ศาสตราจารย์ สุชนา ชวนิชย์ เป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงชาวไทย ผู้ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรกที่ไปศึกษาวิจัยยังทวีปแอนตาร์กติก[1][2][3] ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งยังเป็นหนึ่งในทีมของนักวิทยาศาสตร์ไทยที่ทำการเพาะขยายพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศสำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทย[4]

ศาสตราจารย์

สุชนา ชวนิชย์
สุชนาในปี 2558
เกิดนิวฮาเวน รัฐคอนเนกทิคัต สหรัฐ
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยนิวแฮมป์เชอร์ (ปร.ด.)
อาชีพอาจารย์
มีชื่อเสียงจากนักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรกที่เดินทางไปทวีปแอนตาร์กติก

ประวัติ แก้

สุชนา ชวนิชย์ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วจึงเดินทางไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่ Central Connecticut State University และปริญญาเอกที่ University of New Hampshire ประเทศสหรัฐอเมริกา[5] ในปี 2564 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งศาสตราจารย์(ศ.) จำนวน 61 ราย ซึ่งหนึ่งในรายชื่อนั้น คือ รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ สังกัดภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับการโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในสาขาวิชาสมุทรศาสตร์ [6]

ผลงานที่โดดเด่นของ สุชนา ชวนิชย์ คือการที่เป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรกที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมสำรวจทวีปแอนตาร์กติกร่วมกับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกจากประเทศญี่ปุ่น รุ่นที่ 51 (JARE-51)[7] เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในปี พ.ศ. 2552 นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2557 รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ ยังได้รับโอกาสเป็นครั้งที่สองในการเดินทางไปคาบสมุทรแอนตาร์กติกร่วมกับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกของสาธารณรัฐประชาชนจีน รุ่นที่ 30 (CHINARE 30; 30th Chinese National Antarctic Research Expedition) ภายใต้โครงการศึกษาวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อร่วมศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม[8] และในครั้งนี้ รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ ได้มีโอกาสดำน้ำแบบลึก (SCUBA diving) ที่ทะเลแอนตาร์กติก จึงถือได้ว่า รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ เป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรกที่ลงดำน้ำที่ทะเลแอนตาร์กติกอีกด้วย

สุชนา ชวนิชย์ ไม่เพียงแต่เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลเท่านั้น แต่ยังเป็นครูสอนดำน้ำ อาจารย์พิเศษ วิทยากรพิเศษ ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ ผู้เขียนบทความ และผู้แปลบทความ[9] ด้านการดำน้ำ การอนุรักษ์ทางทะเล และการท่องเที่ยวทางทะเล ให้กับให้นิตยสารทั้งในและต่างประเทศ มหาวิทยาลัยต่างๆ และหน่วยราชการอื่นๆ[10]

จากการทำงานวิจัยในด้านระบบนิเวศทางทะเลรวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลทั้งบริเวณขั้วโลกและเขตร้อนจนถึงปัจจุบัน รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ ได้รับรางวัลและการยกย่องต่างๆ อาทิ เช่น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. แอนตาร์กติก...ดินแดนแห่งน้ำแข็ง สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2554. 213 หน้า
  2. Polar Harmony องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2556. 84 หน้า
  3. National Geographic ฉบับภาษาไทย เดือน กุมภาพันธ์ 2558. หน้า 38 – 41
  4. "จุฬาฯ เพาะ "ปะการัง" แบบอาศัยเพศ ได้เป็นครั้งแรก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-09. สืบค้นเมื่อ 2015-10-27.
  5. "คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-28. สืบค้นเมื่อ 2015-09-30.
  6. "ร.ศ. ดร.สุชนา ชวนิชย์ ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นศาสตรจารย์ [15 มิ.ย.64] – Marine Science Department, Chulalongkorn University" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  7. "First Thai female scientist to join Antarctic research team for climate change study". 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-14. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. "นักวิจัยไทยในโครงการวิจัยขั้วโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-09. สืบค้นเมื่อ 2015-11-03.
  9. "คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-11-06.
  10. นักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรกในแอนตาร์กติกา[ลิงก์เสีย]
  11. นิตยสาร Her World มีนาคม พ.ศ. 2558.
  12. จุลมงกุฎ : เกียรติภูมิวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2557 พิมพ์ เดือน มีนาคม 2558
  13. "Five Marine Scientists Awarded WESTPAC Outstanding Scientists 2014". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-15. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. In Residence 100 Most Wanted Directory 2013 ISBN 978-616-306-067-9
  15. "4 นักวิจัยหญิงรับทุนลอรีอัล-ยูเนสโก "เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์"". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 24 เมษายน 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๖, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๔, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐

แหล่งข้อมูลอื่น แก้