สุภัทร จำปาทอง
นายสุภัทร จำปาทอง เป็นอดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สุภัทร จำปาทอง | |
---|---|
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2565 | |
ถัดไป | อรรถพล สังขวาสี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 กันยายน พ.ศ. 2505 |
ประวัติแก้ไข
สุภัทร จำปาทอง เกิดเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2505 เป็นบุตร ศาตราจารย์พิเศษ ดร. สายหยุด จำปาทอง อดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จบการศึกษาจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน, สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมหลัก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, ปริญญาโทสาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะสำหรบนักบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2556 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
- พ.ศ. 2559 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[5]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Original_Content_By_thansettakij.com
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๖, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๒๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๕๙, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๖ - ๒๕๕๙, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๑๓, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |