทีมฟุตบอลคนหูหนวกทีมชาติญี่ปุ่น คว้าอันดับ 1 ของเอเชีย และคว้าอันดับ 7 ของโลก ในศึกชิงแชมป์ฟุตบอลโลก ครั้งที่ 2 ที่เมืองอัลคาร่า ประเทศตุรกี ซึ่งทั้งคู่ผ่านเข้ามาในรอบ 8 ทีมสุดท้าย โดยรายการระดับโลกนี้ที่มี 16 ทีมมาทำการแข่งขัน จากการคลอลิฟลาย 125 ประเทศ
ธันวาคม พ.ศ. 2556 สุรศักดิ์ ตอบรับเข้ารับตำแหน่งกุญซือทีมตะหานน้ำ ราชนาวีสโมสร ในศึกยามาฮ่า ลีกวัน ที่ก่อนหน้านี้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเรื่องของกุนซือหลังจากที่ทางสโมสรประกาศแยกทางกับ อาจหาญ ทรงงามทรัพย์ และได้ทำการดันทางด้าน สุรศักดิ์ มือขวาเข้าทำหน้าที่แทนในฤดูกาล 2014
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 คุมทีม ราชนาวีสโมสร ได้อันดับ 3 คว้าตั๋วไทยลีกใบสุดท้ายเลื่อนชั้นสู่ไทยลีกเป็นผลสำเร็จ โดยการคุมทีมเปิดบ้านยันเสมอกับ บางกอก เอฟซี 1-1 นอกจากนี้ยังคุมทีมราชนาวีสโมสรทำผลงานรอบ 32 ทีมในรายการ มูลนิธิไทยคมเอฟเอคัพ 2014 และ โตโยต้าลีก คัพ 2014
ธันวาคม พ.ศ. 2558 สุรศักดิ์ หัวหน้าผู้ฝึกสอนนักกีฬาฟุตบอลคนพิการสมองชาติไทย นำทัพสู้ศึก อาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 8 ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมเป็นแชมป์ของรายการนี้ด้วยรูปแบบการเล่นที่น่าประทับใจ และการแก้เกมส์อย่างเหนือชั้น ทำให้ทุกครั้งที่ประเทศไทยลงสนาม จะได้รับเสียงเชียร์จากกองเชียร์มากมายทั้งไทยและต่างประเทศ
อดีตประธานฝ่ายเทคนิค
แก้- พ.ศ. 2554 สโมสรสุพรรณบุรี เอฟซี
- พ.ศ. 2555 สโมสรสมุทรปราการ เอฟซี (และช่วยดูแล พัฒนาเยาวชนสโมสร)
อดีตผู้ฝึกสอนฟุตบอล
แก้- พ.ศ. 2551 – เมษายน พ.ศ. 2552 หัวหน้าผู้ฝึกสอนสโมสรเมืองทองฯ ยูไนเต็ด
- พ.ศ. 2551 ผู้ฝึกสอนอบรมเยาวชน (เมืองทองฯ ยูไนเต็ด) โครงการความร่วมมือ ฟิวเจอร์ ฟุตบอล ดีวิลอปเม้นท์
- พ.ศ. 2553 ที่ปรึกษาสโมสรจังหวัดพะเยา เอฟซี
- เมษายน พ.ศ. 2554 หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมทีมสุพรรณบุรี เอฟซี (ผู้ฝึกสอน ชั่วคราว คุมทีม 3 นัด ชนะ 2 เสมอ 1)
- พ.ศ. 2554 – พ.ศ. 2555 ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย ชุดใหญ่
- พ.ศ. 2555 ผู้ช่วยโค้ชในทีมฟุตบอลเยาวชนทีมชาติไทย อายุ 19 ปี
- พ.ศ. 2555 ผู้ฝึกสอนฟุตบอลคนหูหนวกทีมชาติไทย (ผลงาน อันดับ 1 ของเอเชีย; อันดับ 7 ของโลก)
- พ.ศ. 2556 ผู้ฝึกสอนอบรมเยาวชน (สมุทรปราการ เอฟซี) สมุทรปราการ เอฟซี ซัมเมอร์แคมป์ 2013
- พ.ศ. 2556 ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนสโมสรนครราชสีมา เอฟซี
- พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2558 ผู้ฝึกสอนสโมสรราชนาวี
อดีตผู้ฝึกสอนฟุตซอล
แก้- หัวหน้าผู้ฝึกสอนสโมสรราชนาวี
ผลงานในนามทีมชาติไทย
แก้- อดีตนักเตะ ชุด แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 13
- อดีตนักเตะ ชุด แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 15
- อดีตนักเตะ ชุด แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 17 พ.ศ. 2536
- อดีตผู้ฝึกสอนฟุตบอลคนหูหนวกที่ชาติไทย (ผลงาน อันดับ 1 ของเอเชีย; อันดับ 7 ของโลก)
- หัวหน้าฝ่ายเทคนิคกีฬาฟุตบอลคนพิการทางสมอง สังกัดสมาคมกีฬาคนพิการทางสมองแห่งประเทศไทย
ผลงานในระดับสโมสร
แก้- พ.ศ. 2551 รางวัลผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม ดิวิชั่น 1 (สโมสรเมืองทองฯ ยูไนเต็ด)
- พ.ศ. 2557 ผู้ฝึกสอนทีม ราชนาวีสโมสร คว้าอันดับ 3 (เลื่อนชั้นสู่ไทยพรีเมียร์ลีก)
ผลงานอื่น
แก้- ผู้ฝึกสอนโรงเรียนนายเรือ กองทัพเรือ ได้รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 กีฬา 4 เหล่าทัพ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[2]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[3]
- พ.ศ. 2555 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ Samutprakan Football Club
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย เก็บถาวร 2022-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๗, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๑๘๙, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๔๐, ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖