สุดใจ เหล่าสุนทร

ศาสตราจารย์ สุดใจ เหล่าสุนทร อดีตอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา และอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒคนแรก และอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร

สุดใจ เหล่าสุนทร
ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2491 – พ.ศ. 2493
ก่อนหน้าพร ทองพูนศักดิ์
ถัดไปรนเดช เดชกุญชร
อธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2512 – พ.ศ. 2517
ก่อนหน้าศาสตราจารย์ ดร.หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
ถัดไปยกฐานะเป็นอธิการบดี
อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2521
ก่อนหน้าประเดิมตำแหน่ง
ถัดไปศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ศศิธร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458
อำเภอบางรัก จังหวัดพระนคร มณฑลกรุงเทพ ประเทศสยาม
เสียชีวิต9 มกราคม พ.ศ. 2525 (66 ปี)
คู่สมรสดร. มาเรีย มาชา

การสมรสและครอบครัว แก้

ศาสตราจารย์ สุดใจ เหล่าสุนทร หรือ ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร ได้สมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาเรีย เหล่าสุนทร มีบุตร-ธิดาด้วยกันทั้งหมด 3 คน คือ

  • นางสาวมาลินี เหล่าสุนทร
  • นายสมชัย เหล่าสุนทร
  • นายสมชาติ เหล่าสุนทร

ตำแหน่ง แก้

อธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา

อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พุทธศักราช 2516 ก่อนหน้าเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในช่วงเวลาที่ ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร ดำรงตำแหน่งอธิการบดีวิทยาลัยวิชาการศึกษา คณาจารย์ นิสิต และข้าราชการ ได้ร่วมกันเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ปรับฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย และย้ายสังกัดจากกระทรวงศึกษาธิการไปขึ้นกับทบวงมหาวิทยาลัย ท่ามกลางการปกครองที่เข้มงวดรุนแรงของรัฐบาลทหารในขณะนั้น เพื่อความคล่องตัวในการพัฒนาโครงสร้าง การบริหาร และการเรียนการสอนที่จำกัด ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยและการขยายตัวที่มีความหลากหลายวิชาชีพ ท้ายที่สุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ “มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็นศรีสง่าแก่มหานคร” ก็ได้รับการสถาปนาขึ้นในปีถัดมา (29 มิถุนายน 2517) โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร เป็นอธิการบดี (พุทธศักราช 2512 – 2521)

ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร

ผลงาน แก้

ณ วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2517 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 91 ตอนที่ 112 ดังนั้น ในวันที่ 29 มิถุนายน 2517 โดยรวมวิทยาลัยเขตทั้งหมดเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แล้วโอนไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และเรียกชื่อมหาวิทยาลัยและชื่อวิทยาเขตตามสถานที่ตั้งของวิทยาเขตต่อท้าย ยกเว้นวิทยาเขตพระนครให้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน

ก่อนที่จะได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยได้นั้น ทางวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้เริ่มมีการเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ทั้งนี้ เมื่อครั้งที่ศาสตราจารย์ ดร. สุดใจ เหล่าสุนทร เข้าดำรงตำแหน่งอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา และเห็นว่าการบริหารงานของวิทยาลัยนั้นขาดความคล่องตัวอยู่มาก เนื่องด้วยข้อจำกัดหลายประการอันจะเป็นปัญหาระยะยาวในการขยายผลด้านการศึกษาในอนาคตต่อไป ท่านจึงได้ร่างพระราชบัญญัติเพื่อขอยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยต่อสภาวิทยาลัยวิชาการศึกษา โดยในระหว่างนั้น ศาสตราจารย์ ดร. สุดใจ เหล่าสุนทร ได้ออกเอกสารที่ช่วงนั้นเรียกว่า ‘เอกสารปกขาว’ เพื่อชี้แจงหลักการและเหตุผลดังกล่าวแก่ผู้ที่สนใจรับทราบ โดยคำปรารภของเอกสารชิ้นนี้ ได้กล่าวว่า[1]

"…เมื่อข้าพเจ้าได้รับตำแหน่งอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษาเมื่อเดือนมกราคม 2512 ได้พบว่าการดำเนินงานของวิทยาลัยวิชาการศึกษาไม่มีความคล่องตัวเป็นอันมาก จึงได้ร่างพ.ร.บ. ยกฐานะวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเสนอต่อประธานสภาวิทยาลัยวิชาการศึกษา เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2512 และรอรับฟังพิจารณาอยู่ 1 ปีเต็ม จนถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2512 จึงได้เสนอร่าง พ.ร.บ. นี้ต่อประธานสภาวิทยาลัยวิชาการอีกครั้งหนึ่ง และเสนอให้เลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ เพื่อพิจารณาอีกทางหนึ่ง อาจจะเป็นเพราะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็น ‘วิทยาลัย’ ในความหมายของความเข้าใจของบุคคลทั่วไปว่า ไม่ใช่สถานศึกษาชั้นปริญญาในระดับมหาวิทยาลัย ดังที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้ดำเนินงานอยู่จริง จึงเห็นสมควรที่จะออกเอกสารฉบับนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่บุคคลที่สนใจในการศึกษาขั้น ‘มหาวิทยาลัย’…”

วันสุดใจ เหล่าสุนทร แก้

วันที่ 29 มิถุนายน 2517 เป็นวันยกฐานะวิทยาลัย วิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตามราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2517 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 91 ตอนที่ 112 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 29 มิถุนายน 2517 มหาวิทยาลัยจึงถือเอา วันที่ 29 มิถุนายน เป็นวันยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ คือ ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร และเพื่อเป็นเกียรติแก่ ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร จึงเรียกวันที่ 29 มิถุนายน เป็น วันสุดใจ เหล่าสุนทร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. (ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.2541:270.)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๔๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๑๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๓๓, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔