สุดทางรัก
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ โดยทับศัพท์และแปลภาษาต่างประเทศให้ถูกต้อง คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
สุดทางรัก (ญี่ปุ่น: ドライブ・マイ・カー; โรมาจิ: Doraibu Mai Kā; อังกฤษ: Drive My Car) เป็นภาพยนตร์ดราม่า-โรดมูวี่[3] ร่วมเขียนและกำกับโดยรีวซูเกะ ฮามางูจิ[4] เนื้อเรื่องส่วนใหญ่อิงและได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานหนังสือรวมเรื่องสั้นโดยฮารูกิ มูรากามิใน ค.ศ. 2014 เรื่องชายที่คนรักจากไป[5] เล่าเรื่องราวของยูซูเกะ คาฟูกุ (แสดงโดย ฮิเดโตชิ นิชิจิมะ) กำกับละครเวทีหลายภาษาของ Uncle Vanya ในเมืองฮิโรชิมะ ขณะที่เขาดิ้นรนกับการเสียชีวิตของโอโตะ ภรรยาของเขา
สุดทางรัก | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ | |
ญี่ปุ่น | ドライブ・マイ・カー |
เฮปเบิร์น | Doraibu mai kā |
กำกับ | รีวซูเกะ ฮามางูจิ |
บทภาพยนตร์ |
|
สร้างจาก | "ชายที่คนรักจากไป - รวมเรื่องสั้นสั่นหัวใจ" โดย ฮารูกิ มูรากามิ |
อำนวยการสร้าง |
|
นักแสดงนำ |
|
กำกับภาพ | ฮิเดโตชิ ชิโนมิยะ |
ตัดต่อ | อาซูซะ ยามาซากิ |
ดนตรีประกอบ | เอโกะ อิชิบาชิ |
บริษัทผู้สร้าง |
|
ผู้จัดจำหน่าย | Bitters End (ญี่ปุ่น) |
วันฉาย |
|
ความยาว | 179 นาที |
ประเทศ | ประเทศญี่ปุ่น |
ภาษา | ภาษาญี่ปุ่น |
ทำเงิน | $11.1 ล้าน[1][2] |
สุดทางรัก ออกฉายครั้งแรกที่เทศกาลภาพยนตร์กาน ค.ศ. 2021 ที่ซึ่งแข่งขันกันเพื่อให้ได้รับรางวัลปาล์มทองคำและชนะ 3 รางวัลจากเทศกาลดังกล่าว รวมถึงรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการตอบรับที่ดีอย่างกว้างขวางและได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดในปี 2021[6][7][8] สุดทางรัก ถูกเสนอชื่อเข้าชิง 4 สาขาในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 94: สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และสาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม ขณะที่ชนะรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม[9] สุดทางรัก เป็นภาพยนตร์ญี่ปุ่นเรื่องแรกที่ได้รับการเสนอชื่อในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[10] ขณะที่งานรางวัลลูกโลกทองคำครั้งที่ 79 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศสาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม อีกทั้งยังเป็นภาพยนตร์ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษเรื่องแรกในการชนะรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากกลุ่มนักวิจารณ์ 3 กลุ่มหลักในสหรัฐอเมริกา (LAFCA, NYFCC และ NSFC)
เนื้อเรื่อง
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นักแสดง
แก้- ฮิเดโตชิ นิชิจิมะ แสดงเป็น ยูซูเกะ คาฟูกุ
- โทโกะ มิอูระ แสดงเป็น มิซากิ วาตาริ
- มาซากิ โอกาดะ แสดงเป็น โคจิ ทากัตสึกิ
- เรกะ คิริชิมะ แสดงเป็น โอโตะ คาฟูกุ
- พัก ยู-ริม แสดงเป็น อี ยู-นา
- จิน เด-ย็อน แสดงเป็น กง ยูน-ซู
- ซอนย่า หยวน แสดงเป็น เจนิส ชาง
- Ahn Hwitae แสดงเป็น รยู จ็อง-อึย
- เพอร์รี่ ดิซอน แสดงเป็น Roy Lucelo
- ซาโกโตะ อาเบะ แสดงเป็น ยูฮาระ
การผลิต
แก้สุดทางรัก กำกับโดยรีวซูเกะ ฮามางูจิ และร่วมเขียนบทภาพยนตร์กับทากามาซะ โอเอะ เนื้อเรื่องส่วนใหญ่อิงจากหนังสือรวมเรื่องสั้นใน ค.ศ. 2014 โดยฮารูกิ มูรากามิเรื่อง ชายที่คนรักจากไป[11][12] บทภาพยนตร์ยังแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบจากเรื่องราวของมูรากามิเรื่อง "เชเฮราซาด" (Scheherazade) และ "คิโนะ" (ทั้งสองเป็นหนึ่งในเรื่องสั้นของชายที่คนรักจากไป)[5] ภาพยนตร์เรื่องนี้มีกำหนดการถ่ายทำใน ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ แต่ถูกเปลี่ยนเป็นที่ฮิโรชิมะแทนจากการระบาดทั่วของโควิด-19[13]
ฮามางูจิหวังที่จะใช้เพลงโดยเดอะบีเทิลส์ "ไดรฟ์มายคาร์" ที่ภาพยนตร์ถูกตั้งชื่อตามเพลงดังกล่าว อย่างไรก็ตามการขออนุญาตนำเพลงมาใช้นั้นยากเกินไป ฮามางูจิจึงใช้บทประพันธ์เพลงเครื่องสายบรรเลงสี่ชิ้นโดยเบทโฮเฟิน ซึ่งเป็นการอ้างถึงงานเขียนดั้งเดิมของมูรากามิโดยตรง[14]
เรื่องสั้นดั้งเดิมกล่าวถึงซาบ 900 สีเหลืองเปิดประทุน แต่ถูกเปลี่ยนมาเป็นซาบ 900 สีแดงเทอร์โบแทนในภาพยนตร์เพื่อแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ของภูมิทัศน์ในฮิโรชิมะ [15]
การออกฉาย
แก้สุดทางรัก ออกฉายครั้งแรกที่งาน เทศกาลภาพยนตร์กาน ค.ศ. 2021 ในการแข่งขันเพื่อชิงรางวัลปาล์มทองคำ[16][17]
รายได้
แก้เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2022 สุดทางรัก ได้ทำรายได้ 2.2 ล้านดอลลาร์ฯ ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา และ 8.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในต่างประเทศ สำหรับรายได้ทั่วโลกอยู่ที่ 11.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]
ผลตอบรับเชิงวิจารณ์
แก้ในรอตเทนโทเมโทส์ ภาพยนตร์ได้รับคำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบมากอยู่ที่ 97% อิงจาก 189 คำวิจารณ์ และได้รับคำวิจารณ์เฉลี่ยที่ 8.80/10[3] และจากเมทาคริติก ที่ให้คะแนนค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 91 จาก 100 อิงจาก 41 คำวิจารณ์และจัดอยู่ในระดับ "universal acclaim"[18]
รางวัล
แก้สุดทางรัก ได้รับการเลือกให้เข้าแข่งขันเพื่อชิงรางวัลปาล์มทองคำที่งานเทศกาลภาพยนตร์กาน ค.ศ. 2021 และชนะ 3 รางวัลจากเทศกาลดังกล่าว รวมถึงรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[19] ฮามางูจิและอูเอะเป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ชนะรางวัลบทภาพยนตร์ดีเด่นในเทศกาลภาพยนตร์กาน[20] ขณะที่งานรางวัลลูกโลกทองคำครั้งที่ 79 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศสาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม[21] สุดทางรัก ยังถูกเลือกให้เป็นตัวแทนภาพยนตร์ญี่ปุ่นสาขารางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยมในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 94 และติดชื่อผู้เข้าชิงในเดือนธันวาคมปี 2021[22][23] อีกทั้งยังได้รับการเสนอชื่อในสาขาต่าง ๆ อีก 4 สาขา ได้แก่ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมสำหรับฮามางูจิ และสาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยมสำหรับฮามางูจิและผู้ร่วมเขียนบทภาพยนตร์ ทากามาซะ โอเอะ[24] สุดทางรัก เป็นภาพยนตร์ญี่ปุ่นเรื่องแรกที่ได้รับการเสนอชื่อในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[25] และฮามางูจิเป็นผู้กำกับชาวญี่ปุ่นลำดับที่ 3 ที่ได้รับการเสนอชื่อในสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยมตั้งแต่ ฮิโรชิ เทชิงาฮาระ ใน ค.ศ. 1965 และ อากิระ คูโรซาวะ ใน ค.ศ. 1985[26]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Drive My Car (2021)". The Numbers. Nash Information Services, LLC. สืบค้นเมื่อ 27 March 2022.
- ↑ 2.0 2.1 "Drive My Car (2021)". Box Office Mojo. IMDb. สืบค้นเมื่อ 27 March 2022.
- ↑ 3.0 3.1 Drive My Car บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส สืบค้นเมื่อ 27 March 2022
- ↑ "Drive My Car director Hamaguchi: Oscar buzz is beyond imagination". BBC News. สืบค้นเมื่อ 18 March 2022.
- ↑ 5.0 5.1 Brzeski, Patrick (9 July 2021). "Japan's Ryusuke Hamaguchi on Adapting Murakami for 'Drive My Car' and Vehicles as Confession Booths". The Hollywood Reporter (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 17 January 2022.
- ↑ "LA film critics pick 'Drive My Car' as year's best". The Seattle Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 19 December 2021. สืบค้นเมื่อ 17 January 2022.
- ↑ "New York film critics name 'Drive My Car' best film of 2021". The Seattle Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 3 December 2021. สืบค้นเมื่อ 17 January 2022.
- ↑ "'Drive My Car' Is Named Best Film of 2021 by the National Society of Film Critics". Collider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 9 January 2022. สืบค้นเมื่อ 17 January 2022.
- ↑ "Oscars: Full List of Nominations". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 8 February 2022.
- ↑ Tartaglione, Nancy (8 February 2022). "Oscars: 'Drive My Car' Makes History As First Japanese Film Nominated For Best Picture". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ 8 February 2022.
- ↑ Wiseman, Andreas (1 June 2021). "The Match Factory Boards Murakami Adaptation 'Drive My Car', The Next Film From Cannes & Berlin Director Ryusuke Hamaguchi". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ 3 June 2021.
- ↑ Schilling, Mark (14 March 2021). "Japan's Silver Bear-Winner Hamaguchi Ryusuke Plots His Next Film Moves". Variety. สืบค้นเมื่อ 3 June 2021.
- ↑ "今夏のカンヌで日本映画史上初の脚本賞ほか4冠に輝いた、村上春樹原作「ドライブ・マイ・カー」8/20(金)公開". Asahi Family. สืบค้นเมื่อ 20 November 2021.
- ↑ Wong, Silvia (9 July 2021). "Berlin prize-winner Ryusuke Hamaguchi talks Cannes Competition title 'Drive My Car'". Screen Daily. สืบค้นเมื่อ 8 February 2022.
- ↑ 嶋田知加子 (20 August 2021). "映画「ドライブ・マイ・カー」は広島ロケの大作 カンヌ脚本賞受賞作を女子アナ&シネマ通が語りつくす". Fuji News Network (ภาษาญี่ปุ่น). Shinhiroshima Telecasting. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-21. สืบค้นเมื่อ 8 February 2022.
- ↑ Sharf, Zack (3 June 2021). "Cannes Film Festival 2021 Lineup: Sean Baker, Wes Anderson, and More Compete for Palme d'Or". IndieWire. สืบค้นเมื่อ 3 June 2021.
- ↑ "DRIVE MY CAR". Festival de Cannes 2021 (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 3 October 2021.
- ↑ Drive My Car Reviews เมทาคริติก Red Ventures สืบค้นเมื่อ 19 December 2021
- ↑ "Cannes Film Festival 2021: Full Winners List". Asia Tatler. 18 July 2021. สืบค้นเมื่อ 18 July 2021.
- ↑ Sato, Misuzo (18 July 2021). "'Drive My Car' wins Cannes Best Screenplay for Hamaguchi, Oe". The Asahi Shimbun (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2021. สืบค้นเมื่อ 9 October 2021.
- ↑ "Japan's 'Drive My Car' wins Golden Globe for best non-English film". The Japan Times. 10 January 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-12. สืบค้นเมื่อ 8 February 2022.
- ↑ ""Drive My Car" exhibited at the Academy Awards selection for Japan". Sankei. 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
- ↑ Davis, Clayton (21 December 2021). "Oscars Shortlists Include Beyoncé, 'Spider-Man' and Two Jonny Greenwood Scores as France's 'Titane' Is Snubbed". Variety. สืบค้นเมื่อ 21 December 2021.
- ↑ Lang, Brent; Moreau, Jordan; Grantham-Philips, Wyatte (8 February 2022). "Oscar Nominations 2022: 'Power of the Dog' Leads With 12 Nods, 'Dune' Follows With 10 (Full List)". Variety. สืบค้นเมื่อ 8 February 2022.
- ↑ Tartaglione, Nancy (8 February 2022). "Oscars: 'Drive My Car' Makes History As First Japanese Film Nominated For Best Picture". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ 8 February 2022.
- ↑ "米アカデミー賞候補に濱口監督「ドライブ・マイ・カー」". The Nikkei (ภาษาญี่ปุ่น). 8 February 2022. สืบค้นเมื่อ 8 February 2022.