สุคนธ์ กาญจนาลัย
นางสาวสุคนธ์ กาญจนาลัย เป็นกรรมการกฤษฎีกา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นอดีตอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์[1]
สุคนธ์ กาญจนาลัย | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กันยายน – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 มีนาคม พ.ศ. 2475 |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติ
แก้สุคนธ์ กาญจนาลัย เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2475 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี บัญชีบัณฑิต จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 27
การทำงาน
แก้สุคนธ์ กาญจนาลัย รับราชการในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมพาณิชย์สัมพันธ์ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า และอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นายบรรหาร ศิลปอาชา) ในปี พ.ศ. 2538 และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา
สุคนธ์ กาญจนาลัย ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2539[2] ในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 7
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 2 ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ (ท.ภ.)[5]
- พ.ศ. 2530 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติ - กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-15. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (แต่งตั้งขึ้นใหม่ทั้งคณะ จำนวน 260 ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๑๔, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๐