สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ราชบัณฑิต สาขาแพทยศาสตร์ ประธาน คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายกสภามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์[1] อดีตเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สภาวิจัยแห่งชาติ[2] ได้รับการยอมรับทั้งระดับบชาติและนานาชาติในด้านกุมารศัลยศาสตร์ และการบริหารวิจัยและนวัตกรรม


สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ

เกิด2 กันยายน พ.ศ. 2498 (69 ปี)
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ภูมิลำเนาและประวัติการศึกษา

แก้

เป็นคนกรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนปานะพันธุ์วิทยา และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (รุ่นที่ 34) สำเร็จแพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเข้าศึกษาในปี พ.ศ. 2516 จบแล้วเข้าเป็นอาจารย์ด้านกายวิภาคศาสตร์อยู่ 2 ปี ก่อนเบนเข็มมาศึกษาต่อแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ทั่วไป และกุมารศัลยศาสตร์ และได้รับทุนบริติชเคาน์ซิลกับทุนไชน่าเมดิคอลบอร์ด ไปศึกษาเพิ่มเติมด้านศัลยศาสตร์ทารกแรกคลอดและการผ่าตัดตับและทางเดินน้ำดีในเด็ก ที่โรงพยาบาลเกรทออร์มอนด์สตรีท (Great Ormond Street Hospital) และโรงพยาบาลคิงส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ

  • วิทยาลัยเสนาธิการทหาร (วสท.รุ่นปี 2545)
  • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.รุ่นปี 2551)
  • สถาบันพระปกเกล้า (ปปร.รุ่น 16)
  • วิทยาลัยตลาดทุน (วตท.รุ่นที่ 19)
  • หลักสูตรผู้บริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รุ่นที่ 1
  • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านพลังงาน (วพน.รุ่น 7)
  • หลักสูตรผู้บริหารมหานคร (มหานคร รุ่นที่ 3)

ชีวิตครอบครัว

แก้

สมรสกับแพทย์หญิง กุหลาบ จิตต์มิตรภาพ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังและความงาม ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารเครือผิวดีเอสเธติกส์ มีบุตรชาย 2 คน คือ นายแพทย์ ศัลยวิทย์ จิตต์มิตรภาพ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ และโรคระบบทางเดินอาหาร และนายภาวิชญ์ จิตต์มิตรภาพ นักบริหารรุ่นใหม่ ปริญญาโท MBA (U.C.Irvine)

การทำงาน

แก้

สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ รับราชการที่ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้บุกเบิกวิธีการผ่าตัดใหม่ ๆ ในเด็ก และทารกของประเทศไทยจนได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ เมื่ออายุ 39 ปี ได้รับพระราชทาน ศาสตราจารย์กิตติคุณ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2558

ปี 2539 - 2552 เข้าสู่แวดวงบริหารการศึกษา เป็นผู้อำนวยการหน่วยโสตทัศนศึกษา หน่วยคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา เป็นรองคณบดี คณะแพทยศาสตร์ รองคคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ผู้ช่วยอธิการบดีจนถึงรองอธิการบดี ด้านการวิจัยและวิรัชกิจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปี 2545 - 2552 ทำหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามัยของสภากาชาดไทย

ปี 2545 - 2547 ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมแพทย์อุบัติเหตุแห่งประเทศไทย

ปี 2550 - 2552 เป็นนายกสมาคมกุมารศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย

ปี 2551 - 2553 เป็นนายกสมาคมกุมาศัลยแพทย์แห่งภาคพื้นเอเชีย

ปี 2553 - 2555 ดำรงตำแหน่งประธาน ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย

ปี 2553 - 2558 ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ปี 2557 - 2559 ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ

ปี 2560 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ปี 2555 - ปัจจุบัน เป็นกรรมการองค์กรระดับนานาชาติด้านการวิจัยหลายองค์กร

ปี 2563 คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และประธานกองทุนส่งเสริม ทุนวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม​

ปัจจุบันยังเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กรรมการสถาบันคลังสมองแห่งชาติ กรรมการนโยบายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการบริหารศูนย์วิจัยคลินิกศิริราชพยาบาล

ด้านการเมือง

แก้

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับการเสนอชื่อเป็นบุคคลภายนอกที่พรรคการเมืองคือ พรรคประชาภิวัฒน์ เสนอให้รัฐสภาพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี [3]

ต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นพ.ธีรเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์) และที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศ.นพ.อุดม คชินทร)

รางวัลที่ได้รับ

แก้

ได้รับรางวัลทางวิชาการมากมายทั้งในระดับประเทศ (มากกว่า 20 รางวัล) รวมถึงรางวัลแพทย์ดีเด่นสมเด็จพระวันรัตของแพทยสมาคมแห่งประเทศที่มอบแก่แพทย์ที่ทำคุณประโยชน์อย่างสูงให้แก่ประเทศไทย และรางวัลวิชาการระดับนานาชาติด้านกุมาศัลยศาสตร์ (จากวิทยาลัยศัลยแพทย์อเมริกัน ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งอังกฤษ สมาคมกุมารศัลยแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร และสมาคมศัลยแพทย์แห่งประเทศญี่ปุ่น) ล่าสุดได้รับรางวัล "แพทย์ต้นแบบ" เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี แพทยสภาได้รับการยกย่องเป็นสมราชิกกิตติมศักดิ์ (Honorary Follow) ของ Indian College of Surgeond และรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น วปอ. รางวัลผลงานดีเด่นจากรัฐสภา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/179/11.PDF
  2. www.nrct.go.th
  3. รายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๑, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๒๑, ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๒