สุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล
สุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล นักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (ประเสริฐ จันทรรวงทอง) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปทุมธานี และอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี
สุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ ไชยยศ จิรเมธากร |
ถัดไป | ศักดา คงเพชร |
ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 8 ตุลาคม พ.ศ.2567 | |
นายกรัฐมนตรี | แพทองธาร ชินวัตร |
รองนายกรัฐมนตรี | ประเสริฐ จันทรรวงทอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 ธันวาคม พ.ศ. 2500 ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2542-2544, 2547–2550) ชาติพัฒนา (2543–2547) ชาติไทย (2550–2551) เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้สุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2500[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม และระดับปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การทำงาน
แก้สุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดปทุมธานี (ส.จ.) 2 สมัย และเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี (อบจ.ปทุมธานี) ต่อมาได้เข้ามาทำงานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปทุมธานี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคชาติพัฒนาและพรรคไทยรักไทย ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทย และได้รับการเลือกตั้งต่อเนื่องอีกหลายสมัย จนกระทั่งพรรคชาติไทยถูกตัดสินยุบพรรค นายสุรพงษ์ จึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.จังหวัดปทุมธานีอีกสมัย
ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[2] ดูแลรับผิดชอบการศึกษาพื้นที่ภาคกลาง[3] ต่อมาถูกปรับออกจากตำแหน่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้สุรพงษ์ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดปทุมธานี เขต 1 สังกัดพรรคชาติพัฒนา → พรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดปทุมธานี เขต 1 สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดปทุมธานี เขต 1 สังกัดพรรคชาติไทย → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดปทุมธานี เขต 2 สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดปทุมธานี เขต 1 สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-13. สืบค้นเมื่อ 2011-08-18.
- ↑ พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 3
- ↑ ‘วรวัจน์’ มาแนวแปลก! (อีกแล้ว) เก็บถาวร 2012-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์ ผู้จัดการ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ก่อนหน้า | สุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สถาปนาตำแหน่ง | นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี (2540 – 2543) |
สุพจน์ ชัยสดมภ์ |