สุพจน์ ตั้งตระกูลไท
เรือตรี สุพจน์ ตั้งตระกูลไท หรือ สุพจน์ ตั้งตระกูล[1] เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ 6 สมัย
ประวัติ
แก้เรือตรี สุพจน์ เกิดเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2475[2] สำเร็จการศึกษา ระดับอนุปริญญาบัตรวนศาสตร์ จาก โรงเรียนการป่าไม้
งานการเมือง
แก้เรือตรี สุพจน์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคสหประชาไทย และได้รับเลือกตั้งครั้งที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 สังกัดพรรคกิจสังคม
เขาว่างเว้นจากการเป็น ส.ส.ไป 2 สมัย และกลับมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรครวมไทย ซึ่งเขาเป็นกรรมการบริหารพรรค[3] ต่อมายุบรวมเป็นพรรคเอกภาพ และครั้งที่ 4 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 พรรคเอกภาพยุบรวมเข้าเป็นพรรคสามัคคีธรรม และเขาก็ได้รับเลือกตั้งอีกเป็นสมัยที่ 5 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 ต่อมาในปีเดียวกันได้มีการเปลี่ยนชื่อพรรคเป็นพรรคเทิดไท และสมาชิกส่วนใหญ่ลาออกไปตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ ในชื่อว่า "พรรคประชาชนไทย" และสุพจน์ ก็เข้าร่วมงานกับพรรคการเมืองใหม่นี้ด้วย โดยรับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[4] และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "พรรคเสรีธรรม" และเขาก็ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 เป็น ส.ส.สมัยที่ 6
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ข้าราชการการเมือง, สมาชิกวุฒิสภา, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, ข้าราชการการเมืองกรุงเทพมหานคร และผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ทางราชการ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๙)
- ↑ ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2532. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2532
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-01. สืบค้นเมื่อ 2020-05-03.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคประชาชนไทย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕