สุภาษิตสอนหญิง เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอน ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าประพันธ์เรื่องนี้ขึ้นเมื่อใด เนื้อหาเป็นการสอนสตรีในด้านต่างๆ เช่น การวางตัว การเจรจา การเลือกคู่ เป็นต้น นักวิชาการบางส่วนเห็นว่า วรรณกรรมเรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นผลงานของสุนทรภู่ แต่น่าจะเป็นของนายภู่ จุลละภมร ผู้เป็นศิษย์[1] อย่างไรก็ดีนักวิชาการส่วนใหญ่ยังถือว่าวรรณกรรมเรื่องนี้เป็นผลงานของสุนทรภู่อยู่ ทั้งนี้แนวคิดหลายประการที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรม แสดงให้เห็นว่าผู้ประพันธ์ค่อนข้างมีความคิดทันสมัย และเห็นความสำคัญของเศรษฐกิจการเรือนที่อยู่ในมือของผู้หญิง[2]

สุภาษิตสอนหญิง
กวีพระสุนทรโวหาร (ภู่)
ภู่ จุลละภมร (ยังเป็นที่ถกเถียง)
ประเภทสุภาษิต
คำประพันธ์กลอนสุภาพ
ยุคไม่ปรากฏ
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมวรรณศิลป์

วรรคทองจากวรรณกรรมเรื่องนี้มีอยู่มากมาย ตัวอย่างเช่น

"มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท   อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง   อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน"

อ้างอิง

  1. “สุนทรภู่” กวีเอกของไทย และเรื่องจริงที่ควรรู้[ลิงก์เสีย], เรียบเรียงจากงานวิจัยเรื่อง “ชีวประวัติของพระสุนทรโวหาร (ภู่ ภู่เรือหงส์)” โดย เทพ สุนทรศารทูล (2533). ข่าวกระทรวงศึกษาธิการ. มิถุนายน 2548.
  2. นิธิ เอียวศรีวงศ์. สุนทรภู่: มหากวีกระฎุมพี. เอกสารประกอบสัมมนา ประวัติศาสตร์สังคมสมัยต้นกรุงเทพฯ ชมรมประวัติศาสตร์ศึกษา 19 มกราคม 2524. พิมพ์รวมเล่มใน "สุนทรภู่: มหากวีกระฎุมพี", ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน. กรกฎาคม 2545

แหล่งข้อมูลอื่น